จนกระทั่งปี 1843 คุณ Nancy Johnson ก็ได้รับสิทธิบัตร(patent)สำหรับเครื่องทำไอศครีมซึ่งใช้เวลาในการทำน้อยลงมาก ทำให้การผลิตไอศครีมง่ายและสะดวกสบายขึ้น ผู้คนทั้งหลายก็ได้มีโอกาสลิ้มรสของไอศครีมมากขึ้น มีการตั้งโรงงานผลิตไอศครีมขึ้นหลายแห่งในภาคตะวันออกของสหรัฐ
ขณะเดียวกันในประเทศอังกฤษ คุณ Thomas Masters ก็ได้ประดิษฐ์เครื่องทำไอศครีมขึ้นมาเหมือนกัน และก็ได้รับสิทธิบัตรในปีเดียวกันกับคุณ Johnson ทำให้การผลิตไอศครีมก็แพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรป
ไอศครีมในรุ่นแรก ๆ นั้นจะขายโดยใส่รถเข็นไปตามถนน ราคาก็ไม่กี่สตางค์ เป็นที่ชื่นชอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเด็ก ๆ ต่อมาก็ขยับเข้าไปขายในร้านที่เรียกว่า Soda Fountain ชื่อ Soda Fountaim ความจริงเป็นชื่อเครื่องที่ทำน้ำธรรมดาให้กลายเป็นน้ำโซดาด้วยการอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ซึ่งผู้คนในยุคนั้นนิยมกันมากถือเป็นเครื่องดื่มแปลกใหม่และดีต่อสุขภาพ ร้าน Soda Fountaim จึงมีต้นกำเนิดอยู่ในร้านขายยาที่ผู้คนที่มาซื้อยาแล้วก็กินน้ำโซดาที่มีขายอยู่ในร้านเหมือนกับที่ร้านขายยาในเมืองไทยสมัยก่อนต้องมีตู้เย็นอยู่ข้างหน้าร้านขายน้ำเก๊กฮวย น้ำหล่อฮั้งกัวยยังไงยังงั้น
ผู้คนต่างก็นิยมมากินไอศครีมแบบในร้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ร้าน Soda Fountaim ก็เลยแยกตัวเป็นอิสระจากร้านขายยามาเป็นร้าน Soda Fountaim เต็มรูปแบบขายทั้งโซดาและไอศกรีม บางแห่งก็มีอาหารขายด้วย