8 พ.ย. 2020 เวลา 10:06 • การศึกษา
🌼เมื่อวานมีเพื่อนโพสต์รูปภาพหน้าศพ บิดาและมารดา กระผมสะดุดคำแปลกคำหนึ่ง
" ชาตะ-มตะ"ในภาพ ซึ่งไม่เคยได้ยิน ได้เห็นมาก่อน ปรากฏในด้านล่างภาพบิดาซึ่งสิ้นชีวิตมานานมาก
ส่วนอีกภาพคือภาพมารดา ซึ่งเสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้ "ชาตะ-มรณะ" อันนี้เราคุ้นเคยกันดี
..〰️〰️〰️〰️〰️〰️🌸
กระผมจึงลองไปค้นที่มามาเล่าสู่ฟังขอรับ
👉ฝั่งตาย
มรณะ  มาจาก  มรฺ (ธาตุ) + ยุ (ปัจจัย)
(ปัจจัย ”ยุ” จะแปลงรูปเป็น อน) = มรน (น ถ้ามี ร อยู่หน้า จะเปลี่ยนเป็น ณ จึงได้รูปสำเร็จว่า มรณะ 
:หมายถึง การตาย เป็นคำนาม (อาการนาม)
..〰️〰️〰️〰️〰️〰️🌸
มตะ  มาจาก  มรฺ + ต (ตัด ร ออก)  จึงได้รูปสำเร็จว่า มตะ  หมายถึง ตายแล้ว เป็นกริยา (อดีตกาล)
..〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️🌸
👉ฝั่งเกิด
ควรจะใช้ควบคู่กับ ๒ คำข้างต้นอย่างไร
1
ชาตะ :มาจาก  ชนฺ (ธาตุ) + ต (ปัจจัย)  เป็นรูปสำเร็จว่า ชาตะ  หมายถึง  เกิดแล้ว เป็นกริยา (อดีตกาล)
..〰️〰️〰️〰️🌸
ชาติ: (อ่านว่าชา-ติ) มาจาก  ชนฺ (ธาตุ) + ติ (ปัจจัย)  เป็นรูปสำเร็จว่า ชาติ  หมายถึง  การเกิด เป็นคำนาม (อาการนาม)
..〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️🌸
เพราะฉะนั้นคำที่เหมาะสม เมื่อใช้ ชาตะ ต้องตามด้วย มตะ
และหากจะใช้ มรณะ คำที่มาก่อนควรเป็น ชาติ (ชา-ติ)
ชาตะ-มตะ~ เกิดแล้ว-ตายแล้ว
ชาติ-มรณะ~การเกิด-การตาย
〰️〰️〰️〰️〰️〰️🌸
คำที่มักเข้าใจผิดอีกคำหนึ่งคือ คำว่า " จุติ"เรามักเข้าใจว่าหมายถึงเกิดหรืออุบัติ
แต่จุติแปลว่าตาย
..
"จุติ "ตามรูปศัพท์ แปลว่า “การเคลื่อน” คือ [จุ-ติ, จุดติ] , เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีกกำเนิดหนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา).เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่ง หรือเคลื่อนจากโลกหนึ่งไปสู่อีกโลกหนึ่ง เมื่อรวมความแล้ว ก็คือ “ตาย” นั่นเอง
..〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️🌸
พอพูดถึงเรื่องความเป็นความตาย กระผมนึกถึง ถ้อยความหนึ่ง ที่อยู่ในความทรงจำเรื่อยมา และพึงระลึกตระหนักรู้ตลอดเวลา
..〰️〰️🌼
"แม่แก่แล้ว จะตายเมื่อไรก็ได้ ถ้าตายแล้วห้ามร้องไห้ ไม่ให้ร้องไห้ เพราะเป็นของธรรมดา คนเราก็ต้องตาย"
รับสั่งสมเด็จย่าถึงในหลวง รัชกาลที่๙
..〰️〰️🌼
โฆษณา