8 พ.ย. 2020 เวลา 12:58 • การศึกษา
บทที่ 5.ตัวอิเห็น,มดสัง,มูสัง,ตัวชะมด,ชะมดเช็ด.
ตัวอิเห็น,มดสัง,มูสัง(ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน๊ต)
คำว่ามดสังเป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งภาษากลางเรียกว่า”ตัวอีเห็น”แต่ภาษาภาคใต้
ตอนบนเรียกว่า”มุดสัง” ภาคใต้ตอนล่างเรียกว่ามูสัง ในภาษามาลายูเรียกสัตว์ตัวนี้ว่ามูสังซึ่งในภาษาไทยแยกออกเป็น 2 คำคือคำว่า”มด”และคำว่า”สัง” มดแปลว่า
ตัวเล็กๆส่วนคำว่าสังภาษาไทยโบราณแปลว่าเสือดาว เนื่องจากตัวมุดสังจะมี
ลายจุดขาวอยู่บนลำตัวคล้ายกับเสือดาวแต่เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าเสือดาว
จึงเรียกว่า”มุดสัง”แปลว่าเสือดาวตัวเล็ก เมื่อคำว่ามดสังลงไปทางใต้จนถึงมลายูจึง
ออกเสียงเพี้ยนเป็น”มูสัง,มูซัง”.
ตัวมุดสังถ้านอนอยู่กับพื้นจะสังเกตได้ยากเพราะการพรางตัวที่ดีทำให้คนมาลายู
หรือมาเลเซียปัจจุบันนำไปเรียกชื่อทุเรียนพันธ์หนึ่งซึ่งมีลูกเล็กแต่รสชาติอร่อยเรียกว่า”มูซังคิง”เนื่องจากทุเรียนชนิดนี้ผลไม่ใหญ่มากเมื่อมันร่วงลงจากต้นอยู่บนพื้นดินจะสังเกตุเห็นได้ยากจึงเปรียบเทียบกับตัวมุดสังเมื่อมันหมอบอยู่กับพื้นก็จะสังเกตได้ยาก มาเลเซียเลยเรียกทุเรียนชนิดนี้ว่ามูซังคิง.
2
ภาษากลางเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่าตัวชะมดหรือตัวอีเห็นซึ่งคำว่า”อี”แปลว่า “เล็ก,
ตัวเล็ก,จำนวนน้อย เช่น ไทยโบราณว่า น้องอิ๊ แปลว่าน้องเล็ก หมูอิ๊ แปลว่า
หมูตัวเล็ก. คำว่า”เห็น”ภาษาไทยโบราณออกเสียงว่า “เห่น” แปลว่าตัวอิเห็นหรือ
ตัวมดสังในภาษาไทย แต่คำนี้ยังหมายถึงหมาจิ้งจอกได้ด้วย โดยมีคำแยกออกไป
เช่น “เห่นหมา” แปลว่าหมาจิ้งจอก,เห่นเหมียว แปลว่า แมวป่า สำเนียงเหล่านี้คือ
สำเนียงที่ยังใช้อยู่ในจีนตอนใต้และเวียดนามเหนือ.
คำต่อไปคือคำว่า ปลาทู ทำไมคนไทยโบราณจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาทู
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน.
คำไทยโบราณ ๘.๑๑.๖๓
หมายเหตุ : บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจคำไทยโบราณ ขอสงวนสิทธิไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปแก้ไข ดัดแปลง ทำซ้ำ แล้วเผยแพร่ในนามตนเอง หากมีความประสงค์จะเผยแพร่บทความด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจก่อน.แต่อนุญาตให้เผยแพร่ความรู้โดยการแบ่งปัน(แชร์.,share)ในblockdit หรือทางเฟซบุ๊กได้โดยไม่ต้องขออนุญาต.
โฆษณา