9 พ.ย. 2020 เวลา 04:50 • ธุรกิจ
LINE BK อีกหนึ่งก้าวสำคัญของ KBank ที่ร่วมมือกับซูเปอร์แอปฯ
KBANK x ลงทุนแมน
2
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าธนาคารเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เผชิญความท้าทาย และกำลังถูกดิสรัป
จากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราไปอย่างสิ้นเชิง
2
เรื่องดังกล่าวเราสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินของตัวเราเอง
จากเมื่อก่อนที่เราต้องเดินทางไปยังสาขาธนาคารเพื่อโอนเงิน ชำระเงิน
กลายมาเป็นการทำธุรกรรมโดยใช้เพียงนิ้วสัมผัสบนหน้าจอสมาร์ตโฟน
พอเรื่องเป็นแบบนี้ เราจึงได้เห็นธนาคารหลายแห่งทั้งในประเทศไทย
และต่างประเทศได้เริ่มผันธุรกิจเพื่อมุ่งเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลมากขึ้น
2
โดยเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ก็ดูเหมือนว่าดิสรัปชันต่อไปที่กำลังจะเข้ามาท้าทายธุรกิจ
ธนาคารก็คือ Social Banking หรือการทำธุรกรรมการเงินบนแพลตฟอร์มโซเชียล
1
แล้วความเคลื่อนไหวของธนาคารในประเทศไทย
ที่กำลังรับมือความท้าทายดังกล่าวไปถึงไหนแล้ว?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้ มาจาก KBank
หากเรายังจำกันได้ ครั้งแรกที่ธนาคารแห่งนี้ได้ตัดสินใจดิสรัปตัวเองก็คือ
การพัฒนาแอปพลิเคชัน Mobile Banking หรือ K PLUS ขึ้น
โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกในการทำธุรกรรมให้กับลูกค้า
ทั้ง ๆ ที่ ทางธนาคารมีสาขาคอยให้บริการครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศไทย จนวันนี้ KBank ก็ทำให้ K PLUS กลายเป็นแอปพลิเคชัน Mobile Banking ที่ลูกค้ากว่า 13 ล้านคน ใช้กันเป็นประจำทุกวัน
และ KBank ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ความสำเร็จนี้ แต่มองยาวและมองไกล โดยมีโจทย์ใหญ่ที่ใครๆ ก็พูดกันว่า ธุรกิจธนาคารกำลังถูกดิสรัป
1
ล่าสุด KBank เปิดตัว LINE BK ที่เป็น Social Banking แรกของประเทศไทย กลายเป็นอีกหนึ่ง Show Case ที่ทำให้เห็นว่า KBank ดิสรัปตัวเองตลอด
ความกล้านี้เกิดมาจากดีลใหญ่ข้ามประเทศ ย้อนหลังไปเมื่อ 3 ปีก่อนที่ KBank จับมือกับ LINE Financial เกาหลีใต้ ตั้งบริษัท กสิกรไลน์ จำกัด โดยการนำบริการ และความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมทางการเงินของตัวเองไปอยู่บนแพลตฟอร์ม LINE ที่คนไทยกว่า 47 ล้านคนใช้กันตลอดทั้งวัน
แล้วพฤติกรรมคนไทยในมุมมองของ KBank เป็นอย่างไร?
1
KBank มองว่าพฤติกรรมของคนไทยมีความพร้อมที่จะเปิดรับบริการทางดิจิทัลใหม่ ๆ มากขึ้นทั้งในมุมตัวเลขการใช้เวลาบนโลกโซเชียล และการเข้าถึง Mobile Banking ที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งหมดนี้จึงทำให้ KBank ตัดสินใจร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ LINE เพื่อสร้าง LINE BK ให้เป็น Social Banking เต็มรูปแบบเป็นรายแรกของประเทศไทย
ที่บอกกันว่า Social Banking คือเทรนด์ที่จะมาดิสรัปแบงก์ไทย KBank คิดและลงมือตั้งเองเลย พลิกตัวเองจากการเป็น Bank ไปสู่การเป็น Banking Service พาบริการของตัวเองไปอยู่ในทุกที่ที่ลูกค้าใช้ชีวิตอยู่
คำถามที่ตามมาก็คือ KBank เห็นอะไรใน LINE?
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า LINE เป็นแอปพลิเคชันที่มีฐานผู้ใช้งานคนไทยมากกว่า 47 ล้านคน
หรือคิดเป็นประมาณ 67% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย
ในขณะเดียวกัน คนไทยก็ยังใช้เวลาอยู่บนแอปพลิเคชัน LINE เฉลี่ยแล้ว วันละ 63 นาที
เรียกได้ว่า LINE ก็น่าจะเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันประจำวัน ที่ขาดไม่ได้ของคนไทย
หากเราจะต้องพัฒนาบริการ ซึ่งเข้าถึงคนไทยให้เร็วที่สุด และเรียนรู้ได้ง่ายที่สุด
LINE ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุดในชั่วโมงนี้
จากจุดแข็งดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลให้ KBank ได้ตัดสินใจพัฒนา LINE BK ขึ้นมา
โดยทางธนาคารเองก็มีฐานผู้ใช้งาน K PLUS มากกว่า 16.6 ล้านคน ซึ่งผู้ใช้งานในส่วนนี้ก็เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับการทำธุรกรรมบนสมาร์ตโฟนอยู่แล้ว และก็น่าจะเป็นผู้ที่พร้อมที่จะเข้าไปใช้บริการ LINE BK ได้ในทันที
ในขณะเดียวกัน LINE ก็จะได้ความเชี่ยวชาญธุรกิจทางการเงิน และความน่าเชื่อถือของ KBank ซึ่งก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ฐานผู้ใช้งานอยู่กับ LINE นานขึ้น และยิ่งกลายเป็นแอปที่ขาดไม่ได้มากขึ้น นั่นเอง
ทีนี้เรามาดูตัวอย่างบริการใน LINE BK กันว่ามีอะไรบ้าง?
LINE BK ชูคอนเซ็ปต์ “เรื่องเงินง่ายใน LINE คุณ” ให้ทุกคน แชท-โอน-ยืม-จ่าย สะดวก ง่ายในแอปฯ LINE แอปฯ เดียว โดยที่ไม่ต้องสลับแอปพลิเคชัน ไม่ต้องจำเลขบัญชี
มีระบบแจ้งเตือนในทันทีที่มียอดเงินเข้า และออก รวมไปถึงระบบการขอเรียกเก็บเงิน และหารค่าใช้จ่ายกับเพื่อนใน LINE ได้ อีกด้วย ใครที่ต้องการมีบัญชี LINE BK ก็แสนง่าย เปิดได้ด้วยตัวเองบนแอปฯ LINE นี่แหละ
ลองคิดภาพธุรกรรมระหว่างลูกค้า กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ในสมัยนี้
จริงอยู่ว่าแม้เราจะติดต่อกันใน LINE แต่การทำธุรกรรมทั้งหมด ตั้งแต่การโอนเงิน การเช็คยอดเงินจะยังอยู่บนแอปฯ ธนาคาร
ดังนั้น ถ้ามี LINE BK ช่องว่างที่เคยเกิดขึ้นเหล่านี้ ก็จะหายไปทันที
ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าจะเป็นเทรนด์ที่มีการเติบโตขึ้นมากในอนาคต
1
นอกจากบริการทางบัญชีเงินฝากแล้ว LINE BK ยังมีบริการวงเงินให้ยืม หรือบริการสินเชื่อส่วนบุคคลแบบดิจิทัล ที่ผู้ใช้งานสามารถขอวงเงินได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา เบิกเงินเข้าบัญชีได้ทันที
1
เราจะเห็นได้ว่าธนาคารจะได้ประโยชน์ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ที่มีข้อจำกัดการเข้าถึงบริการทางการเงิน เช่น คนขับรถรับจ้าง ฟรีแลนซ์ หรือลูกจ้างรายวันในโรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำ ซึ่งเดิมทีเป็นกลุ่มที่ธนาคารเข้าถึงได้ยาก
1
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวก็ถือว่าน่าสนใจ และมันก็สะท้อนให้เห็นว่าวิสัยทัศน์ของตัวธนาคารเองก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ที่ผ่านมา KBank ก็ยังร่วมมือกับพันธมิตรรายใหญ่ทั้งในระดับโลก และระดับประเทศ
ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของคนไทยในอนาคต
ยกตัวอย่าง เช่น แอปเรียกรถยนต์อย่าง Grab
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น Lazada, Shopee, Central JD FINTECH
บริษัทปตท. น้ำมันค้าปลีก หรือ OR
และยังรวมถึงกระเป๋าเงิน Multi-Currency อย่าง YouTrip
จากความร่วมมือ และพันธมิตรที่กล่าวมา พอจะทำให้เห็นยุทธศาสตร์ของ KBank ที่กำลังต่อจิ๊กซอว์สร้าง Digital Lifestyle Ecosystem กับพันธมิตรต่างๆ
เราน่าจะสรุปได้ว่า KBank กำลังพลิกตัวเองจากการเป็น Bank ไปสู่การเป็น Banking Service เหมือนยกบริการของธนาคารให้ไปอยู่ในทุกที่ที่ลูกค้าใช้ชีวิตกัน และที่สำคัญ นี่คือ โมเดลธุรกิจใหม่ของธนาคารที่จะช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ สร้างรายได้ใหม่ที่ทำให้ KBank เติบโตต่อไปได้
1
โฆษณา