Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Interloop
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2020 เวลา 06:21 • ธุรกิจ
6 เหตุผลที่ ‘สิงคโปร์’ เป็นประเทศน่าลงทุนมากที่สุดในโลก
แม้ว่าสิงคโปร์จะมีข้อจำกัดเรื่องการเป็นประเทศขนาดเล็ก และขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่สิงค์โปร์กลับเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงแห่งหนึ่งของโลก ทั้งยังเป็น Financial Hub ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย โดยทาง The Heritage Foundation’s Index of Economic Freedom ได้จัดอันดับสิงคโปร์เป็นประเทศระบบเศรษฐกิจเปิด อันดับ 2 ของโลก ขณะเดียวกัน World Bank ได้จัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ให้สิงคโปร์อยู่ลำดับที่ 2 เช่นกัน สำหรับความมั่นคงของสิงคโปร์ ทำให้ประเทศรอดจากวิกฤตการเงินในปี 2540 และ 2551 นอกจากนี้รัฐบาลมีรายได้สูงสม่ำเสมอติดกันหลายปี และไม่มีหนี้จากต่างประเทศ ส่งผลให้ปัจจุบันเศรษฐกิจสิงคโปร์มีเสถียรภาพมากที่สุดในโลก
1
1. อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสิงคโปร์
อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสิงคโปร์คือ อุตสาหกรรมภาคการผลิต โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมเครื่องจักร ซึ่งคิดเป็น 20-25% ของ GDP เฉลี่ยต่อปี โดยในไตรมาส 3/2563 ภาคการผลิตเติบโตขึ้น 35% จากความต้องการของตลาดที่อยู่ในระดับสูง ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน นอกจากนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ยังขยายตัวจากการขยายตัวของสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ โลจิสติกส์ และวิศวกรรมการขนส่ง
อย่างไรก็ตามแม้อุตสาหกรรมการผลิตจะมีส่วนสำคัญต่อ GDP แต่เบื้องหลังอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ มาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน เป็นที่ตั้งของธนาคารกว่า 200 แห่งจากทั่วโลก ทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมใหม่ ที่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบด้วย เทคโนโลยีทางการแพทย์ วิศวกรรมการบินและอวกาศ พลังงานสะอาด เฮลท์แคร์ และการพัฒนา Content
2. ทรัพยากรธรรมชาติในสิงคโปร์
ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ สิงคโปร์เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลเซีย และมีพื้นที่เล็กกว่าเมืองนิวยอร์ก นอกจากนี้เป็นประเทศไม่มีทรัพยากรที่เป็นธรรมชาติเป็นของตัวเอง แต่นั่นไม่ใช่ข้อจำกัดด้านการพัฒนาประเทศ ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว สิงคโปร์ได้สร้างอุโมงค์เก็บน้ำใต้ดิน และทำแหล่งผลิตน้ำ หรือ NEWater สำหรับใช้ในประเทศ
การใช้โซลูชั่นการแก้ปัญหาน้ำทะเลเค็มของสิงคโปร์ เป็นที่กล่าวขานกันว่า ทรัพยากรธรรมชาติที่แท้จริงของสิงคโปร์คือผู้คนหรือประชากร ยิ่งโอกาสการเข้าถึงการศึกษามีมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการพัฒนากำลังสำคัญของประเทศ ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดผู้บริโภคขยายตัว
3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสิงคโปร์
ในฐานะที่สิงคโปร์เป็นเมืองท่าการค้าและการทหารในยุคอาณานิคมของอังกฤษ โครงสร้างพื้นฐานของสิงคโปร์จึงได้รับการพัฒนามาโดยตลอด ทั้งในด้านระบบขนส่งสาธารณะ ที่อยู่อาศัย และการสื่อสาร หลังจากได้รับเอกราชในปี 2508
สำหรับการพัฒนาทางบก
ทางรัฐบาลพัฒนารถโดยสารสาธารณะ รถประจำทาง รถแท็กซี่ ให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และตรงต่อเวลา โดยปัจจุบันสิงคโปร์มีถนนลาดยาง 9,310 กิโลเมตร ทางรถไฟ (ระบบขนส่งมวลชนและรถไฟฟ้ารางเบา) 199.6 กิโลเมตร
ทางอากาศ
สิงคโปร์มีสนามบินนานาชาติชางงี เชื่อมต่อกับ 380 เมืองใน 90 ประเทศ ให้บริการเที่ยวบินมากกว่า 7,000 เที่ยวต่อสัปดาห์
ทางเรือ
มีสายการเดินเรือมากกว่า 200 เส้นทาง และเข้าถึงท่าเรือได้ 600 แห่ง ใน 123 ประเทศ ซึ่งในช่วงเวลาที่มีการขนส่งในปริมาณมาก อาจจะมีเรือจอดเทียบท่ามากถึง 1,000 ลำ ทำให้สิงคโปร์เป็นท่าเรือที่พลุกพล่านมากที่สุดในโลก
นอกจากนี้ในด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม สิงคโปร์มีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยแต่ละคนถือครองโทรศัพท์ 1.5 เครื่อง และสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ คิดเป็นสัดส่วน 90% ของครัวเรือน ทั้งนี้ในพื้นที่สาธารณะ สนามบิน ร้านกาแฟ ร้านอาหาร สามารถเข้าถึงบริการ Wi-Fi ได้ทั่วเกาะ ผ่านบริการ Wireless @SG โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ สิงคโปร์มีบริการพื้นที่อุตสาหกรรม The Jurong Town Corporation (JTC) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 47.7 ล้านตารางเมตร ทั้งพื้นที่สำนักงานแบบตึกสูงและแบบ Low-Rise ในย่านใจกลางเมือง (CBD) และส่วนอื่น ๆ ที่เป็นพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม
4. การขยายตัว GDP ที่ดีของสิงคโปร์
Bloomberg รายงานว่า ไตรมาส 3/63 GDP สิงคโปร์ ขยายตัว 5.2% มูลค่า 107,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เร็วที่สุดในรอบกว่า 3 ปี โดยอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งการฟื้นตัวของการค้าโลก ไม่เพียงแต่ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตสิงคโปร์เติบโตได้ในระยะยาวเท่านั้น แต่การขยายตัวในภาคการผลิต ส่งผลให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ภาคบริการ การค้าปลีก ขยายตัวขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ Monetary Authority of Singapore ประเมินว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในอนาคต
5. แหล่งรายได้หลักของรัฐบาลสิงคโปร์
ในไตรมาส 3/63 รายได้รวมของรัฐบาลสิงคโปร์ อยู่ที่ประมาณ 69,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยจัดเก็บรายได้จากภาษีสรรพสามิต และภาษีศุลกากร รวมถึง GST นอกจากนี้แหล่งรายได้อื่น ๆ สำหรับรัฐบาล มาจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาต การเช่าทรัพย์สินของรัฐบาล ค่าปรับ และรายรับจากการขายสินค้าประเภททุน
6. จุดแข็งทางการค้าของสิงคโปร์
มูลค่าการค้าสิงคโปร์ในปี 2563 อยู่ที่ 967.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 11.1% จากปีก่อนหน้า สินค้าส่งออก-นำเข้า 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี และสินค้าเบ็ดเตล็ด ทั้งนี้สิงคโปร์ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ อันดับที่ 14 ของโลก มีมูลค่าส่งออก 515 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยคู่ค้าหลัก สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน และสหราชอาณาจักร ส่วนด้านการนำเข้าสินค้า มีมูลค่าการนำเข้า 452.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสิงคโปร์ โดยสิงคโปร์เป็นผู้นำเข้า อันดับที่ 17 ของโลก โดยคู่ค้านำเข้าหลักคือ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น
Source:
https://inlps.com/2020/10/02/what-makes-the-singapore-economy-tick/
ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่
Website:
https://inlps.com/category/blog/
Facebook:
https://www.facebook.com/inlpsasia/
Youtube: Interloop Solutions & Consultancy
Blockdit:
https://www.blockdit.com/interloop
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย