9 พ.ย. 2020 เวลา 13:29 • สุขภาพ
นอน 8 ชั่วโมง หรืออาจเกินไปจนถึง10 ชั่วโมง แต่ทำไมยังง่วงนอนตลอดเวลา ?
ที่สำคัญ ดันเป็นเวลาสำคัญอย่างตอนเวลาทำงาน เช่น ประชุม หรือ คุยงานกับลูกค้า
คิดว่าหลายคนคงเคยเป็นเหมือนผมที่ง่วงมากๆ หลังจากผ่านช่วงครึ่งวันเช้าไปแล้ว หรือหลังทานข้าวกลางวันเสร็จ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ การที่ไม่มีสมาธิกับการทำงานเลย เพราะใจมันบอกแค่ว่า ง่วง อยากนอนแล้ว
เราควรแก้ปัญหากับการ ง่วงนอนตลอดเวลา แบบนี้ยังไงดี? ผมเคยพยายามฝืน ใช้วิธีต่างๆ เช่น การดื่มคาเฟอีน หรือ ลุกเดิน เพื่อให้ตื่นตลอดเวลา และ ทำงานต่อไปเรื่อยๆจนจบวันในที่สุด
ผลที่ได้ก็คือ ประสิทธิภาพการทำงานน้อยลงมาก แถมกลับบ้านมาก็เหนื่อยจนอยากนอนตอนนั้นเลย ทั้งที่เพิ่งจะแค่ 1 ทุ่มเท่านั้น ทำให้เสียช่วงเวลาในการทำอย่างอื่นที่อยากทำไปเลย
การแก้ปัญหาที่ผมคิดว่าได้ผลที่สุด มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ
1. การงีบช่วงพักกลางวัน
วิธีนี้ จะทำก่อนหรือหลังทานข้าวก็ได้ แต่ย้ำว่า ต้อง งีบ นะครับ ไม่ใช่ หลับจากผลวิจัยพบว่าการงีบระยะสั้นระหว่างทำงาน 15 นาที ช่วยทำให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งทาง สมาธิและร่างกาย และยังช่วยให้ทำงานไปได้ตลอดทั้งวันจนเลิกงาน
ข้อควรระวังคือ ถ้ามีการงีบเกินเวลาไปมาก จะส่งผลเสีย ทำให้มีอาการงัวเงีย ปวดหัว และขี้เกียจขึ้นมาแทน
2. การนอนหลับให้มีประสิทธิภาพ
สำหรับบางคนที่ง่วงนอนในระหว่างวัน อาจจะเกิดจากการนอนหลับไม่สนิท หรือ หลับๆตื่นๆ ในเวลากลางคืน ซึ่งต่อให้เรานอนมา 8ชั่วโมง ก็อาจทำให้ยังง่วงซึมได้อยู่ดี
วิธีแก้ง่ายๆคือ งดทานอาหารก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมง และ เข้านอนเป็นเวลา
ทั้ง 2 ข้อนี้สามารถช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่ในเวลาที่เรานอนหลับ เนื่องจาก ร่างกายเราสามารถรับรู้ถึงเวลาพักผ่อนได้ดีขึ้น ถ้าเราเข้านอนเป็นเวลาเดิมทุกวัน แถม ไม่ต้องใช้พลังงานไปกับการย่อยอาหารที่เราทานไปก่อนนอนอีกด้วย
ผลที่ได้คือตอนตื่นเช้ามาเราจะรู้สึกสดชื่น ไม่งัวเงีย และสามารถตื่นได้โดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกเลยทีเดียว
ติดตามเนื้อหาและบทความดีๆได้ที่
FB Page: Investor Soul
References
ทำน้อยลงแต่ได้งานมากขึ้น เคล็ดลับจาก ซีอีโอนักบริหารเวลา (Extreme Productivity) by Robert C.Pozen
Smith, S. S., Kilby, S., Jorgensen, G. and Douglas, J. A. (2007) Napping and nightshift work: effects of a short nap on psychomotor vigilance and subjective sleepiness in health workers. Sleep Biol. 5, pp. 117– 125.
Purnell, M. T., Feyer, A. M. and Herbison, G. P. (2002) The impact of a nap opportunity during the night shift on the performance and alertness of 12‐h shift workers. J. Sleep Res. 11, pp. 219– 227.
โฆษณา