10 พ.ย. 2020 เวลา 10:56 • ธุรกิจ
ทฤษฎี “ตัดชอยซ์” ดีอย่างไร | THE BREIFCASE
หลายๆ คนมักรู้สึกพึงพอใจเมื่อมีตัวเลือกเยอะๆ แต่การมีตัวเลือกหรือทางเลือกเยอะ มันดีจริงไหม?
Bill Burnett, Executive Director of the Design Program at Stanford และผู้เขียนหนังสือ
เรื่อง “Design Your Life” ที่พูดถึงการนำแนวคิด Design Thinking ว่า
นอกจากการนำมาใช้คิดค้นนวัตกรรมหรือการแก้ปัญหาทางธุรกิจแล้ว
เราสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย
Bill Burnett เล่าถึงการทดลองที่ Stanford ว่า นักวิจัยได้ทดลองตั้งซุ้มขายแยม
โดยมีแยมทั้งหมด 6 รสชาติให้ลองชิม แล้วเขาก็เก็บตัวเลขว่ามีคนชิมเท่าไร และหลังจากชิมแล้ว
เปลี่ยนมาซื้อจำนวนเท่าไร หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ ก็ได้เพิ่มจำนวนรสชาติแยมเป็น 24 รสชาติ
คุณลองทายว่า แบบไหนทำให้คนซื้อแยมมากกว่ากัน
ผลปรากฏว่า ตอนขายแยม 6 รสชาติ มีคนซื้อมากกว่า ตอนขายแยม 24 รสชาติ
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การมีทางเลือกมากไปก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะการมีตัวเลือกเยอะมากเกินไป
ทำให้เกิดความลังเล จนตัดสินใจไม่ได้
คำแนะนำของ Bill Burnett คือ “การตัดชอยซ์”
สมมติว่าในสถานการณ์หนึ่ง เรามีตัวเลือกมากเกินไป
ให้ตัดชอยซ์เหลือสัก 5 ชอยซ์ แล้วเลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด
การตัดชอยซ์ให้เหลือน้อยลง จะทำให้เรามีการโฟกัส
ทำให้สามารถพิจารณาทางเลือกแต่ละทาง ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น
Bill Burnett ได้สรุปผลลัพธ์ของทฤษฎีนี้ว่า “เราไม่มีทางรู้เลยว่า จะรู้สึกอย่างไร กับทางเลือกที่เราเลือกไปแล้ว แต่ในท้ายที่สุด เราจะรู้เองว่ามันใช่หรือไม่ใช่”
ถ้าตัดชอยซ์แล้ว แต่สุดท้ายเราเลือกผิดล่ะ ?
Bill Burnett บอกไว้ว่า ถ้าตัดชอยซ์แล้วยังเลือกผิด ก็แค่ “Choose and move on” ก็คือ เลือกแล้วก็ไปต่อ
เพราะต่อให้เลือกถูก ก็ต้อง Move on และต่อให้เลือกผิดก็ต้อง Move on อยู่ดี..
โฆษณา