ถ้าให้คุณเลือกระหว่าง..
1) ซื้อแบงค์ 100 ในราคา 20 บาท
2) ซื้อแบงค์ 100 ในราคา 50 บาท
คุณเลือกข้อ 1 ถูกมั้ย?
นั่นก็เพราะ..
1) ต้นทุนคุณ 20 บาท ได้กำไร 80 บาท (100 - 20)
2) ต้นทุนคุณ 50 บาท ได้กำไร 50 บาท (100 - 50)
จะเห็นว่า..
ข้อ 1 คุณ “เสี่ยงน้อยกว่า” ข้อ 2
เพราะ คุณจ่าย 20 บาท
ซึ่งน้อยกว่าข้อ 2 ถึง 30 บาท (50 - 20)
และข้อ 1 คุณได้ “กำไรมากกว่า” ข้อ 2 เช่นกัน
เพราะ คุณกำไร 80 บาท
ซึ่งมากกว่าข้อ 2 ถึง 30 บาท (80 - 50)
นี่แหละ คือรูปแบบของ “เสี่ยงน้อย กำไรมาก”
ไม่ใช่ High Risk High Return
แต่เป็น “Low” Risk High Return
ซึ่งรูปแบบนี้ ใช้ได้กับ “หุ้น”
ถ้าหุ้น A มีมูลค่า 100 บาท
คุณจะ #เสี่ยงน้อยกว่า และได้ #กำไรมากกว่า
หากซื้อหุ้น A ที่ราคา 20 บาท ไม่ใช่ 50 บาท
เพราะสุดท้าย ราคาจะวิ่งเข้าหา “มูลค่าจริง”
และระหว่างที่ ราคายัง #ไม่สะท้อนมูลค่าจริง ที่ 100 บาท
แต่ยังอยู่นิ่ง ไม่ไหวติงที่ 20 บาท
การซื้อหุ้นที่ราคา 20 บาท คุณก็ยังได้ “กำไรมากกว่า” 50 บาทอยู่ดี
ในรูปแบบ #เงินปันผล
ถ้าหุ้น A จ่ายเงินปันผล หุ้นละ 5 บาท
ไม่ว่าคุณจะซื้อมัน ที่ราคา 20 หรือ 50 บาท
คุณก็ยังได้ปันผล 5 บาท..
คำถามคือ..
แล้วคุณอยากจ่าย “ถูก” หรือ “แพง” ล่ะ?
ที่ราคา 20 บาท คุณจะได้ปันผล คิดเป็น 25% (5 / 20 x 100)
ที่ราคา 50 บาท คุณจะได้ปันผล คิดเป็น 10% (5 / 50 x 100)
ถ้าคุณซื้อหุ้น A ด้วยเงิน 1,000,000 บาท
ที่ราคา 20 บาท คุณจะได้ปันผล 250,000 บาท (1 ล้าน x 25%)
ที่ราคา 50 บาท คุณจะได้ปันผล 100,000 บาท (1 ล้าน x 10%)
ถ้าคุณอยากมี #อิสรภาพทางการเงิน
ที่ราคา 20 บาท คุณจะมีเงินใช้ 20,833 บาท ต่อเดือน (250,000 / 12)
ที่ราคา 50 บาท คุณจะมีเงินใช้ 8,333 บาท ต่อเดือน (100,000 / 12)
บทความนี้ สอนให้รู้ว่า..
“ราคา” คือ สิ่งที่คุณ #จ่าย
“มูลค่า” คือ สิ่งที่คุณ #ได้รับ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวไว้
ผม ไม่ได้กล่าว..