Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เกษตรกึ่งสำเร็จรูป
•
ติดตาม
12 พ.ย. 2020 เวลา 15:18 • การเกษตร
"เกษตรกรแบบทฤษฎีใหม่"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงยากลำบาก ให้หลุดพ้นจากวิกฤตทางอาหาร และโภชนาการ โดยเน้นให้พึ่งพาตัวเองและมีการผสมผสานแบบพึ่งพากันตามระบบนิเวศ
การพึ่งพาตัวเองได้นั้น จะเห็นประโยชน์มากเมื่อเกิดวิกฤตระดับชาติหรือระดับโลก อย่างช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีการกักตัวหรือห้ามขนย้ายระหว่างประเทศ หากเราเตรียมความพร้อมเรื่องเกษตรผสมผสานเราก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดแคลนอาหาร
ต้นอ่อนทานตะวัน
โดยแนวทางเป็นการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ โดยหลักการที่เน้นแก้ไขการขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรได้ผลดี และไม่เดือดร้อนลำบากนัก
เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ในขั้นแรกที่เป็นการผลิต ถือเป็นขั้นสำคัญที่สุด ให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้
ในการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ไม่ว่าจะมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่าหรือมากกว่า 15 ไร่ หากจัดให้เหมาะสมมีพื้นที่มากน้อยก็สามารถทำได้ โดยแบ่งคร่าวๆตามนี้
30 % ใช้ขุดสระเก็บกักน้ำ
30 % ใช้ปลูกข้าว
30 % ใช้ปลูกพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ ไม้ยืนต้น
10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ
เมื่อนำแนวทางนี้ไปปฏิบัติ จะพัฒนาตนเองและการชุมชนให้เข้มแข็งได้มากขึ้น ดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน คือ
1 ) การผลิต ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกิน
2 ) การรวมพลังกันในรูปแบบกลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ ช่วยเหลือกันในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา
3 ) การดำเนินธุรกิจโดยติดต่อภาครัฐ หรือเอกชน ประสานงานให้มีส่วนร่วมจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน
ตามหลักปรัชญาของ "เศรษฐกิจพอเพียง"
จะช่วยให้ประชาชนพออยู่พอกินในระดับเลี้ยงตนเองได้ ไม่อดอยาก ก็จะมีแรงใจแรงกาย ไปต่อยอดช่วยเหลือตนเองและสังคมให้ดีขึ้น
เป็นกำลังใจให้สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้น
และขอบคุณสำหรับผู้ที่พร้อมแล้วแบ่งปันครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.opsmoac.go.th/sustainable_agri-clip-preview-411191791795
บันทึก
3
3
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย