12 พ.ย. 2020 เวลา 15:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Hyperloop ของเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการทดสอบทำความเร็วทะลุ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง!!
3
เจ้า Hyper Tube ที่เกาหลีใต้พัฒนาขึ้นเองนี้อาจจะสำเร็จเริ่มใช้งานจริงได้ก่อน Hyper Loop??
รถไฟความเร็ซสูงแบบ Meg LeV ของสถาบันเทคโนโลยีการขนส่งทางรางของเกาหลีใต้ผู้พัฒนาระบบ Hyper Tube
การแข่งขันกันพัฒนาระบบขนส่งทางรางความเร็วสูงยิ่งรวดระดับเกิน 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นดูจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ
9
จากเมื่อไม่กี่วันก่อนที่ Virgin Hyperloop ประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบ Hyperloop ของตน
4
ซึ่งเป็นที่น่าสนใจเพราะว่าเป็นการทดสอบโดยมีผู้โดยสารอยู่ในตู้ fast-speed pod ด้วยแม้ว่าในการทดสอบนั้นจะทำความเร็วสูงสุดเพียง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่ก็เป็นการทดสอบที่มีคนโดยสารอยู่ข้างในจริง
Virgin Hyperloop
มาเมื่อวานนี้ KORAIL หรือ Korean Railroad Research Institute ก็ได้ประกาศความสำเร็จในการทดสอบระบบ Hyper Tube ของตนที่สามารถทำความเร็วสูงสุดระหว่างการทดสอบได้ถึง 1,019 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งด้วยความเร็วขนาดนี้จะทำให้การเดินทางระหว่างกรุงโซลไปยังปูซานนั้นใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่งด้วยรถไฟความเร็วสูง
3
แต่ทั้งนี้ความสำเร็จในการทดสอบนี้ยังเป็นเพียงการทดสอบในชุดทดสอบแบบย่อส่วนขนาด 1:17 ยังไม่ใช่การวิ่งทดสอบจริงแต่อย่างใด
30
ขุดทดสอบ Hyper Tube ของ KORAIL
โดยในท่อ Hyper Tube นี้จะถูกสูบเอาอากาศออกจนเหลือ 0.001 เท่าของความดันบรรยากาศ หรือแทบจะเป็นสุญญากาศเลยทีเดียว
3
ก่อนหน้านี้ KORAIL เคยทำความเร็วสูงสุดของระบบ Hyper Tube ไว้ที่ 714 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
16
ซึ่งด้วยสถิติใหม่ที่ทำได้ในครั้งนี้ทำให้ระบบ Hyper Tube หรือจริง ๆ ก็คือ Hyperloop ฉบับเกาหลีใต้นี้สามารถทำความเร็วในการเดินทางได้เทียบเท่ากับการเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารในปัจจุบันเลยทีเดียว
3
ภาพในจินตนาการของระบบ Hyper Tube ที่อาจจะมีใช้งานกันในอนาคต
KORAIL ได้เริ่มเข้าสู่การแข่งขันพัฒนาระบบขนส่งในท่อความดันเกือบเป็นสุญญากาศหรือที่รู้จักกันในชื่อ Hyperloop มาตั้งแต่ปี 2017 และวันนี้ก็ได้ทำสถิติใหม่ในการทำความเร็วจนเทียบเท่าเครื่องบินโดยสารแล้ว
6
ขั้นต่อไป KORAIL ได้วางแผนในการพัฒนาชุดทดสอบเพื่อทำการวิ่งจริงภายในปี 2022
ก็ต้องดูกันต่อไปว่าใครจะประสบความสำเร็จและสามารถนำระบบ Hyperloop สู่การใช้งานจริงเป็นรายแรกของโลก ซึ่งถ้าทำสำเร็จเทคโนโลยีนี้ก็จะมาพลิกโฉมการขนส่งมวลชนอย่างแน่นอน
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา