Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
15 พ.ย. 2020 เวลา 02:40 • ธุรกิจ
สรุป การประเมินมูลค่าบริษัท “สตาร์ตอัป”
4
การประเมินมูลค่าบริษัท เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ประกอบกัน
ดังนั้น จึงมีวิธีการประเมินหลายแบบ หลายวิธี
และแต่ละคน ก็อาจนำไปประยุกต์ใช้แตกต่างกันตามความเหมาะสม
2
โดยทั่วไป วิธีการที่นักลงทุน นิยมใช้ประเมินมูลค่าบริษัททั่วไปที่ไม่ใช่สตาร์ตอัปคือจะใช้ Price-To-Earnings Ratio (P/E) หรือ อัตราส่วนมูลค่าบริษัท ต่อ กำไร
เช่น เชนร้านอาหารแห่งหนึ่ง สร้างกำไรได้ 100 ล้านบาท ในปีล่าสุด
ซึ่งสมมติว่า ธุรกิจร้านอาหารในตลาดจะมี P/E ประมาณ 15 เท่าของกำไร
ดังนั้น เชนร้านอาหารนี้ จะมีมูลค่าบริษัทที่ 1,500 ล้านบาท
2
แต่สำหรับบริษัทสตาร์ตอัป หรือบริษัทเทคโนโลยี
ที่ส่วนใหญ่ช่วงแรกของธุรกิจจะไม่มีกำไร เพราะต้องเร่งขยายฐานลูกค้า ฐานผู้ใช้งาน และครองส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด
1
ดังนั้น โมเดลธุรกิจของสตาร์ตอัป อาจเน้นที่สร้างการเติบโตเป็นหลักก่อน ยังไม่ยึดติดกับการทำกำไร
เหมือนกับ Grab, Foodpanda, Shopee, Lazada ที่ยอมขาดทุนมหาศาล
เพื่อหวังการเติบโตของธุรกิจ และกำไรในอนาคต
1
Cr. CNN Philippines
เหมือนอย่าง Facebook และ Amazon ที่แรกๆ ธุรกิจขาดทุน
แต่สุดท้ายบริษัทก็กลายเป็นเจ้าตลาด และทำกำไรได้อย่างมหาศาลในแต่ละปี
ซึ่งการประเมินมูลค่าบริษัทสตาร์ตอัปที่ยังไม่ทำกำไร
จะนิยมใช้ Price-To-Sales Ratio (P/S) หรือ มูลค่าบริษัท ต่อ รายได้
2
หรืออีกวิธีคือ Enterprise Value-To-Sales Ratio (EV/S)
โดย Enterprise Value = มูลค่าบริษัท + หนี้สิน - เงินสด
3
ตัวอย่างเช่น สตาร์ตอัปด้านโซเชียลมีเดียแห่งหนึ่ง สร้างรายได้อยู่ที่ 100 ล้านบาท ในปีล่าสุด
ซึ่งสมมติว่า นักลงทุนประเมินให้ธุรกิจโซเชียลมีเดียหน้าใหม่ มีค่า P/S อยู่ที่ 10 เท่าของรายได้
ดังนั้น สตาร์ตอัปนี้ จะมีมูลค่าบริษัทราว 1,000 ล้านบาท
2
จะสังเกตได้ว่า ทั้งวิธี P/S และ EV/S จะให้ความสำคัญกับ “รายได้” ในการประเมินมูลค่าบริษัท
ซึ่งต่างจากวิธี P/E ที่ให้ความสำคัญกับตัว “กำไร”
1
วิธี P/S และ EV/S จึงเหมาะสำหรับใช้ประเมินมูลค่าบริษัทสตาร์ตอัปมากกว่าวิธี P/E
เนื่องจาก บริษัทสตาร์ตอัปส่วนใหญ่ อาจยังไม่ทำกำไรนั่นเอง
แต่ทุกวิธีข้างต้น จะมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ยิ่งบริษัทมีศักยภาพทางธุรกิจสูง
เช่น มีอัตราการเติบโตของรายได้และผู้ใช้งานสูง, มีเทคโนโลยีล้ำหน้า, ผูกขาดตลาด, มี Network Effect นักลงทุนก็จะให้ค่า P/E, P/S และ EV/S ที่ยิ่งสูง และทำให้มูลค่าบริษัทสูงตามไปด้วย
Cr. Lutz
นอกจากนี้ ยังมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถใช้ประเมินมูลค่าบริษัทสตาร์ตอัปได้ เช่น
วิธี Discounted Cash Flow (DCF)
ถึงบริษัทจะไม่มีกำไร แต่หากกระแสเงินสดของธุรกิจยังเป็นบวก
ก็นำวิธีประเมินมูลค่าบริษัทแบบ DCF มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน
โดยวิธีคือ การคาดการณ์กระแสเงินสดสุทธิ ที่บริษัทจะทำได้ในอนาคต แล้วคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน
ทั้งนี้ สำหรับบริษัทสตาร์ตอัป มักมีความเสี่ยงที่สูงกว่าบริษัทใหญ่ๆ
ดังนั้น นักลงทุน ต้องใช้อัตราคิดลดที่สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ ในการประเมินมูลค่าบริษัทสตาร์ตอัป
1
อีกวิธีหนึ่งคือ วิธีเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ที่มีธุรกิจใกล้เคียงกัน
เช่น ใช้เกณฑ์จำนวนผู้ใช้งานมาเปรียบเทียบมูลค่า
ยกตัวอย่างคือ
Instagram มีจำนวนผู้ใช้งานต่อวัน (Daily Active Users) 500 ล้านคน
ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Snapchat มีจำนวนผู้ใช้งานต่อวันอยู่ 249 ล้านคน และมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านล้านบาท
1
Cr. Ergasi
ดังนั้น Instagram มีผู้ใช้งานรายวันมากกว่า Snapchat 2 เท่า ทำให้ประเมินได้ว่าควรมีมูลค่าบริษัทประมาณ 4 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ วิธีการเปรียบเทียบแบบนี้ ต้องคำนึงเสมอว่า
แต่ละบริษัทที่นำมาเทียบกัน อาจมีโมเดลและปัจจัยอื่นทางธุรกิจแตกต่างกัน
จึงไม่อาจสามารถนำมาเปรียบกันได้ตรงๆ 100% แม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ตาม
สำหรับวิธีสุดท้ายก็คือ วิธีเปรียบเทียบกับมูลค่าตลาด
เช่น ตลาดโฆษณาโดยรวมมีมูลค่าอยู่ 100,000 ล้านบาท
โดยสตาร์ตอัปแห่งหนึ่ง คาดว่าจะครองส่วนแบ่งตลาดโฆษณาได้ 30% และจะมีอัตรากำไรที่ 20%
ดังนั้น บริษัทจะมีกำไรอยู่ที่ 100,000 x 30% x 20% เท่ากับ 6,000 ล้านบาท
ถ้าเอากำไรไปคูณกับค่า P/E เช่น 30 เท่าของกำไร
สตาร์ตอัปแห่งนี้ จะถูกประเมินมูลค่าบริษัทที่ราว 180,000 ล้านบาท
สรุปแล้ว การประเมินมูลค่าบริษัทสตาร์ตอัป
จะมีหลายสูตร หลายวิธีการ
ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกวิธีไหน มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับโมเดลและประเภทธุรกิจ
ซึ่งผลลัพธ์ของการประเมินที่ได้ ก็จะออกมาแตกต่างกันไป ตามความเหมาะสมของสภาพธุรกิจ อุตสาหกรรม และตามมุมมองของนักลงทุนแต่ละคน..
181 บันทึก
272
2
166
181
272
2
166
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย