15 พ.ย. 2020 เวลา 15:39 • หุ้น & เศรษฐกิจ
RCEP เขตการค้าเสรีแห่งเอเชีย
ผู้นำ 15 ประเทศลงนามข้อตกลงทางการค้า Reginal Comprehensive Economic Partnership : RCEP หนึ่งในข้อตกลงทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จะมาคาน NAFTA และ EU แต่ถูกวิพากษ์ว่าเป็นข้อตกลงที่มีจีนเป็นผู้มีอิทธิพล
Source Financial Times
ผู้นำจาก 15 ประเทศในวันอาทิตย์นี้ลงนามข้อตกลงทางการค้าเผื่อลดอุปสรรคทางการค้าทางภาษีและมิใช่ภาษี โดยข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมประชากร 1 ใน 3 ของโลก นับเป็นข้อตกลงทางการค้าฉบับแรกที่มีทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ภายใต้ข้อตกลงซึ่งจะสร้างมูลค่ากว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
Source IMF
โครงสร้างของ RCEP คือ ASEAN บวกกับ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ โดยเป็นการรวมข้อตกลงทางการค้าจากอาเซียนพลัสมาเป็นข้อตกลงขนาดใหญ่ ที่ทำให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียมีความสัมพันธ์ทางการค้าแน่นแฟ้นกันยิ่งขึ้น เหมือน EU และ North America
นายกรัฐมนตรีของจีนกล่าวชื่นชมการบรรลุข้อตกลงด้วกล่าวว่าคือ ชัยชนะของระบบพหุภาคีและการค้าเสรี
ในขณะที่นายกสิงคโปร์ระบุว่าเราลงนามข้อตกลงวันนี้หลังจากผ่านการเจรจามากว่า 8 ปี ซึ่ง ณ ขณะนั้น ทั่วโลกกำลังเสื่อมศรัทธากับการค้าโลกและระบบการค้าเสรี โดยข้อตกลงในวันนี้จะเป็นสิ่งที่บอกว่าเอเชียให้ความสำคัญกับการค้าเสรี การเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตของโลก
ในขณะที่อินเดียถอนตัวออกจากการเจรจาในปีที่แล้วและยังยืนยันที่จะไม่เข้าร่วมเนื่องจากข้อวิตกกังวลว่าหากเข้าร่วมสินค้าราคาถูกจากจีนจะเข้าไปทำลายอุตสาหกรรมของอินเดีย ทั้งนี้ทำให้หลายๆ ฝ่ายวิตกว่า RCEP จะกลายเป็นข้อตกลงที่จีนมีอิทธิพลค่อนข้างมาก (ซึ่งก็จริงตั้งแต่เริ่มเจรจา เพราะจีนต้องการใช้ RCEP คานอำนาจกับ TPP ซึ่งนำโดยสหรัฐ)
อย่างไรก็ตามข้อตกลง RCEP ดูเหมือนจะเป็นข้อตกลงหลวมๆ เมื่อเทียบกับข้อตกลงทางการค้าขนาดใหญ่ของโลก สิ่งที่แตกต่างของ RCEP เช่น กฏแหล่งกำเนินสินค้า ซึ่งโดยปกติ แต่ละประเทศสมาชิกอาจมี rule of orgins ที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามภายใน RCEP มีการกำหนด rule of origin เพียงกฏเดียวที่ประยุกต์ใช้กับทุกประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าที่ยังตกลงกันไม่ได้เช่นสินค้าเกษตร นอกจากนี้ทั้งสหรัฐและยุโรปดูเหมือนว่าตอนนี้จะอยู่นอกวงเขตการค้าเสรีของเอเชียหลังจาก สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลง TPP
ทั้งนี้การลงนามในวันนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นยังต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรที่จะบรรลุการเจรจาในประเด็นต่างๆ แต่ถือว่าการลงนามวันนี้เป็นก้าวที่สำคัญของเอเชียต่อไปในอนาคตในการเปิดเสรีทางการค้า และการเกิดขึ้นของเขตการค้าเสรีของเอเชียที่เทียบได้กับของ EU และ สหรัฐ
เรียบเรียงจาก Financial Times 14 พย 63
โฆษณา