Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
16 พ.ย. 2020 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
รู้จัก “กลยุทธ์หดตัว” เทคนิครับมือวิกฤติ สำหรับผู้บริหาร
วัฏจักรเศรษฐกิจ วงจรธุรกิจ หรือแม้แต่วิกฤติ COVID-19 ที่ไม่มีใครคาดคิด
ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความท้าทายในการทำธุรกิจ
ผลที่ตามมาคือ รายได้ที่ลดลงและตัวเลขกำไรที่หดหายไป
พอเป็นเช่นนี้… เพื่อรักษาความอยู่รอดของธุรกิจ
ผู้บริหาร จึงต้องทำหน้าที่ไม่ต่างจากแพทย์ที่จะพาธุรกิจเข้ารับการผ่าตัดครั้งใหญ่
ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า กลยุทธ์หดตัว
3
แล้ว “กลยุทธ์หดตัว” คืออะไร ?
กลยุทธ์หดตัว หรือ Retrenchment Strategies
คือ กลยุทธ์ที่จะช่วยรักษาความสามารถในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤติ
ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์สำคัญ คือ
2
1.กลยุทธ์กลับตัว หรือ Turnaround Strategies
เป้าหมายคือ การปรับโครงสร้างภายในองค์กร เพื่อให้ธุรกิจกลับมามีประสิทธิภาพมากขึ้น
-ปรับโครงสร้างทางการเงิน เช่น ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อรักษาสภาพคล่องธุรกิจ
-ปรับโครงสร้างบุคลากร หรือ ยุบรวมแผนกงานเข้าด้วยกัน
-ปรับแผนการลงทุน เพื่อลดการใช้เงินทุน
1
2.กลยุทธ์ถอนตัว หรือ Divestment Strategies
จะเป็นกลยุทธ์ที่ใช้หลังจากใช้ “กลยุทธ์กลับตัว” แล้วไม่ประสบความสำเร็จ
เป้าหมายคือ การกลับมาให้ความสำคัญกับ core business
พร้อมกับ “การถอนตัว” จากสิ่งที่จะเป็นความเสี่ยงกับ core business
-ถอนสินค้า ที่ขาดศักยภาพการแข่งขันออกจากตลาด
-ถอนแผนกธุรกิจ ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายมากกว่ารายได้ในองค์กร
1
3.กลยุทธ์ขายทิ้ง หรือ Liquidation Strategies
จะเป็นกลยุทธ์สุดท้าย หลังจากใช้ 2 กลยุทธ์ข้างต้นไม่ประสบความสำเร็จ
เป้าหมายคือ ยุติการทำธุรกิจ แล้วขายทรัพย์สินบริษัท เพื่อให้ได้เงินกลับคืนมามากที่สุด
-การเชิญพนักงานออกโดยสมัครใจ
-การขายทรัพย์สินบริษัท
-การขายบริษัทลูก
ผลจากการใช้กลยุทธ์นี้ ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อภาพใหญ่ขององค์กร
แต่ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตบุคลากรที่ต้องตกงานอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า การใช้กลยุทธ์หดตัว ไม่ต่างไปจากการตัดชิ้นเนื้อร้ายออกจากองค์กร
เพื่อรักษาธุรกิจให้ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ นั่นเอง..
88 บันทึก
71
1
94
88
71
1
94
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย