16 พ.ย. 2020 เวลา 04:23 • ประวัติศาสตร์
เรื่องราวของ “ผู้ลี้ภัย (Refugees)”
“ผู้ลี้ภัย (Refugees)” คือกลุ่มคนที่เดินทางออกจากประเทศของตน โดยมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงคราม การเมือง หรือความขัดแย้งทางศาสนา หรือความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย
ในทุกวันนี้ มีผู้ลี้ภัยอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ล้านคน โดยมีช่วงพีคที่สุด คือเมื่อคราวเกิดความขัดแย้งในบัลข่านในช่วง 90 (พ.ศ.2533-2542) ซึ่งทำให้เกิดผู้ลี้ภัยเกือบ 18 ล้านคน
ประมาณ 70% ของผู้ลี้ภัยทั้งหมดบนโลก จะอยู่ที่แอฟริกาและตะวันออกกลาง
ในทุกๆ ปี จะมีผู้ลี้ภัยออกจากประเทศตนเองปีละกว่า 800,000 คน ซึ่งส่วนมากจะลี้ภัยจากสงครามและความขัดแย้งในแอฟริกาและตะวันออกกลาง
ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) ผู้คนนับพันหนีออกจากแอฟริกาเหนือ เนื่องด้วยเหตุผลทางการเมือง ส่วนในปีค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) ชาวรวันดานับแสนต้องลี้ภัยออกจากประเทศตนเองเพื่อหนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
1
ประเทศที่มีผู้ลี้ภัยมากที่สุดคืออัฟกานิสถาน โดยมีผู้ลี้ภัยเกือบสามล้านคน
ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานมักจะลี้ภัยไปยังปากีสถาน ที่เหลือก็ไปเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา
1
ที่อิรักและโซมาเลีย ก็มีผู้ลี้ภัยกว่าหนึ่งล้านคน ซูดานและคองโกห้าแสนคน โดยองค์การสหประชาชาติได้ประกาศว่าทั่วโลก มีคนที่ไม่มีแผ่นดินอยู่กว่า 10 ล้านคน
กฎหมายระหว่างประเทศระบุว่าผู้ลี้ภัย คือบุคคลที่หนีออกจากประเทศบ้านเกิดและไม่สามารถกลับประเทศของตนได้ เนื่องด้วยเหตุผลหลายๆ ข้อ
ผู้ลี้ภัยจะได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งจะปกป้องผู้ลี้ภัย ทำให้ผู้ลี้ภัยไม่ต้องถูกส่งกลับประเทศ
สำหรับในประวัติศาสตร์นั้น ผู้ลี้ภัยคือองค์ประกอบที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มาโดยตลอด
ในยุคกลาง ผู้ลี้ภัยออกจากดินแดนของตนก็เนื่องจากความต่างทางศาสนา
ในคราวปฏิวัติรัสเซีย ผู้คนกว่า 1.5 ล้านคนก็ลี้ภัยออกจากประเทศของตน เนื่องจากต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ชาวอาร์เมเนียกว่าหนึ่งล้านคนก็ออกจากตุรกีเนื่องจากเป็นห่วงความปลอดภัยของตน
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ก็มีผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นมากมาย แค่เฉพาะในยุโรปก็มีมากถึง 50 ล้านคน ซึ่งส่วนมากคือชาวยิวที่หนีจากภัยนาซี นอกจากนั้นยังมีชาวเยอรมันที่ถูกขับไล่ออกจากดินแดนของตนอีกด้วย
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์เรืองอำนาจในจีนในปีค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) คนกว่าสองล้านคนก็ลี้ภัยไปฮ่องกงและไต้หวัน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเยอรมันตะวันออกกว่าสามล้านคนก็ลี้ภัยไปเยอรมนีตะวันตก
1
ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัย เป็นปัญหาที่น่าหนักใจและน่าเห็นใจ และยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปัจจุบัน
โฆษณา