16 พ.ย. 2020 เวลา 09:04 • การศึกษา
Paradigm of Exchange
ถ้าจะเท้าความไปถึงการลงทุนนั้นคงต้องย้อนไปสมัยก่อนโน้นนนน ตั้งแต่มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเกิดขึ้น ใครถนัดทำสินค้าอะไรก็เอามาแลกกัน
พอนานวันเข้าเริ่มมีการแย่งชิงสินค้ากันเกิดขึ้น เช่น ในเมือง A คนเลี้ยงไก่บอกว่าไก่ 1 ตัว ขอแลกดอกไม้ได้ 10 ดอก คนปลูกดอกไม้ในเมือง A ก็เอาดอกไม้ 10 ดอกมาแลกไก่จนไก่ในเล้าใกล้หมด แล้วก็มีคนปลูกดอกไม้คนหนึ่งที่อยู่ ๆ อยากกินไก่มาก เลยบอกคนเลี้ยงไก่ว่า “ผมขอแลกดอกไม้ 15 ดอก กับไก่ 1 ตัว” สิ่งนี้เองจึงเป็นต้นกำเนิดของราคาสินค้าที่แพงขึ้น
แต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อคนเมือง A รู้ว่า ไก่ของเมือง B นั้นใช้ดอกไม้เพียง 5 ดอกในการแลก เช่นนั้นแล้วเราเอาดอกไม้ของเราไปแลกไก่ของเมือง B กันเถอะ พ่อค้าไก่เมือง A ก็เริ่มขายไก่ไม่ได้จนนั่งเหงา ทำให้พ่อค้าไก่ของเมือง A ต้องลดราคาไก่ของตนเองเหลือแค่เพียงดอกไม้ 5 ดอกเหมือนกัน
จุดนี้เองคือที่มาของ Demand หรือ อุปสงค์ (ความต้องการซื้อ) และ Supply หรือ อุปทาน (ความต้องการขาย)
** ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นพื้นฐานของการเก็งกำไรในปัจจุบัน **
ปัญหาไม่จบแค่นั้นวันดีคืนดี ภรรยาของคนเลี้ยงไก่อยากได้หม้อขึ้นมา แล้วไก่ 1 ตัวมันแลกหม้อได้กี่ใบล่ะ นั่นไงวุ่นวายกันไปใหญ่!!!
 
มนุษย์หัวใสจึงคิดสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกันขึ้นมาคือ “เงินตรา” นั่นเอง ทำให้สินค้าใดๆก็ตามสามารถเปลี่ยนเป็นเงินตราได้ (ถ้าสินค้านั้นมีคนต้องการนะ)
แต่มันไม่จบง่ายๆอย่างนั้นหรอกครับ ถึงแม้จะมีเงินเป็นสื่อกลางเกิดขึ้นมา มันก็ทำหน้าที่แค่เพียงอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าเท่านั้น แต่ค่าของเงินนั้นก็ยังมีการขึ้นหรือลงตามความต้องการในการแลกสินค้าต่างๆอยู่ดี (ในที่นี้ยังไม่พูดถึงการปล่อยกู้หรือเครื่องมืออื่นๆที่ทำให้เงินเพิ่มมูลค่าในรูปของดอกเบี้ย ซึ่งจะพูดในโอกาสต่อๆไปครับ)
และในปัจจุบันไม่เพียงความต้องการในสินค้าที่ทำให้ค่าของเงินขึ้นหรือลง ยังมีปัจจัยอีกมากมายหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงิน อีกมากมาย รอติดตามในบทความต่อๆไปนะครับ
ท่านสามารถอ่านบทความและความรู้ต่างๆของเราเพิ่มเติมได้ที่
#6paradigms #ไม่หวือหวาแต่อยู่รอด
โฆษณา