16 พ.ย. 2020 เวลา 14:18 • ประวัติศาสตร์
กวยกูยมาจากอินเดียจริงหรือ??
โลกหนึ่งเดียวของอเล็กซานเดอร์มหาราช
ใครจะเชื่อบ้างว่า หากชายคนหนึ่งมีชีวิตยืนยาวอีกนิดเหมือนคนอื่นๆเขาอาจทำบางสิ่งให้โลกตะลึง ศานาพุทธจะเป็นศาสนาเอกของโลก , ภาษากรีกจะเป็นภาษาสากลของโลกแทนภาษาอังกฤษ อารยธรรมแบบกรีกจะแทนที่อารยธรรมจีน- อินเดียในเอเชีย ใช่แล้วครับ ชายผู้นั้นคือ อเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้ที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์กวยกูยต้องพลัดถิ่นฐานจากบ้านเกิดเมืองนอนในอินเดีย หนีภัยสงครามมาสร้างชุมชนใหม่ที่ไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนเดิม
ถ้าเรื่องราวที่เราเคยรู้ๆกันเป็นจริงว่า กลุ่มชาติพันธุ์กวยกูยเราอพยพมาจากอินเดียข้ามภูเขาและแม่น้ำจนมาสุดทางที่ปลายแหลมทองเพราะไปต่อไม่ได้แล้ว ใช่หนีภัยสงครามจากอินเดียเพราะถูกเผ่าอารยันตามล่าหรือเปล่า งานเขียนของผมครั้งนี้จะตอบคำถามท่านเอง
#อเล็กซานเดอร์มหาราชคือใครแล้วเกี่ยวอะไรกับกวยกูยเรา อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นกษัตริย์กรีกหนุ่มจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้เกือบพิชิตโลก หรือรวมโลกให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ พระองค์เที่ยวก่อสงครามเพื่อรวบรวมทุกอาณาจักรในโลกโลกนี้เข้าด้วยกันให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยเพียงสาเหตุเดียวคือ ต้องการชนะชาวเปอร์เชีย ซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ณ.เวลานั้น แต่พอเอาชนะเปอร์เชียได้ก็ก้าวกระโดดแผ่อำนาจไปไกลทั่วโลก
ราวๆ พศ.216 อเล็กซานเดอร์กรีฑาทัพมาถึงแคว้นคันธาระ นครตักกศิลา (ประเทศอินเดียในตอนนี้)ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการศึกษาของพุทธศาสนาที่เพื่องฟูในเวลานั้น (ใครที่ศึกษาเรื่องพระพุทธรูปองค์แรกของโลกในศาสนาพุทธคงเข้าใจ) นครตักศิลาไม่ยอมสู้รบด้วยเพราะเห็นว่ากำลังสู้ไม่ไหวเลยยอมแพ้เปิดประตูเมืองให้ อเล็กซานเดอร์ไม่ทำลายอะไรหรือทำร้ายใคร(แถมนำเทคโนโลยี่และวิทยาการชั้นสูงมาพัฒนาปรับปรุงให้อีกต่างหาก) แต่ให้แคว้นคันธาระขึ้นตรงและส่งเครื่องบันนาการต่ออาณาจักรมาเกโดนีอา (กรีก)
พศ.217 อเล็กซานเดอร์ กรีฑาทัพเข้าบุกเพื่อหวังพิชิต เมืองนิเกีย แคว้นปัญจาบ บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นการรบครั้งสุดท้ายของอเล็กซานเดอร์มหาราช การรบครั้งนี้ถึงอเล็กซานเดอร์จะชนะแต่ก็สะบักสะบอมเต็มที่เพราะเป็นครั้งแรกที่กองทัพของพระองค์ต้องสู้กับกองทัพช้าง
เชื่อกันว่าสงครามครั้งนี้ ชนพื้นเมืองที่บังคับช้างทำศึกสงครามคือ ชาวมุน (มุนด้า)ที่คาดว่าน่าจะเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกวยกูยนั้นเอง
#ศาสตร์เร้นลับของชนพื้นเมืองโบราณ กวย กูย
ย้อนกลับไปเมื่อก่อนหน้านี้สัก๓๐๐๐ – ๔๐๐๐ ปี ดินแดนทั้งหมดในแถบอุษาคเนย์ นักประวัติศาสตร์จัดให้ดินแดนแถบนี้ยังอยู่ยุค อารยธรรมหินใหม่ หมายถึงชุมชนยังเป็นขนาดเล็ก กระจัดกระจายกันอยู่ไม่มีแบบแผนแบบสังคมรัฐ ยังใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทำจากหินอยู่กันเลย แต่ในนิทานปรัมปราพื้นบ้านของดินแดนต่างๆในแถบนี้โดยเฉพาะแถบอีสานของไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาวไม่ได้พูดแบบนั้น ตำนานพื้นเมืองหรือตำนานเล่าขานของชุมชนต่างๆในแถบนี้ บางพื้นที่ย้อนไปไกลเกินกว่า ๒๐๐๐ ปีเลยที่เดียว(บางพื้นที่อายุมากกว่า 4000ปี เช่น แหล่งชุมชนโบราณบ้านเชียง) ซึ่งถือได้ว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นรัฐกันแล้ว
ย้อนมาที่ ไทกวยกูยเรา เป็นที่รู้ๆกันดีว่า ไทยกวยกูยเราอยู่ที่นี้มานานนับพันปีแล้ว และวัฒนธรรมไทกวยกูยเรานั้น นับถือผีบรรพบุรุษ นับถือเทวดา ผีสาง นางไม้ ซึ่งเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติตามองไม่เห็น ซึ่งก็เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองในเขตุอุษาคเนย์นี้เช่นเดียวกัน
สำหรับชาวไทกวย กูย นั้นการนับถือผีบรรพบุรุษจะมี 2 ลักษณะเด่นๆคือ
(๑)#ระดับครัวเรือน ซึ่งเราเรียกว่า “คองระสา” ซึ่งจะเอาอัฐฐิญาติผู้ตายมาไว้ในบ้านเลย จัดเป็นสัดสวนแยกกันกับห้องพระ
(๒)#ระดับชุมชน เราเรียกว่า “ยะจั๊วะ” ซึ่งเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาจนหลอมรวมเข้ากับรีตประเพณี ฮีต๑๒คลอง๑๔ เรียกว่าบุญเดือน ๓ เซนยะจั๊วะ รูปแบบกิจกรรมแบบนี้ในภูมิภาคอื่นของไทย จะเหมาเรียกรวมๆแบบคนนอกว่า “การเลี้ยงผี”
จิตร ภูมิศักดิ์ นักค้นคว้าประวัติศาสตร์ให้นิยามความหมายเรื่องศาสนาดั้งเดิมของชนพื้นเมืองโบราณในอุษาค เนย์ว่า ศาสนาดั้งเดิมในแถบนี้คือ “ศาสนาผี” หมายถึงนับถือผีเป็นใหญ่
ประเด็นแบบนี้มันต้องมีที่มา นอกจากการเลี้ยงผีบรรพบุรุษแล้ว คนไทกวยกูย โดยเฉพาะสายกวย–กูยในแถบบริเวณลุ่มน้ำมูล แม่น้ำชีใหลมารวมกัน นั้นมีความสัมพันธ์กับช้างอย่างเหนียวแน่นมาก เรียกได้ว่าสัตว์เลี้ยงของบ้านอื่นอาจเป็นหมู่หมา กาไก่ แต่สัตว์เลี้ยงของคนที่นี้เป็น ช้าง น่ารักมั่ยครับ รู้จัก ตะพุ่นช้าง มั่ยครับ ตะพุ่นช้างคือคนดูแลช้างจะมีความสัมพันธ์กับช้างอย่างเหนียวแน่นในอดีตตะพุ่นช้างอาจจะเป็นข้าทาส หรือบริวาร หรือเฉลยศึก แม้นกระทั่งข้าราชสำนักที่ทำผิดแล้วถูกลดตำแหน่งมาเลี้ยงช้างชดใช้โทษแทนโทษประหารก็ได้ ทำไมไทกวยกูยจึงเลี้ยงสัตว์ดุร้ายอย่างช้างจนเชื่องเหมือนหมาแมวได้ มันมีอะไรมากกว่านั้นหรือเปล่า พิธีปะกำ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยขั้นตอนการจับช้าง ฝึกช้างรวมไปถึงศาลปะกำแท้จริงจริงแล้วมันคืออะไร หรือมันเป็นหนึ่งในศาสตร์เร้นลับของไทกวยกูยอย่างนั้นหรือเปล่า
นอกจากเรื่องพิธีปะกำแล้ว ศาตร์ปะกำ ๑๐๘ ยังมีอะไรอีก ไม่มีใครรู้นอกจากผู้ครอบครองตำราเล่มนี้ คนนอกไม่ได้รับการถ่ายทอดแต่อย่างใด ชนพื้นเมืองไทกวยกูยนอกจากชำนาญเรื่องช้างแล้ว มีอีกสิ่งหนึ่งที่ชำนานไม่แพ้กัน นั้นก็คือ ศาสตร์การหลอมเหล็ก
คงจำเรื่องราวก่อนหน้านี้ที่ ผมนำมาลงให้อ่านได้มั่ยครับเรื่องที่มาของ ไทกวยกูยเรา เมื่อ ราว พศ.๒๑๗ ตอนที่ อเล็กซานเดอร์มหาราชบุกรัฐปัญจาบ ในอินเดีย ศึกครั้งนี้กองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ต่อสู้กับกองทัพช้างเป็นครั้งแรก ผลก็คือชนะแบบสะบักสะบอม ช้างศึกที่เข้าร่วมรบในสมรภูมิครั้งนั้นคือนักรบจากเผ่ามุนด้า หรือก็คือต้นบรรพบุรุษเรา(ถ้าเป็นเรื่องจริงนะ) ชาวมุนด้าหรือชาวมุน เลี้ยงช้างเป็นสัตว์เลี้ยง นับถือช้างจนให้กำเหนิดความเชื่อในรูปเรื่องพระพิมเนศ ชาวมุนด้านี้นับถือศาสนาฮินดูยุคแรก ก่อนการพัฒนามาเป็นฮินดูในปัจจุบัน ซึ่งก็คือศาสนา “สาธาธูษดรา หรือ โซโรธัสเตอร์” เป็นลัทธิบูชาไฟของชาวเปอร์เชีย ที่แผ่อิทธิพลเหนืออินเดียในเวลานั้น หลักพื้นฐานของศาสนาฮินดูเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นที่มาของวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ รวมไปถึง เทพเจ้า เทวดา ผีสางนางไม้ นอกจากเรื่องศาสนาชาวมุน (มุนด้า) ยังมีศาสตร์ที่ใช้ในการเมืองการปกครองเรียกกันว่า ศิลปศาสตร์ 18 ประการ ซึ่งเป็นตำราศาสตร์อันเลื่องชื่อของนครตักกศิลา ศาสตร์นี้ว่าด้วยเรื่อศิลปะเชิงยุทธการเมืองการปกครองและการรบการสงคราม ซึ่งภายในแตกแขนงมากมายหลายสาขารวมถึงการบังคับช้าง , การหลอมเหล็ก , การใช้เวทย์มนตรา ภายหลังสงครามจบ อเล็กซานเดอร์สั่งควบคุมเหล่าทหารม้า(ช้าง)และครอบครัว บางส่วนเลยหนีออกจากอินเดียออกมาพร้อมตำราและความรู้เรื่องศาสตร์เหล่านี้ที่ติดตัวมากับผู้อพยพชาวมุนด้าสู่ดินแดนแหลมทอง กลายเป็นชนกลุ่มน้อย ตำราคชสารถูกใช้เป็นที่เลื่องลือในลุ่มที่ราบ จำปาศักดิ์ และ ทะเลสาบโตนเล รวมไปถึง เทือกเขาตองแบระ และ แอ่งโคราชเพราะเป็นที่ราบ มีแร่เหล็ก และช้างป่าอาศัยเป็นจำนวนมากนั้นเอง
จากนั้น อีก ๓๐๐–๕๐๐ ปีต่อมามหาพราห์มโกณทัญญะก็มาขยายอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ เพราะศาสนาฮินดูกำลังเพลี้ยงพล้ำศาสนาพุทธที่กำลังเจริญเติบโต ได้รับความนิยมสุดๆในอินเดียเวลานั้น มหาพราห์มโกณทัญญะ ชนะ นางโสมาธิดาชนพื้นเมือง ด้วยวิชา ธนุรเวท เป็นวิชาหนึ่งในศาสตร์ ๑๘ ประการ เป็นวิชาใช้ธนูใครที่ร่ำเรียนจนสำเร็จสามารถยิงธนูออกไปจนเกิดเสียงแหวกอากาศเมื่อกระทบเป้าหมายจะเกิดเสียงสนั่นหวันไหวปานธรณีจะถล่มทลาย นางโสมารู่ว่ามหาพราห์มสำเร็จวิชานี้จึงยอมแพ้ และ ยอมเป็นเมีย ร่วมกันสร้างอาณาจักรฟูนันยิ่งใหญ่สืบมา
คำถาม ผ่านมาเกือบ ๓๐๐ ปี โกณทัญญะรู้ได้ยังงัยว่าจะต้องมาขยายอิทธิพลในบริเวณนี้ หรือเขารู้ว่าคนแถบนี้ดั้งเดิมแล้วคือใคร
ติดตามต่อไปคุณ จะอึ้งเมื่อรู้ว่า เรามีเหรียญอเล็กซานเดอร์ในภูมิภาคอุษาคเนย์นี้แถมค้นพบในเขตชุมชนเก่าแก่โบราณด้วย
โฆษณา