17 พ.ย. 2020 เวลา 08:11 • การเกษตร
《โคลงเคลง》
>○< ดอกสีสันสวยงาม มีคุณประโยชน์เป็นยาสมุนไพร >○<
ชื่อสามัญ Malabar gooseberry, Malabar melastome, Melastoma, Indian rhododendron, Singapore rhododendron , Straits rhododendron
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melastoma malabathricum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Melastoma malabathricum subsp. malabathricum) จัดอยู่ในวงศ์โคลงเคลง (MELASTOMATACEAE)
โคลงเคลง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า โคลงเคลงขี้นก โคลงเคลงขี้หมา (ตราด), มายะ (ชอง-ตราด), อ้า อ้าหลวง (ภาคเหนือ), เบร์ มะเหร มังเคร่ มังเร้ สาเร สำเร (ภาคใต้), ซิซะโพ๊ะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตาลาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กะดูดุ กาดูโด๊ะ (มลายู-ปัตตานี), เหม่ เป็นต้น
ม่วงมงคลหรือโคลงเคลง
○รู้ไหม ต้นโคลงเคลง เป็นสมุนไพรชั้นดี○
[ต้น] โครงเคลงนำมาปรุงเป็นยาสมุนไพรรักษาอาการของโรคได้หลายอย่าง เช่น
[ใบ] นำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผลที่เป็นหนองเพื่อไม่ให้มีแผลเป็น
[ใบ] ต้มกับน้ำหรือน้ำคั้นจากใบ ใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด
[ใบ] นำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผลที่เป็นหนองเพื่อไม่ให้มีแผลเป็น
นอกจากนี้ลูกสุกของโคลงเคลง นำมากินได้ รสชาติหวาน ฝาด กินแล้วลิ้นดำ ยุคสมัยก่อน ตอนเป็นเด็ก จะเก็บมากินบ่อยครั้ง ส่วนดอกจะมองเห็นเด่นชัดมีความสวยงาม
ในยุคปัจจุบัน มีการนำเอาต้นโคลงเคลงมาปลูกประดับเพื่อความสวยงามให้กับที่อยู่อาศัย เพราะดอกมีสีสวยงาม
ม่วงมงคลหรือโคลงเคลง
แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนผ่านไปสักเท่าใด ต้นโคลงเคลงก็ยังมีให้เราได้ชม ได้กินลูกที่สุก แต่หากเป็นในยุคเก่าก่อน นับว่าต้นโคลงเคลงมีประโยชน์มากมายที่เราไม่อาจจะสาธยายได้มากสักเท่าใด แต่หากอยากรู้ลองค้นคว้าหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติม แล้วเราจะรู้จักประโยชน์ของโคลงเคลงที่มากกว่าความสวยงามของดอก
โฆษณา