Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
17 พ.ย. 2020 เวลา 16:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทีมนักดาราศาสตร์จากญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการใช้เรดาห์และกล้องโทรทัศน์ในการร่วมสังเกตการณ์ดาวตกหรือผีพุ่งใต้ที่ร่วงหล่นเข้าสู่บรรยากาศโลก
ซึ่งเป็นการรวมข้อดีของความสามารถในการตรวจจับวงกว้างของเรดาห์และการเก็บรายละเอียดของเหตุการณ์จากกล้องโทรทัศน์
สถานีเรดาห์ MU และหอดูดาว KISO ที่ทำงานร่วมกันในการสังเกตและเก็บข้อมูลสะเก็ดดาวที่ร่วงหล่นเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก
ในแต่ละค่ำคืนที่ผ่านไปนั้นมีเศษสะเก็ดละอองดาวที่หลุดมาจากดาวเคราะห์น้อย อุกกาบาตและดาวหางที่ล่องลอยเคว้งคว้างอยู่ระหว่างดาว
เมื่อโลกเราโคจรผ่านพวกมันก็จะดึงดูดเอาเศษละอองดาวเหล่านี้ร่วงหล่นเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเกิดเป็นดาวตกให้เราเห็น และถ้าลุกไหม้ไม่หมดตกลงถึงพื้นโลกก็จะกลายเป็นอุกกาบาตนั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าในแต่ละวันนั้นมีสะเก็ดดาวร่วงหล่นเข้าสู่บรรยากาศโลกรวมเป็นน้ำหนักกว่า 5 แสนกิโลกรัม(500 ตัน) เลยทีเดียว
แต่การที่เหล่านักดาราศาสตร์จะเฝ้าสังเกตการณ์เหล่านี้ด้วยกล้องโทรทัศน์นั้นก็เป็นเรื่องยากเพราะก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดดาวตก รู้อีกทีก็หันกล้องไปไม่ทันยกเว้นบังเอิญว่าเหตุการณ์นั้นมันเกิดอยู่ในเฟรมของกล้องพอดี
การใช้เรดาห์เพื่อตรวจจับดาวตกนั้นจึงเป็นอีกแนวทางในการสังเกตและเก็บข้อมูลดาวตกที่ตกเข้าสู่บรรยากาศโลกเพราะเรดาห์นั้นมีรัศมีตรวจจับที่กว้าง แต่ก็ยังขาดการบันทึกรายละเอียดเช่นภาพถ่ายของเหตุการณ์
แผงเสาอากาศของ MU Radar
ดังนั้นทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวจึงได้พัฒนาระบบการสังเกตการณ์ร่วมที่ใช้ทั้งเรดาห์และกล้องโทรทัศน์ในการเก็บข้อมูลดาวตก
โดยระบบเรดาห์ที่ใช้นี้คือ MU radar หรือ Middle and Upper Atmosphere Radar facility ซึ่งใช้สัญญาณวิทยยุ VHF ช่วงความถี่ 46.5 MHz กำลังส่งสูงสุด 1 MW ติดตั้งเป็นกลุ่มเสาสัญญานวิทยุจำนวน 475 เสาภายในพื้นที่วงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 103 เมตร
ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุในบรรยากาศชั้นกลางและชั้นสูงครอบคลุมระยะกว่า 100 กิโลเมตรจากพื้นดิน
การทำงานร่วมกันระหว่าง MU Radar ที่จังหวัดชิกะ และหอดูดาว Kiso ที่นาโกย่า
เมื่อ MU radar ทำการตรวจจับดาวตกได้ก็จะส่งข้อมูลให้กับกล้องโทรทัศน์ Kiso ซึ่งเป็นกล้องโทรทัศน์แบบ Schmidt ขนาดกระจกรวมแสง 1.05 เมตรที่หันกล้องมาเล็งรอไว้บริเวณเหนือสถานีเรดาห์สูง 100 กิโลเมตรจากพื้น
โดยกล้อง Kiso จะคอยบันทึกภาพไว้วินาทีละ 2 รูปตลอดเหตุการณ์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลอย่างละเอียดของดาวตกที่เกิดขึ้นเหนือบริเวณเฝ้าระวังด้วยสถานีเรดาห์นี้
ในปี 2009 2010 และปี 2018 ทีมนักวิจัยสามารถบันทึกข้อมูลจากเหตุการณ์ดาวตกเหนือสถานีเรดาห์ด้วยเทคนิคนี้ได้กว่า 228 เหตุการณ์
โดยข้อมูลที่ได้นั้นสามารถบันทึกภาพเหตุการณ์ดาวตกได้ตั้งแต่เริ่มลุกเป็นไฟจาง ๆ จนมอดไหม้หมดไป
ทีมนักวิจัยตั้งใจจะพัฒนาเทคนิคนี้เพื่อให้ในอนาคตเราสามารถที่จะตรวจจับและวิเคราะห์ได้ถึงส่วนประกอบของดาวตกแต่ละลูกที่ตกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกได้
ก็นับเป็นการรวมวิธีการตรวจจับและเฝ้าดูที่ดีทีเดียว ทำให้เราสามารถรวบรวมข้อมูลของเหตุการณ์บนฟากฟ้าได้อย่างละเอียดมากขึ้น เชื่อได้ว่าในอนาคตเราอาจพบข้อมูลอะไรดี ๆ ที่ยังไม่เคยรู้อีกก็เป็นได้
Source:
https://www.u-tokyo.ac.jp/focus/en/press/z0508_00143.html
http://www.rish.kyoto-u.ac.jp/organization_e/collaborative_research/mur/
https://interestingengineering.com/scientists-use-radars-to-observe-space-dust-in-novel-method
3 บันทึก
28
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สรรสาระ by Antfield
3
28
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย