Anne Wojcicki ชื่อนี้เราอาจจะไม่คุ้นหูเท่าไร แต่เรื่องราวของเธอมีเสน่ห์ให้ชวนติดตามทั้งการเป็นอดีตภรรยาของเซอร์เก ผู้ร่วมก่อตั้ง Google จนมาถึงการที่เธอก่อตั้งบริษัทรับตรวจ DNA จนขึ้นทำเนียบเศรษฐีหญิงที่สร้างความมั่งคั่งด้วยตัวเอง
Anne จัดได้เป็นคนวงในของ Silicon Valley สุดๆคนหนึ่ง เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ของเธอทำงานเป็นอาจารย์อยู่ใน Stanford University นอกจากนี่พรหมลิขิตยังทำให้เธอได้พบกับ เซอร์เก เบนในขณะที่เขาและเเลรี่หอบความฝันในการสร้างโปรแกรมที่จะทำการจัดเรียงข้อมูลต่างๆ มาเช่าโรงรถของพี่สาวเธอในการทำงานของพวกเค้า
ส่วนแอนนั้นหันมาจับธุรกิจทางด้านสุขภาพก็เกิดจากประสบการณ์การเป็นนักวิเคราะห์ใน Wall Street และพบความโหดร้ายของธุรกิจสุขภาพที่มุ่งแต่การสร้างผลกำไร และละเลยการส่งเสริมให้คนดูแลป้องกันสุขภาพ
ในปี 2005 หลังจากที่ได้มีโอกาสรู้จักหุ้นส่วนคนสำคัญของเธอ Linda Avey หลังจากนั้นพวกเธอก็ได้ก่อตั้ง 23andMe และได้วางขายชุดตรวจ DNA บุคคลครั้งแรกในปี 2007 ที่ราคา 999 เหรียญ
ภายในเวลาสี่ปีหลังจากนั้น 23andMe ก็มีลูกค้าเกิน 100,000 รายนอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีที่ในการทำ DNA sequencing พัฒนายิ่งขึ้นก็ทำให้ราคาชุดตรวจปัจจุบันอยู่ที่เพียง 99 เหรียญเท่านั้นเอง
มีสุภาษิตฝรั่งที่ว่า "lucky in game, but unlucky in love" ไม่มีใครได้ทั้งอย่าง แต่ก็ไม่ควรที่ใครเสียทั้งสองอย่าง?
ในช่วงปี 2013 เธอต้องเจอกับมรสุมครั้งใหญ่ทั้งเรื่องงานและเรื่องชีวิต เมื่อความรักของเธอกับ Brian ต้องจบลง พร้อมกับปัญหาทางข้อกฎหมายเดี่ยวกับชุดตรวจกับ FDA เมื่อถูกคำสั่งให้นำชุดตรวจของบริษัทออกจากการจัดจำหน่าย เนื่องด้วย FDA ตีความว่าเอกสารรายงานสุขภาพที่บริษัทวิเคราะห์จากข้อมูล DNA ไม่มีหลักฐานสนับสนุนมากพอ
สำหรับแอนและ 23andMe มันเป็น business model ที่น่าประทับใจที่เดียวเมื่อข้อมูลที่มีคนจ่ายเงินให้พวกเธอรวบรวมสามารถนำไปขายได้เงินเพิ่มขึ้นอีก (แต่เป็นเฉพาะชุดข้อมูลที่เจ้าของยินยอมให้นำไปใช้เพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้นนะครับ ซึ่งก็มีปริมาณเกือบ 10% แต่ก็นับได้ว่าเป็นฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากอยู่ดี)
Cr: Bloomberg
4) การตรวจ DNA กับงานอาชญากรรม
แม้การตรวจ DNA จะเป็นเรื่องราวที่คุ้นชินในปัจจุบันในการตรวจหาผู้กระทำผิด แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกการตรวจ DNA จะสามารถหาคนผิดได้เสมอถ้าผู้ต้องสงสัยไม่มีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลย่อมเป็นการยากที่จะเจอตัว
แต่สำหรับการไล่จับเหล่าอาชญากรฐานข้อมูลที่ว่าก็สามารถช่วยไขปริศนาคดีดังๆได้เช่นกัน อย่างกรณีฆาตรกรรมในเมือง California, USA หรือที่รู้จักในนาม Golden State Killer ทางตำรวจก็สามารถระบุตัวบุคคลจากการนำ DNA ที่เก็บได้ในที่เดิดเหตุ ไปตรวจแต่หลังจากพยายามสืบค้นในฐานข้อมูลของราชการกับไม่สามารถระยุตัวคนร้ายได้ ในที่สุดทางตำรวจจึงลองนำข้อมูลไปสืบค้นในฐานข้อมูลเอกชนที่ชื่อ GEDmatch ซึ่งใช้ในการสร้าง Family tree แล้วดันแจ็กพอตมีญาติของผู้ร้ายนำข้อมูลไปสืบค้นไว้ในระบบเหมือนกัน ทำให้การตีวงหาผู้กระทำผิดเกิดขึ้นได้
The complete costs of genome sequencing: a microcosting study in cancer and rare diseases from a single center in the United Kingdom, www.nature.com, 30 July 2019