Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สามก๊ก เซ็นโกคุ
•
ติดตาม
19 พ.ย. 2020 เวลา 07:08 • ประวัติศาสตร์
ตำแหน่งขุนนางทักท้วง ในรัชสมัยของพระเจ้าถังไท่จง ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีเรื่องการฟังเสียงคัดค้าน เสียงวิจารณ์ แม้จะเพียงหนึ่งเสียงก็ตาม
หลี่ซื่อหมิน หรือ พระเจ้าถังไท่จงมหาราช จัดว่าเป็นฮ่องเต้ผู้ได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์จีนและจากทั่วโลกว่าเป็นฮ่องเต้ที่มีความยอดเยี่ยมที่สุด ในประวัติศาสตร์จีน 4,000 ปี
ฮ่องเต้ถังไท่จง
สำหรับหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ถังไท่จงได้รับการยกย่องเช่นนั้น เพราะความที่เขาเป็นฮ่องเต้แทบจะไม่กี่องค์ของจีนในยุคศักดินาที่สามารถยอมรับฟังคำวิจารณ์ คำติติง คำเตือน ของเหล่าขุนนาง แถมในบางครั้งคนที่ติติงยังท้วงรุนแรงด้วย
แต่พระองค์กลับยอมปรับปรุงตัว โดยไม่ลงโทษคนที่ตักเตือนพระองค์ ทั้งที่จะทรงลงโทษคนเหล่านั้นก็ยังได้ แต่พระองค์กลับเห็นว่า เสียงวิจารณ์เหล่านั้นมีค่าประดุจทองคำ และเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง รวมถึงตัวพระองค์เอง
ดังนั้นในสมัยของถังไท่จง จึงมีการแต่งตั้งขุนนางในตำแหน่ง "ขุนนางทักท้วง" หน้าที่หลักของตำแหน่งนี้คือ เพื่อให้เป็นคนที่คอยทำการทักท้วงต่อการตัดสินใจของฮ่องเต้ แล้วยังครอบคลุมไปถึงการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ
ซึ่งผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ต้องมีความ กล้าหาญ คุณธรรม เที่ยงธรรม กล้าที่จะเปิดปากวิจารณ์ฮ่องเต้โดยไม่กลัวความตาย เพราะแม้ว่าถังไท่จงจะเป็นฮ่องเต้ที่ดีขนาดไหนก็ตาม แต่สำหรับการวิจารณ์บางเรื่องมากเกินไปก็อาจหัวหลุดจากบ่าได้
สำหรับผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ตลอดรัชสมัยก็คือ "เว่ยเจิง" ขุนนางฝีปากกล้าที่แทบจะเป็นคนเดียวในอาณาจักรที่กล้าวิจารณ์ถังไท่จงต่อหน้าพระที่นั่งในหลายเรื่อง
อนุสาวรีย์ เว่ยเจิง
เว่ยเจิง เคยกล่าวยอมรับกับคนใกล้ชิดว่า หากตนเกิดในแผ่นดินของฮ่องเต้อื่น เขาคงถูกสั่งประหารไปหลายรอบแล้ว ซึ่งการวิจารณ์บางเรื่องของเขาถึงขนาดทำให้ถังไท่จงโกรธจัดจนเดินออกไปแล้วคิดจะสั่งประหารด้วยซ้ำ แต่หลังจากมีสติ ใจเย็นลง แล้วใคร่ครวญนึกถึงคำเตือนของเว่ยเจิง พระองค์ก็เห็นด้วย แล้วทำตามนั้น
ที่น่าทึ่งคือ เว่ยเจิงรอดชีวิตมาได้ ทั้งที่ถังไท่จงเป็น "ฮ่องเต้นักรบ" เพราะเขาได้บัลลังก์มาครองด้วยการช่วยบิดาทำศึกรวบรวมแผ่นดิน ต่อมาก็ประหารพี่น้อง มีความเด็ดขาด แม้ทั้งชีวิตจะยึดหลักคุณธรรม กระทำการเพื่อส่วนรวม แต่หากเพื่อเป้าหมาย เขาก็กล้าทำเรื่องโหดเหี้ยมได้ อีกทั้งยังเป็นฮ่องเต้ที่มีความสามารถมากตั้งแต่อายุน้อย มีความเชื่อมั่นตัวเองสูง เรียกง่ายๆว่ามีอีโก้มากนั่นเอง ดังนั้นการที่จะคิดว่าสิ่งที่ตนเองกระทำคือเรื่องถูกต้อง ก็ไม่แปลก การวิจารณ์ทักท้วงกับบุคคลที่เก่งกล้าขนาดนี้แล้วเขาจะยอมรับฟังจึงเป็นโจทย์ยากมากของเว่ยเจิง แต่เขากลับทำได้
เว่ยเจิงมีคำทูลทักท้วงนับหลายร้อยครั้ง ตลอดรัชสมัย จนกระทั่งเขาจบชีวิตลงอย่างสงบ ถังไท่จงเศร้าอาลัยยิ่งนัก ตั้งแต่นั้นก็ไม่มีใครมาแทนที่ตำแหน่งนี้ได้อีก
สำหรับประเทศจีนในยุคนั้น มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า แม้จะมีคนทำของตกบนถนน ก็ไม่ต้องกลัวหาย สามารถไปหาคืนได้จากอำเภอ และประตูบ้านไม่จำเป็นต้องปิด เพราะปราศจากโจรผู้ร้าย
ภายหลังในสมัยถังจงจง นักปราชญ์อู๋จิง ซึ่งต้องการให้บ้านเมืองกลับมาปกครองได้ร่มเย็นเช่นนั้นอีก จึงได้รวบรวมหลักการปกครองในรัสมัยของถังไท่จง เรียกว่า "เจิ้งกวนเจิ่งเย่า" น่าเสียดายที่ไม่สำเร็จ เพราะไม่มีฮ่องเต้ของถังองค์ใดที่พร้อมรับฟังคำวิจารณ์แล้วปรับปรุงได้แบบถังไท่จงอีกเลย
2 บันทึก
3
4
2
3
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย