1 ธ.ค. 2020 เวลา 12:02 • ครอบครัว & เด็ก
นมแม่มีและคือชีวิต ตอนที่ ๑/๒
2
“ค่าน้ำนมแม่นี้ มีอะไรจะเหมือน” ภาพวาดโดย ส้ม
สมัยที่ดิฉันเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หมายถึงเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวร้อยเปอร์เซ็นต์
..น้าน นานสักครั้งหนึ่งจึงจำใจแทรกด้วยนมขวดด้วยเหตุผลจากงานยุ่งพิเศษ
จนไม่สามารถวิ่งไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงานได้..นั้นมีรายละเอียดที่ยังจำได้
จึงนำมาแบ่งปันกันค่ะ
🥰 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นความสุขที่อธิบายออกมาเป็นตัวหนังสือได้ยาก
และคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของคนเป็นแม่ ทั้งยังมีประโยชน์ต่อลูก
เป็นการต่อเติมสายใยระหว่างแม่และลูก ตามคำที่ว่า"แม่ลูกผูกพัน" ได้อย่างมาก
หาใดมาแทนได้จริง ๆ
 
แต่กระนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มีอุปสรรคและความยากอยู่บางประการ
1
.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*. .*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.
🌱#อุปสรรคและความยากของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่#
อุปสรรคที่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่มือใหม่หลายท่าน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่หนึ่งของการเกิดลูก คือเรื่องการนอนหลับพักผ่อนของคุณแม่มือใหม่
เรื่องที่กระทบชีวิตคุณแม่อย่างกระทันหันทันทีที่เราเป็นแม่ หลังจากได้ยินเสียงลูก
น้อยร้องไห้ครั้งแรกแห่งชีวิต
 
เมื่อสิ้นเสียงร้อง อุแว้ อุแว้..แม่ส่วนใหญ่มักเกิดอาการเพลียจากการคลอด
ดิฉันก็เช่นกัน เมื่อได้ยินเสียงร้องของลูกครั้งแรก ที่ไม่เหมือน..อุแว้ อุแว้ กลับกลาย
เป็น แอ้ แอ้ ..อย่างดังแล้ว ดิฉันก็หลับไปยาว น่าจะราวสองถึงสามชั่วโมง
นั่นเป็นการหลับเต็มอิ่ม..เพียงครั้งเดียวหลังจากมีลูก
เมื่อมีลูกน้อยกลอยใจแล้ว คำว่าหลับสนิท หลับลึก ค่อย ๆ ห่างหายไปจากชีวิตของดิฉัน
มั่นใจว่าแม่แทบทุกคนเป็นแบบนี้ คือเพียงลูกขยับตัวหรือกระดุกกระดิกหรือกระดึ๊บ ๆ
เกิดเสียงเบาแสนเบา สัญชาติญาณของแม่พาให้แม่ตื่นทันที
แม่มักตื่นตามอาการที่ลูกน้อยขยับ แม่ทุกคนน่าจะต้องรีบพลิกตัว หันมาหาลูกน้อย
หรือลุกมาดูแทบร้อยทั้งร้อยคุณแม่ค่ะ
ไอ้ที่จะผัดผ่อนว่า น่านะ ขอนอนต่ออีกนิดหนึ่ง..นั้นไม่มี
บางคุณแม่อาจกลับไปหลับต่อได้ ถ้าเป็นคนหลับง่าย..
แต่ดิฉันด้วยความเป็นแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อดไม่ได้ที่จะตื่นเพื่อมาป้อนนม..แถมให้เสียเลย เพื่อให้มั่นใจว่าลูกสบายดี
คุณลูกหรือหนูลูกของเรา จะตื่นอีกอีกกี่ครั้งกี่หน คราวนี้ขึ้นกับอุปนิสัยและลักษณะ
การดูดกินนมของลูกล่ะค่ะ
ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ลูกน้อยยังเล็กมาก ยังเป็นทารกที่เพิ่งออกจากท้องแม่ใหม่ ๆ
หนูลูกยังนอนหลับได้เป็นพัก ๆ การดูดนมแม่จึงดูดไม่มากนัก ที่จำได้คือ ในช่วงนี้
สัปดาห์แรกจนหนึ่งเดือนแรก ลูกน้อยดูดแป๊บ ๆ แล้วหลับ แล้วตื่นใหม่ นับแล้วเกิน
สิบครั้งในหนึ่งคืน
1
หนูลูกของเรา ดูดเป็นพัก ๆ และมักดูดเพียงเต้าเดียวเพียงห้าถึงเจ็ดนาทีเท่านั้น
หลังจากนั้นก็หลับตาพริ้ม อมยิ้มด้วย
อมยิ้มน้อย ๆ เพราะอิ่ม ดูมีความสุขอย่างง่ายแสนง่ายตามแบบของเค้า
❤️*เวลาที่ลูกอิ่มแล้วหลับตาพริ้ม เป็นภาพที่งดงามติดตรึงในดวงใจแม่..มิลืมเลือน
👶
1
เรื่องที่เข้ามากระทบชีวิตคุณแม่อย่างกระทันหันนอกจากเรื่องการนอนหลับของแม่
ยังมีอีกกระจุกกระจิก แต่ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะเพียงคิดถึงใบหน้าของหนูยามอิ่มแล้วหลับ..มีความสุขพอแล้วค่ะ
1
.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*. .*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.
🌿#การให้นมลูก ไม่เหมือนที่เขียนไว้ในตำรา#
การให้นมลูกที่เป็นทารกแรกเกิดนั้น
ไม่เหมือนที่เขียนไว้ในตำราเอาเสียเลย
เพราะการดูดนมแต่ละมื้อของเด็กแรกเกิดจะอิ่มเร็ว ตามขนาดและน้ำหนักตัวของเค้า
ลูกน้อยกลอยใจของเรา น้ำหนักแรกเกิดแค่ 2.8 กิโลกรัม แถมเป็นเด็กชอบนอนยาว ๆ หนูลูกของเราจึงดูดนมแป๊บ ๆ แล้วก็หลับ-ตื่น หลับ-ตื่น หลายครั้งหลายหน
ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน ซึ่งเมื่อพลิกตำรามาเทียบแล้ว มันไม่ใช่เลย
(จำได้ขึ้นใจว่า อ่านจากคู่มือการฝากครรภ์ของโรงพยาบาลพิมพ์ไว้ว่า
มื้อละสองชั่วโมง มันไม่จริงเลยสำหรับดิฉัน)
*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*. .*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.
🌱#หนูลูกคนเก่ง ปรับตัวและเรียนรู้ชีวิต ได้เร็วมาก#
จนล่วงเข้าต้นเดือนที่สองเท่านั้นเอง
ลูกก็ปรับตัวดูดได้เก่งขึ้น ดูดนานเกินสิบนาที
ตายังหลับพริ้ม และแถมรอยยิ้มให้รางวัลแก่แม่บ่อยขึ้น ๆ
1
เต้านมแม่ก็เร่งปรับตัวตามลูก เร่งผลิตและตุนน้ำนมไว้ได้มากขึ้น
คุณแม่อย่างดิฉันจึงไม่จำเป็นต้องใช้การปั๊มนมใด ๆ มาช่วย
👶ตรงนี้มีแทรกอุปสรรคขัดข้องนิดเดียว ตรงที่
หนูเป็นเด็กเลี้ยงง่าย นอนเก่งมาก
ชอบนอนมาก และหลับยาวมาก
ทำให้แม่มือใหม่ต้องเดินไปแตะตัว เอานิ้วไปไล้หน้าเบา ๆ ยอมรับว่าบางครั้งก็อด
กังวลไม่ได้ จนต้องคอยเอานิ้วอังที่รูจมูก เพราะหนูหลับยาวจริง ๆ
และเพราะลูกเป็นเด็กที่
เลี้ยงง่ายมาก ช อ บ น อ น ม า ก ก....
บางวันนอนอย่างเดียวสี่-ห้าชั่วโมงในวันอากาศดี
ต้องไปคอยแอบดูหลายต่อหลายครั้งว่า
🌸หนูหลับสบายอย่างนั้นเชียวหรือ !!!
กว่าจะผ่านหนึ่งและสองเดือนแรกจึงยุ่งอยู่กับเรื่องนี้
ความกังวลเกี่ยวกับการดูดนมบ่อยและการหลับยาวเกิน..ค่ะ
*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*. .*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.
🌿#การปั๊มนม#
แม่ไม่มีปัญหาเรื่องการสร้างน้ำนม แต่มีเทคนิคนะคะ
เป็นคำสอนที่ถ่ายทอดลงมารุ่นสู่รุ่น
 
คุณยายเป็นคนสอนให้แม่อย่างเราทำตามโดยเคร่งครัด
ดังนี้
หนึ่ง ห้ามดื่มน้ำเย็น ให้กินแต่น้ำร้อนเป็นหลัก
สอง กินแกงเลียงสูตรเรียกน้ำนม ซึ่งไม่อร่อยเท่าสูตรธรรมดา
เพราะมีแต่หัวปลีของกล้วยซอยเล็ก ๆ ต้มกับน้ำซุปแล้วใส่พริกไทยมาก ๆ
กินกันทีเป็นหม้อ ๆ เกือบทุกวันค่ะ
สาม หลีกเลี่ยงการนอนห้องแอร์หรือเครื่องปรับอากาศนั่นแล ตัวก็จะอุ่น ๆ สักหน่อย
เมื่อให้นมทีไร จำได้ว่า เหงื่อออกมาก เข้าข่ายเหงื่อแตกคล้ายตอนออกกำลังกาย
อย่างไรอย่างนั้น แล้วเราก็จะต้องจิบหรือดื่มแต่น้ำอุ่นที่ใกล้ ๆ ร้อน
สี่ ไม่กินอาหารที่ไม่ดีเช่นของหมักดอง
ห้า กินน้ำขิงร้อนร้อนบ่อย ๆ เรื่อย ๆ
หก นอนหลับพักผ่อนให้มากครั้ง บ่อย ๆ
..มีอีกนะคะ มากมายจดบันทึกได้ไม่หมด
👶👻❄️👶
อย่างที่บอกไว้ข้างบน หนูลูกเกิดปลายเดือนเจ็ด พอเดือนแปดและเก้าในปีนั้นจำได้
ว่าอากาศเย็นสบาย ลูกจึงนอนตลอด จึงมีบ้างบางครั้งที่เค้าตื่นมาดูดนมน้อย น้ำนม
จึงมาน้อย ต้องปั๊มน้ำนมช่วยป้องกันน้ำนมหยุดไหล
การปั๊มนมในบางคนดูไม่เป็นปัญหา
แต่สำหรับเราทำไมมันจึงเจ็บมาก
คงทำไม่ค่อยถูกวิธี จึงเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบเอาซะเลย
.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*. .*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.*.
🌱#นมเสริม#
ตั้งใจว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
แต่ในที่สุด งานก็มา เป็นงานสำคัญซะด้วย
เอาล่ะสิ ลูกจ๋า เงินทองก็เป็นสิ่งสำคัญให้แม่ไปทำงานด้วยนะ
หนูลูกจึงจำต้องพึ่งนมกระป๋องชนิดผงเป็นมื้อเสริมหนึ่งถึงสองมื้อ
ในตอนกลางวัน ก็ตอนนี้แหละ
ซึ่งนั่นคือ..เข้าเดือนที่หกแล้วละมัง
*
เพราะแม่มั่นใจว่าลูกแยกวิธีออกแล้วว่าการดูดนมแม่และนมขวดนั้นต่างกัน
ใช้ทักษะไม่เหมือนกัน จึงเริ่มแทรกมื้อกลางวันด้วยนมขวด
🌿#ลูกไม่ชอบการดูดนมจากขวดเลย#
ตอนแรกไม่ยอมดูดเลย แถมนมก็ไหลเองมาเปื้อนแก้มลูก และเค้าไม่ยอมดูด
ตรงนี้ดูแล้วสงสาร และห่วงกลัวจะเกิดอันตรายจากการสำลักนมขวด
อยู่เหมือนกัน
แรก ๆ แม่ต้องเห่กล่อม พูดกับเขาด้วยความรักว่า
"จำเป็นนะลูกรัก แม่ต้องไปทำงาน(หาเงิน)"
🥰*ลองพูดกับเค้าด้วยความรัก นุ่มนวล โอบกอด ลูกถึงจะยอมรับนมขวดแต่
โดยดี บางวันของช่วงแรกนั้นพี่เลี้ยงต้องโทรไปบอกแม่ว่า
ลูกยังนอนรอเพื่อจะกินนมจากอกแม่ พาให้แม่สงสาร และว้าวุ่น...เลิกทำงาน
หรือหยุดงานจะดีกว่ามั้ย
ในที่สุดหลังเปิดการเจรจากับหนูลูกได้ผล แม่จึงทำงานต่อ แต่ก็ให้หนึ่งหรือสองมื้อ
เท่านั้นค่ะ สำหรับมื้อสิบนาฬิกาและบ่ายแก่ ๆ
นอกนั้นคือ สี่โมงเย็น มื้อค่ำและมื้อนกฮูก คือตีสองบ้าง ตีสี่บ้าง จนเช้าหกโมงก็ยัง
เป็นนมแม่อยู่
**************
จึงเล่าประสบการณ์นี้ไว้ เผื่อใครที่คิดจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่(แทบจะอย่างเดียว)
ผ่านมาพบมาอ่าน แล้วเกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ
🌿#ข้อดีของการเลี้ยงลูกนมแม่คือประหยัดและดีต่อสุขภาพ
ทั้งแม่และลูก#
ถ้าวางแผนว่าจะเลี้ยงนมแม่
ไม่ต้องซื้อขวดนมเลย
*จนกว่าเขาโตพอจะดูด โดยวิธีที่แตกต่างกัน และนมแม่มาคงที่แล้ว จึงเสริมด้วยนมขวด ถ้าคุณแม่มีความจำเป็นต้องห่างจากลูกบ้าง
*ต้องหรือ ไม่ควรหัดให้กินนมชงสลับนะคะ (ถ้าไม่จำเป็น)
กลไกการดูดน้ำนมจากขวดและอกแม่ไม่เหมือนกันค่ะ
เด็กสับสนและเคยมีกรณีสำลักค่ะ
*นมขวดดูดง่ายกว่าเยอะ นมจากอกแม่จะแพ้ตั้งแต่ยกแรก
และนี่คือปัญหาภาคปฎิบัติของคุณแม่มือใหม่ค่ะ
นมขวดไหลด้วยแรงโน้มถ่วง บวกแรงดูดของเด็ก จึงดูดง่ายกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นมแม่ ลูกต้องดูดด้วยการใช้ลิ้นของลูกเองรีด หรือกระตุ้นท่อน้ำนมเพื่อให้ท่อน้ำนม
ของแม่ถูกกลไกทางฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน(และฮอร์โมนอะไรอีกหลายต่อหลายอย่างกำกับค่ะ)
ข้อดีของฮอร์โมนอ็อกซิโตซินมีหลายข้อ ข้อที่สำคัญในช่วงการเลี้ยงลูกนมแม่คือ
ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว และก่อให้เกิดกลไกอีกหลายทอดทำให้เกิดการเพิ่มระดับ
ของฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งช่วยระงับการตกไข่ของคนเป็นแม่ ทำให้ไม่เกิดการ
ปฏิสนธิซ้อนขึ้นมาในช่วงเวลาบริบาลลูกเล็ก และยังช่วยเพิ่มการสร้างน้ำนมจาก
อกแม่ค่ะ
ฮอร์โมนสำคัญเหล่านี้จะช่วยกระตุ้น และร่วมกันทำงานกับฮอร์โมนตัวอื่น ๆ กระตุ้น
ท่อน้ำนมให้สร้าง เก็บกักน้ำนม และ(ขอใช้คำว่า)ผลักดันให้มีการหดตัวของท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมแม่ พุ่งออกมาค่ะ
บางคนดูดข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งก็พุ่งด้วย
พุ่ง ค่ะใช้คำนี้ เพราะเคยเห็นกับตาว่า พุ่งออกมาเหมือนฝักบัวที่เราอาบน้ำเชียวค่ะ
บางคนไม่ถึงกับพุ่ง แค่ซึมและผุดออกมาเรื่อย ๆ คาดว่าขึ้นกับแรงดูดของลูกเราด้วย
แต่จะแบบไหนก็ตามแต่ น้ำนมของแม่แต่ละคนปรับตัวและยืดหยุ่นตามการดูด
ของลูกและตามปริมาณที่ลูกของเราต้องการค่ะ
เห็นความมหัศจรรย์ของร่างกายและกลไกตามธรรมชาติของมนุษย์หรือยังคะ
โดยเฉพาะ มนุษย์ผู้เป็น แม่
🌱#น้ำนมสั่งได้ทางไกล..โทรจิต#
ตามที่บรรยายไว้ข้างบนว่า ในเดือนแรก ๆ นั้นน้ำนมอาจมีการสร้างแต่น้อย
ลูกจึงอาจตื่นทุกสองชั่วโมงเพราะหิวแล้ว
หรือจากการดูดได้น้อยเพราะนมแม่สร้างมาน้อย พอเหมาะพอสมกับลูกของเรา
อันนี้โดยประสบการณ์ส่วนตัวคิดว่า เป็นคำสั่งการของการผลิตที่สุดยอด คือสั่งผลิตตามความต้องการ work on demand อย่างสมบูรณ์แท้จริง
และเหมือนมีสายใยผูกพันหรือสิ่งผูกพันอันเหนียวแน่น...เพราะเพียง"แม่"ได้ยิน
แค่เสียง"แอ๊ะ"เล็ก ๆ ค่อย ๆ ของลูก ขบวนการผลิตและขนส่งน้ำนม
ของท่อน้ำนมในอกเเม่จะเริ่มทำงานอย่างทันทีทันควันค่ะ
อกแม่จะมีอาการเจ็บนิด ๆ เจ็บเหมือนมีน้ำพุ่งจี๊ด ๆ มีความรู้สึกซ่า ๆ เหมือนตาน้ำ
กำลังจะผุด หรือคงเหมือน ฝักบัว(น้ำนม)ที่แม่กำลังจะเปิด
เมื่อเวลานานเนิ่นไปอีกสักพัก เพียงถึงเวลาที่เราเคยนัดกัน หรือ เราพะวง
คิดขึ้นมาว่า "เอ ลูกเราหิวนมแล้วยังหนอ"
ขบวนการที่ว่าก็มีมาเช่นกัน...
เพราะฉะนั้น แม่ที่เครียดเกินไปกับการเลี้ยงลูกนมแม่ ก็จะมีอิทธิพลหักล้างตรงข้าม จากฮอร์โมนแห่งความเครียด ค่ะ
🌈❄️🌸🥰🌈
โปรดติดตามตอนต่อไป
#ประโยชน์ของน้ำนม(ต่อ)
และ
#ความมีชีวิตอยู่ในน้ำนมแม่
ขอบคุณค่ะ
🥰ส้มเอง👶
คำสำคัญ keywords
#เอาลูกมาหากิน
#น้ำนม
#หนูลูก
#เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
#กลไกการสร้างนมแม่ lactation
#นมแม่และความผูกพัน Breastfeeding and attachment
#ฮอร์โมน hormone
#อ็อกซิโตซิน oxytocin
#โปรแลคติน prolactin
*อ้างอิง
- Breastfeeding: positioning and attachment
- Breastfeeding as a Contraceptive Method (Lactational Amenorrhoea Method)
- The physiological basis of breastfeeding, SESSION 2
โฆษณา