19 พ.ย. 2020 เวลา 12:18 • การศึกษา
“รู้หรือไม่ว่ามูลค่าเงินในกระเป๋าคุณลดลงเรื่อย ๆ!!!”
เคยสงสัยกันไหมครับว่า ข้าวขาหมูที่คุณเคยซื้อสมัยก่อนจานละ 20-30 บาท บาท แต่ทำไมสมัยนี้จานละเกือบร้อย!!! หรือหากสมัยก่อนคุณทวดฝังเงินไว้ 1,000 บาท (ซึ่งก็มากโขในสมัยนั้น) แล้วเขียนพินัยกรรมไว้ให้เหลนว่า “ทวดได้ฝังสมบัติไว้หลังบ้าน ไปขุดได้เลยเจ้าเหลนที่รัก” 100 ปีผ่านไปเหลนไปขุดแล้วพบว่าสมบัตินั้นซื้อข้าวขาหมูได้ 10 จานเท่านั้น เหลนคงร้องกรี๊ดดบ้านแตก
นั่นเพราะมูลค่าของเงินมันลดลงไงล่ะ แล้วทำไมมูลค่าของเงินมันถึงลดลง? กรี๊ดดดด (เสียงกรีดร้องของเหลนที่รักลอยมา)
หากจะยกตัวอย่าง ยังจำบทความก่อนหน้าเรื่องไก่แลกดอกไม้ได้ไหมครับ (ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็เลื่อนลงไปอ่านกันได้นะครับในเรื่อง Paradigm of Exchange) หากเหตุการณ์หลังจากนั้นคือ เมืองทั้งหมดใช้ค่าเงินบาทในการแลกเปลี่ยนสินค้ากันแล้วนะครับ
เหตุการณ์คือ เมือง A และ B ตกลงว่าจะขายไก่ในราคาตัวละ 10 บาท เท่ากัน แต่ไก่ในเมือง B ดันหมดเล้า ทำให้เมือง A ฉวยโอกาสขายไก่ในราคา 20 บาท นั่นทำให้มูลค่าของไก่เพิ่มขึ้นไปโดยปริยาย และคนเมือง B ก็ต้องมาซื้อไก่ที่เมือง A ในราคา 20 บาทเช่นกัน ใครหวังว่าจะเอาเงิน 10 บาทไปแลกไก่เหมือนแต่ก่อนก็ฝันไปเถอะ 555
แต่หากวันนึงเมือง B เริ่มมีไก่กลับมาขายแล้ว และเห็นว่าเมือง A ขายไก่ในราคา 20 บาทก็ได้นี่หว่า งั้นเรามาขายไก่ตัดราคาที่ 15 บาทกันเถอะ คนเมือง A จะได้มาซื้อไก่ที่เมืองเราบ้าง (แค้นเว้ยยยย) ผ่านไปสักพักเมือง A ก็ต้องลดราคาไก่ลงมาที่ 15 บาททันที
นี่ไงครับราคากลางไก่แพงขึ้นมาซะอย่างงั้น ทำให้ราคาไก่ถูกที่สุดตอนนี้คือ 15 บาทไปโดยปริยาย และวันดีคืนดีจะมีเมืองไหนลดราคาไก่ลงมา อีกเมืองนึงก็ต้องลดตามไปด้วย แต่อย่างว่าแหละครับพ่อค้าไม่มีทางทำให้ตัวเองเสียเปรียบ การลดราคาจะลดลงน้อยกว่าราคาที่ตัวเองฉวยโอกาสขึ้นเสมอ (นอกจากไก่ตัวนั้นใกล้จะตาย ผมจะพูดเรื่องนี้ในหัวข้อการบริหารความเสี่ยงละกันนะครับ ถ้าไม่ลืมเรื่องไก่นี้เสียก่อน 😊 )
นี่แหละครับคือกลไกพื้นฐานของมูลค่าเงินที่แปรผันไปตามของความต้องการสินค้า ทรัพยากร และเวลา เสมอ หรือ Law of Demand & Supply นั่นเอง
หากคิดว่าบทความนี้ดีหรือมีประโยชน์ช่วยกดไลค์และกดแชร์ให้เราเพื่อเป็นกำลังใจให้เราด้วยนะครับ
ท่านสามารถอ่านบทความและความรู้ต่างๆของเราเพิ่มเติมได้ที่
#6paradigms #ไม่หวือหวาแต่อยู่รอด
โฆษณา