19 พ.ย. 2020 เวลา 15:56 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทางเลือกที่จำกัดของว่าที่ประธานาธิบดีในการกอบกู้เศรษฐกิจสหรัฐ
ในสมัยของประธานาธิบดีโอบามา ผลงานทางเศรษฐกิจของโอบามาถูกปกคลุมไปด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากวิกฤตการทางการเงินในช่วงนั้น และการที่รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะลดภาระทางการคลังเร็วเกินไปจนบทบาทหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจตกอยู่กับธนาคารกลางสหรัฐ
ที่มา Economist
ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ Joe Biden รู้ถึงข้อจำกัดในการบริหารเศรษฐกิจในสมัยโอบามาเป็นอย่างดี โดยก่อนการเลือกตั้งดูเหมือน Biden จะให้ความสำคัญกับการใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นจากโควิด อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์ทางการเมืองอาจไม่เอื้อให้ทำได้ง่าย เนื่องจากพรรคโดเมแครตจะต้องได้ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังรอดูว่าพรรคไหนจะได้เสียงข้างมากไป หากเดโมแครตไม่ได้เสียงข้างมาก ปัญหาเดิมๆ ก็จะกลับมาความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองสองพรรคทำให้การออกนโยบายการคลังมากระตุ้นเศรษฐกิจอาจเป็นเรื่องยากยิ่ง
ในส่วนของธนาคารกลางสหรัฐมีเครื่องมือจำกัดใจการกระตุ้นเศรษฐกิจเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่ต่ำสุดแล้ว และไม่มีใครกล้าจะใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบด้วยอาจส่งผลต่อเสถียภาพของระบบธนาคารทั้งระบบ หลายๆ ธนาคารกลางทั่วโลกพยายามหาเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ไม่ใช่พันธบัตรรัฐบาล
ธนาคารกลางสหรัฐเผชิญข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ การตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ไม่เกินร้อยละ 2 ส่งผลทำให้เกิดข้อจำกัดทางนโยบาย ทำให้ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐพยายามใช้แนวทางใหม่โดยแทนที่จะกำหนดอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย (inflation targeting) หันมาใช้อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยเป้าหมาย (average inflation targeting ) แทน เพื่อให้ธนาคารกลางมีความคล่องตัวในการดำเนินนโยบายมากขึ้น ไม่ต้องหันมาพลิกนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำโดยต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มจะเกินร้อยละ 2 เพื่อชะลอเศรษฐกิจ การหันมาใช้ average inflation targeting ทำให้ธนาคารกลางยังพอจะมีช่องว่างปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเกินว่าร้อยละ 2 ในบางช่วงโดยไม่ต้องหันมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
นักวิเคราะห์หลายฝ่ายวิพากษ์ว่าการทำแบบนี้ดูเหมือนจะเป็นการฉวยโอกาสเนื่องจากธนาคารกลางไม่คิดเครื่องมือใหม่ๆ ออกมา แต่มุ่งที่จะรอให้ใครฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจขึ้นมา แล้วจึงค่อยเข้ามามีบทบาทในการประคองและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐเองก็ส่งสัญญาณออกมาชัดเจนว่าเขาก็ฝากความหวังไว้กับนโยบายการคลังที่จะมาช่วงกระตุ้นเศรษฐกิจ
ด้วยข้อจำกัดต่างๆ อาจทำให้ไบเดนไม่มีทางเลือกมากนักในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจสหรัฐโดยอาจต้องหันมาพี่งธนาคารกลางสหรัฐเป็นหลักเนื่องจาก การผลักดันผ่านนโยบายการคลังอาจไม่ง่ายอย่างที่คิดหากเดโมแครตไม่ได้ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา
เรียบเรียงจาก นิตยสาร Economist ฉบับ พฤศจิกายน 2563
โฆษณา