การพัฒนาควายไทยในยุคสมัย
กระบือ หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าควาย ในยุคนี้ไม่ได้เป็นสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อไว้ไถนาเช่นในอดีต ปัจจุบันการเลี้ยงได้พัฒนาเพื่อให้มีความหลากหลาย โดยมุ่งเน้นการทำตลาดได้ง่ายกว่าเดิม หรือเกษตรกรบางรายเลี้ยงเป็นการอนุรักษ์สายพันธุ์ และจะเห็นชื่อพ่อพันธุ์ตัวดังๆ และลักษณะการให้ลูกของพ่อพันธุ์แต่ละตัวที่มีการถ่ายทอดลักษณะเด่นไปยังลูก จึงเกิดการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ อย่างคึกคักจากภาคส่วนผู้เลี้ยงแทบทุกภาคของแระเทศไทย
กระบือ/ควายไทยในยุคใหม่นี้มีรูปทรงและส่วนต่างๆ ของโครงสร้างตัวที่ใหญ่ขึ้น มีความสง่างาม ส่งเข้าประกวดเป็นกระบืองามตามงานต่างๆ ได้ ผู้เลี้ยงหลายรายได้พัฒนาการเลี้ยงควายเป็นการเลี้ยงเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น. ควายหนึ่งตัวน้ำหนักตัว1 ตัน หรือ1000กก หากมีการจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ100บาทกระบือ1ตัวจึงมีมูลค่า1แสนบาท เป็นภาพรวมของการคิดประมาณคร่าวๆ แต่หากจะมองถึงลักษณะสายพันธุ์ความสวยงามตามตำราแล้วก็น่าจะเพิ่มขึ้นจากการประมาณคร่าวๆ นี้
หลักในการสร้างสายพันธุ์ควายพันธุ์ดี
❤️1• น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ดีผสมกับแม่พันธุ์ในฟาร์มเป็นหลัก
ใช้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีอายุ 27 เดือนขึ้นไป มาผสมพันธุ์เข้าด้วยกันโดยดูลักษณะเด่นของพ่อแม่พันธุ์ว่ามีอะไรบ้าง ก็จะจับคู่มาผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดี
❤️❤️2.ใช้อาหารที่เหมาะสม
“อาหารที่ใช้เลี้ยง หลักๆ ก็จะเป็นหญ้าและอาหารข้นต่างๆ ให้กินฟาง เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องอืดจากการกินหญ้าสด
❤️❤️❤️3. การจัดการสุขภาพควาย ลูกกระบือเมื่อคลอดออกมา 2-3 วันแรก จะฉีดธาตุเหล็กทันที พอเลี้ยงได้อายุ 1 เดือน จะถ่ายพยาธิให้กับลูกกระบือ ทำการฉีดวัคซีนปากเท้าเปื่อยครั้แรกเมื่ออายุ6เดือน และทุก6เดือน. โรคคอบวมปีละ1ครั้ง
พ่อพันธุกระบือดังๆในปัจจุบันรูปร่างและการให้ลูกจึงสวยมากและการเลี้ยงควายในประเทศไทยที่เลี้ยงเพื่อเศรษฐกิจจึงพัฒนาและส่งผลดีในเชิงอนุรักษ์ด้วย