21 พ.ย. 2020 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
“ยูโรเปี้ยนฟู้ด” บริษัทขนมยอดขาย 4,000 ล้าน เจ้าของ ปีโป้ และ ยูโร่เค้ก
บริษัท ยูโรเปี้ยนฟู้ด จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายขนมรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ซึ่งบริษัทเป็นเจ้าของแบรนด์ขนมชื่อดังมากมาย ที่เราเกือบทุกคนต้องเคยลองทานมาตั้งแต่เด็กๆ
1
และทุกแบรนด์จะมี สัญลักษณ์โลโก้สีแดง “EURO” ติดอยู่บนแพ็กเกจจิงของขนม ไม่ว่าจะเป็น
เยลลี่ ตรา ปีโป้
ขนมเค้ก ตรา ยูโร่เค้ก
เวเฟอร์ ตรา ปักกิ่ง
ขนมพายสอดไส้ครีม ตรา ยูโร่ ช็อกโกพาย
เค้กสอดไส้ครีม ตรา เอลเซ่
เวเฟอร์สอดไส้ครีม ตรา กัสเซ็น, ครีโก้ และโอโจ้
มาร์ชเมลโล่ ตรา ไมล์ดี้
ลูกอม ตรา ฮิตโต้
หมากฝรั่ง ตรา บิ๊กบลูม
2
บริษัท ยูโรเปี้ยนฟู้ด จำกัด (มหาชน)
ปี 2561 มีรายได้ 4,184 ล้านบาท กำไร 959 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 3,999 ล้านบาท กำไร 879 ล้านบาท
5
รู้หรือไม่ว่า อาณาจักรขนมในตำนานนี้ ที่ผลิตขนมให้กับคนทั้งประเทศได้ลิ้มลองกัน
ก่อตั้งโดย คุณสมชาย เวชากร ซึ่งขณะเริ่มธุรกิจนั้น เขายังเป็นนักษาศึกษาชั้นปีที่ 4..
8
เรื่องมีอยู่ว่า
ในตอนนั้น คุณสมชาย มองว่าประเทศไทยยังมีช่องว่างทางธุรกิจอีกเยอะ หากเทียบกับในต่างประเทศ
เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ทำธุรกิจในรูปแบบอุตสาหกรรมครอบครัว หรือ แฮนด์เมด
และยังไม่ค่อยมีธุรกิจระดับประเทศ ที่ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีแบบจริงจัง
ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจในยุคนั้นยังน้อยอยู่
และเป็นโอกาสที่ดี เพราะหากใครเริ่มก่อน ก็จะได้เปรียบ
1
คุณสมชาย จึงมีความคิดอยากทำธุรกิจอะไรสักอย่าง ที่สามารถใช้เครื่องจักรผลิตได้เยอะๆ
ซึ่งธุรกิจขนม เป็นตัวเลือกแรกๆ ของเขา เพราะเป็นของกิน สามารถขายได้ง่าย
ในปี พ.ศ. 2527 คุณสมชาย ตัดสินใจก่อตั้งบริษัท ยูโรเปี้ยนฟู้ด
และตั้งโรงงานแห่งแรกขึ้นที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ บนที่ดิน 5 ไร่
1
ก่อนจะขยายโรงงานไปที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี บนที่ดิน 434 ไร่ ในปี พ.ศ. 2538
3
ทั้งนี้ ขนมแบรนด์แรก ที่บริษัทผลิตขายคือ “ปักกิ่ง”
แบรนด์ต่อมาคือ “ปีโป้” และ “ยูโร่เค้ก” ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ แต่ละแบรนด์จะมี Story หรือ ที่มาที่ไป
อย่างเช่น เยลลี่ปีโป้ เกิดจากการมองเห็น Pain Point ในสมัยก่อน
ที่ยังไม่ค่อยมีเยลลี่สำเร็จรูปขาย หากอยากทาน ก็ต้องลำบากทำเอง
ทั้งไปซื้อผงเยลลี่ ต้มน้ำร้อน เทใส่ภาชนะ แล้วใส่ตู้เย็น
บริษัทจึงเกิดไอเดียอยากนำเสนอเยลลี่ ที่อำนวยความสะดวกและตอบโจทย์ผู้บริโภค
ทั้งหาซื้อทานได้ทันที พกพาสะดวก จะแช่เย็น หรือไม่แช่เย็น ก็ทานได้
อีกตัวอย่างคือ ยูโร่เค้ก
ตอนนั้นช่วงปี พ.ศ. 2533 - 2535 ประเทศไทยกำลังเริ่มประสบปัญหา รถติดทั่วเมือง
ทำให้แต่ละคนต้องใช้เวลาเดินทางเป็นวันๆ
1
ซึ่งบริษัทก็เล็งเห็น Pain Point และโอกาสทางธุรกิจอีกว่า
ในขณะที่ผู้คนกำลังนั่งรออยู่ในรถเป็นเวลานานๆ พวกเขาอาจรู้สึกหิวขึ้นมา..
2
จึงคิดว่าควรออก “ของว่าง” อะไรสักอย่าง
ที่พกพาสะดวก และสามารถทำให้คนอิ่มท้องได้ขณะอยู่บนท้องถนน หรือที่ไหนก็ตาม
หิวเมื่อไร ก็สามารถหยิบมาทานได้ตลอดเวลา
5
และนั่นเลยเป็นที่มาของ ยูโร่เค้ก..
นอกจากเรื่อง Story ของแบรนด์ต่างๆ แล้ว
กลยุทธ์การตลาดที่บริษัทเลือกใช้ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน
นั่นคือ Music Marketing
1
สินค้าและแบรนด์หลายๆ ตัวของบริษัทจะมี “เพลงโฆษณา” ประจำตัว
เพื่อสร้างความสนใจ, การรับรู้, การจดจำ แก่ผู้บริโภค
และทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกอยากลองซื้อมาทาน
รวมถึงแสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์ และคุณสมบัติสินค้า
ผ่านเสียงเพลงในโฆษณา
อาทิ เพลงโฆษณาของ ปักกิ่ง
“ปักกิ่ง ขนมหวานกรอบ ชอบจริงๆ ดูเจ้ารามซิง ก็ยังชอบกินปักกิ่ง”
“คึกคัก คึกคัก กับปักกิ่ง หวานหวาน มันส์มันส์ อารมณ์เดียวกัน กินได้ทุกวัน หวานมันส์เหลือเฟือ เอ่าเชื่อมั้ย ปักกิ่ง!”
1
เพลงโฆษณาของ ปีโป้
“ปีปีโป้ ปะปะปีปีโป้ ขนมเยลลี่ ปีโป้ เพื่อนแท้ทุกอารมณ์”
1
เพลงโฆษณาของ ยูโร่เค้ก
"ไม่ว่าเวลาไหน สะดวกอร่อยได้ทุกที่ ไม่ว่าเวลาไหน ก็อิ่มอร่อยทุกเวลา ยูโร่
คุณจะทำอะไรจะไปที่ไหน พกยูโร่ไว้ คุณจะทำอะไรจะไปที่ไหน พกยูโร่ไว้..”
เห็นได้ว่า เพลงโฆษณาติดหูเหล่านี้
จะช่วยทำให้เราจดจำทำนองเพลง และชื่อแบรนด์ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานสักแค่ไหน
แม้เราจะเคยฟังตอนวัยเด็ก แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ยังคงจดจำมันได้อยู่..
4
นอกจากนี้ ยิ่งเพลงโฆษณาติดหูมากเท่าไร
ผู้คนก็มีแนวโน้มนำไปร้องต่อ หรือพูดคุยกับเพื่อนๆ คนรู้จัก
ทำให้เพลงโฆษณา และแบรนด์ กลายเป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้างมากขึ้นไปอีก
แล้วหาก ยูโรเปี้ยนฟู้ด เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น
บริษัทจะมีมูลค่าเท่าไร ?
ลองเทียบง่ายๆ กับบริษัทผลิตขนม ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น
บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์ ทาโร และขนมอื่นๆ
มีอัตรามูลค่าบริษัท ต่อ กำไร (P/E) ที่ 12.4 เท่า
บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์ เถ้าแก่น้อย
มีอัตรามูลค่าบริษัท ต่อ กำไร (P/E) ที่ 39.1 เท่า
1
ดังนั้น ยูโรเปี้ยนฟู้ด ที่มีกำไรในปีล่าสุดอยู่ 879 ล้านบาท
จะประเมินมูลค่าบริษัทได้ราว 10,900 - 34,400 ล้านบาท
สรุปแล้ว ยูโรเปี้ยนฟู้ด เป็นบริษัทขนม ที่มีมูลค่าบริษัทหลักหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว..
ที่น่าสนใจคือ ยังมีอีกบริษัทขนม ที่มีชื่อบริษัทคล้ายกัน
คือ บริษัท ยูโรเปี้ยน สแนค ฟู้ด จำกัด
โดยบริษัทเป็นเจ้าของแบรนด์
ข้าวโพดอบกรอบ ตรา ทวิสโก้
ขนมข้าวหอมมะลิอบกรอบปรุงรสสอดไส้ ตรา คัทโตะ
อาหารเช้าซีเรียล ตราคอปป
ขนมซีเรียลสอดใส้ ตรา ซีมอน
สาหร่ายทะเล ตรา ตี๋เล็ก
บริษัท ยูโรเปี้ยน สแนค ฟู้ด จำกัด
ปี 2561 มีรายได้ 1,029 ล้านบาท กำไร 218 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 1,031 ล้านบาท กำไร 216 ล้านบาท
แล้ว “ยูโรเปี้ยนฟู้ด” กับ “ยูโรเปี้ยน สแนค ฟู้ด”
มีความเกี่ยวข้องกัน หรือ เพียงแค่ชื่อบริษัทบังเอิญคล้ายกัน ?
จริงๆ แล้ว ยูโรเปี้ยน สแนค ฟู้ด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534
โดยคนของตระกูลเวชากร หรือครอบครัวของคุณสมชาย ผู้ก่อตั้ง ยูโรเปี้ยนฟู้ด นั่นเอง
3
โฆษณา