21 พ.ย. 2020 เวลา 14:35 • ปรัชญา
F*** You Money บทหนึ่งจากหนังสือ The Art of the Good Life by Rolf Dobelli
หลายคนพยายามอย่างมากที่จะหาเงินให้ได้เยอะๆ โดยคิดว่า การมีเงินเยอะจะทำให้มีความสุข แต่... มันมี concept ที่เรียกว่า "Diminishing marginal utility" ซึ่งใช้ได้กับทุกสิ่งรวมถึงเงินด้วย
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณมีเงิน 10 บาท แล้วมีคนให้คุณ 100 บาทความสุขที่คุณได้คงเยอะกว่า ในกรณีที่คุณมีเงิน 1 ล้านบาท แล้วมีคนให้คุณ 100 บาท ทั้งๆ ที่ก็เป็น 100 บาทเท่าๆ กัน
แล้วอย่างนี้ทำไมคนส่วนใหญ่ยังพยายามวิ่งหาเงินอยู่ละ คำตอบคือ เพราะเงินนั้นมัน relative ไม่ absolute
คนเรามักชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น.. หรือแม้กระทั่งกับตัวเอง เช่น
กรณีที่ 1 เมื่อเริ่มทำงานปีแรก คุณได้รับเงินเดือน 10000 บาท แล้วปีต่อมาคุณได้รับเงินเดือน 15000 บาท
กับอีกกรณี เมื่อเริ่มทำงานปีแรก คุณได้รับเงินเดือน 15000 บาท แล้วปีต่อมาคุณได้รับเงินเดือน 12000 บาท
คนส่วนใหญ่คงรู้สึกดีกว่ากับกรณีแรก ทั้งๆ ที่กรณีที่ 2 นั้น โดยรวมคุณได้รับเงินมากกว่า
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ "The Easterlin Paradox" ผลการศึกษาที่บอกว่า ความสุขนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนเงินที่คุณมีเพิ่มมากขึ้น หรืออีกแง่ก็คือ การที่คุณมีเงินมากพอสำหรับปัจจัย 4 และการบริหารความเสี่ยงอื่นๆ เช่น เรื่องของประกันต่างๆ จำนวนขึ้นที่เพิ่มมากกว่านั้น ไม่ได้สร้างความสุขให้คุณสักเท่าไหร่
เมื่อรู้แบบนี้แล้วเราควรทำอย่างไรดีละ?
1. พยายามหาเงินให้มากพอสำหรับปัจจัย 4 และการบริหารความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งถ้ามีมากพอในระดับนี้แล้ว เราควรเอาเวลาไปโฟกัสกับเรื่องอื่นๆ แทน
2. เลิกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ
3. ถ้าหากคุณมีเงินมากพอแล้ว สิ่งที่ควรทำคือ ใช้ชีวิตแบบสมถะดีกว่า
โฆษณา