24 พ.ย. 2020 เวลา 12:32 • ประวัติศาสตร์
• ทำไมขนม "ปลากริม" ต้องคู่กับขนม "ไข่เต่า"?
เชื่อเหลือเกินว่า หลาย ๆ คน น่าจะเคยลิ้มลองรสชาติของขนมปลากริมไข่เต่า หนึ่งในขนมหวานไทยอันแสนอร่อย กันอย่างแน่นอน
แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่า ทำไมขนมปลากริมถึงต้องคู่กับขนมไข่เต่าด้วย ดังนั้นในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงเรื่องราวนี้กันครับ
สำหรับขนมปลากริมไข่เต่านั้น เกิดจากการรวมกันของขนม 2 ชนิด ซึ่งก็คือ ขนมปลากริมกับขนมไข่เต่า
โดยขนมปลากริม จะมีลักษณะเป็นแป้งปั้นยาว ที่เคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บและน้ำอ้อย เพื่อให้ได้รสชาติหวาน
ในขณะที่ขนมไข่เต่า จะมีลักษณะเป็นแป้งปั้นกลม ที่ถูกต้มกับน้ำกะทิและเติมเกลือ เพื่อให้ได้รสชาติที่เค็ม
ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมขนมทั้ง 2 ชนิดนี้ ถึงต้องอยู่คู่กันด้วยนั้น อาจจะต้องย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5
โดยข้อสงสัยนี้ ได้ถูกอธิบายโดย ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารคาวและอาหารหวานของไทยโบราณ และผู้แต่งตำรา "แม่ครัวหัวป่าก์"
1
ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทยในสมัยรัชกาลที่ 5
ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ได้อธิบายไวัว่า สาเหตุที่ทำให้ขนมทั้ง 2 ชนิดนี้ ต้องกินคู่กันด้วยนั้น ก็เพราะว่า ขนมปลากริมมีรสชาติที่หวานจัด ในขณะที่ขนมไข่เต่ามีรสชาติที่เค็มจัด ดังนั้นการที่กินคู่กัน จึงเป็นการตัดรสชาติของขนมทั้ง 2 ให้มีความกลมกล่อมและพอดีมากยิ่งขึ้น
1
ซึ่งคำอธิบายที่ว่านี้ ท่านผู้หญิงเปลี่ยนก็ได้รับการบอกเล่ามาอีกทีจากอุบาสิกาท่านหนึ่ง ที่ได้นำขนมปลากริมไข่เต่ามาถวายให้กับท่านผู้หญิงเปลี่ยนอยู่เป็นประจำ
1
โดยการรวมกันระหว่างขนมปลากริมกับขนมไข่เต่านั้น ยังมีชื่อเรียกอีกแบบหนึ่งว่า "ขนมแฉ่งม้า" หรือ "ขนมแช่งม้า" อีกด้วย
และทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องราวที่ได้อธิบายว่า ทำไมขนม "ปลากริม" ถึงต้องคู่กับขนม "ไข่เต่า" ด้วยนั่นเองครับ
#HistofunDeluxe
โฆษณา