24 พ.ย. 2020 เวลา 15:13 • การศึกษา
💰💰โค้งสุดท้ายปลายปี ฤดูกาลภาษี
มาถึงแล้ว มาตรวจสอบสิทธิภาษีกัน
ในหมวดของประกันชีวิต และการลงทุน
มีอะไร ลดหย่อนได้บ้าง 💰💰
5
ขอสรุปครบ ‼️‼️รายการลดหย่อนภาษีด้วยประกันเงินออม และการลงทุน ให้จบในที่เดียว กันเลยค่ะ
3
ไล่เรียงกันตั้งแต่ตัวแรกเลยนะคะ
👉 1. ประกันสังคม ที่ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท/ปี เฉพาะปีนี้
ยอดลดลง
เดือน มีนาคม - พฤษภาคม หัก 1%
เดือน กันยายน - พฤศจิกายน หัก 2%
👉 2. เบี้ยประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
👉 3. เบี้ยประกันสุขภาพส่วนตัว หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไป แล้วจะต้องไม่เกิน100,000 บาท
🎯🎯 สำหรับหลักเกณฑ์ แบบประกันที่สามารถลดหย่อนได้ ต้องมีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และมีเงินคืนระหว่างสัญญาไม่เกิน 20% ของเบี้ยที่จ่าย
👉 4. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท
👉 5. ประกันชีวิตคู่สมรส หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ 10,000 บาท
👉 6. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี
👉 7. เงินสะสมกองทุนบำเหน็จข้าราชการ กบข.และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
👉 8. เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ กอช. ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท
👉 9. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
1
👉 10. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และต้องลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี
👉 11. กองทุนรวมเพื่อการออม SSF
ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงิน
ได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
🙂🙃นับรวมกับกองเกษียณอายุอื่นๆ ไม่เกิน 500,000 บาท เริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ปี 2563-2567 และต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ
อย่าลืมเช็คลิสต์กันนะคะ ว่ารายได้เท่าไร?
และเสียภาษีเท่าไร
สำหรับใคร ที่ไม่รู้เคยรู้เลยว่า โดนหักภาษีไว้เท่าไร ไม่เคยดู เหลือเท่าไรก็มีเท่านั้น
กูรูประกันเอาตารางภาษีสะสม ที่ถูกหักไว้
มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านด้วยค่ะ
สมมุติว่า กูรูประกัน โสด มีเงินได้ประเภทที่ 2 ค่านายหน้าประกัน 1,200,000 บาท /ปี
ไม่สนใจทำประกันชีวิต หรือ กองทุนอื่นใดลดหย่อนภาษีเลย ไม่ผ่อนบ้าน ไม่บริจาค ไม่เข้าโครงการช็อปดีมีคืน ไม่ลดหย่อนบิดา มารดา ไม่มีอะไรลดหย่อนภาษีเลย
จะคำนวณภาษีได้ดังนี้
รายได้ 1,200,000-
หัก ค่าใช้จ่าย 50% 100,000-
หัก ค่าลดหย่อน 60,000-
เงินได้สุทธิ 1,040,000-
1
หักค่าใช้จ่ายได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000
บาท เนื่องจาก ไม่ใช่พนักงานประจำ จึงไม่มี ประกันสังคม หรือ ค่าลดหย่อนอื่น
รายได้
150,0000 - 0 %
150,001 - 300,000. หัก 5% = 7,500
300,001 - 500,000 หัก 10% = 20,000
500,001 - 750,000 หัก 15% = 37,500
750,001 - 1,000,000 หัก 20% = 50,000 1,000,001 - 1,040,000หัก 25% =10,000
1
รวมเสียภาษี เท่ากับ 125,000 บาท
😱OMG😱 เสียภาษี 125,000 บาท
แม่เจ้า ภาษีกีบความตาย !!!
บริษัทหัก นำส่งสรรพากร ก่อนเลยจ้า...
🎯🎯🎯สมมุตินะสมมุติ
กูรูประกัน พึ่งรู้ว่ามีแบบประกัน ที่ไม่ใช่
รอกูรูประกันตาย หรือ ครบตอน 90
เห้ย‼️‼️‼️ ฉันโสด ฉันต้องได้ใช้เงิน
พึ่งรู้ว่ามีประกันแบบที่ครบ 10 ปี ก็มี เลยเลือกแบบประกันคุ้มสุขเต็มสิบ 10/5 R คะเน นี่แหล่ะ IRR 2.56 ดีงาม ฝาก 100,000 คืน 10,000 ทุกปี ครบ 5 ปีหยุดฝาก ครบ 10 ปี รับเงินต้นคืน
จะคำนวณภาษีได้ตามนี้
รายได้ 1,200,000-
หัก ค่าใช้จ่าย 50% 100,000-
หัก ค่าลดหย่อน 60,000-
หัก ค่าเบี้ยประกันชีวิต 100,000-
เงินได้สุทธิ 940,000-
รายได้
150,0000 - 0 %
150,001 - 300,000. หัก 5% = 7,500
300,001 - 500,000 หัก 10% = 20,000
500,001 - 750,000 หัก 15% = 37,500
750,001 - 940,000 หัก 20% = 38,000
รวมเสียภาษีลดลง เท่ากับ 103,000 บาท
เท่ากับว่าได้ทั้งออมและประหยัดภาษี
แทนที่จะเสียภาษี 125,000 บาท
กูรูประกันได้เงินคืนภาษีมาอีก 22,000 บาท
🎯🎯สมมุตินะสมมุติ
กูรูประกันจัดเต็มโสด สวย รวยสบาย แก่มาไม่มีปัญหา ทำทั้งแบบประกันทั่วไป
เบี้ย 100,000 บาท และแบบประกันบำนาญ
เอาน่าแกมาสบาย ฉันโสด เก็บเงินได้สบายมาก 25% ของเงินได้ ทำประกันบำนาญ 15% ของเงินได้ อีกไม่เกิน 200,000 บาท รวมลดหย่อนค่าเบี้ยประกัน
สุทธิ 300,000 บาท ไปเลย จะทำให้ประหยัดภาษีไปได้อีก ตามนี้ค่ะ
✳คำนวณภาษีได้ตามนี้❇
รายได้ 1,200,000-
หัก ค่าใช้จ่าย 50% 100,000-
หัก ค่าลดหย่อน 60,000-
หัก ค่าเบี้ยประกันชีวิต 100,000-
หัก ค่าเบี้ยประกันบำนาญ 200,000-
⏩ เงินได้สุทธิ 940,000-
รายได้
150,0000 - 0 %
150,001 - 300,000. หัก 5% = 7,500
300,001 - 500,000 หัก 10% = 20,000
500,001 - 740,000 หัก 15% = 36,000
รวมเสียภาษีลดลง เท่ากับ 63,500 บาท
เท่ากับว่าได้ทั้งออมและประหยัดภาษี
แทนที่จะเสียภาษี 125,000 บาท
กูรูประกันได้เงินคืนภาษีมาอีก 61,500 บาท
สำหรับเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน และมีรายได้เกิน 1,000,000 บาท ต้องเปรียบเทียบ กับอีกวิธี คือ รวมเงินได้ทั้งหมด คูณ อัตรา 0.5% แบบไหนสูงกว่าเสียวิธีนั้น
ท่านผู้อ่านพอจะเห็นแล้วใช่ไหมว่า
ถ้ามีเครื่องมือลดหย่อนภาษี แล้วเราใช้ เราจะมีเงินคืนอีกโขทีเดียว มาเปลี่ยนรายจ่ายทางภาษี เป็นเงินเก็บ และบำนาญกันดีกว่าค่ะ
สำหรับท่านใด อยากวางแผนภาษีด้วยประกัน กูรูประกันมีบทความรีวิวแบบประกันลดหย่อนภาษีติดตามได้จากบทความนี้นะคะ
เจอกันใหม่บทความหน้า ช่วงนี้ติดภาระหน้าที่ ต่อทีมงานและบริษัทฯ บทความอาจจะห่างหาย และล่าช้า ได้โปรดยกโทษให้กันด้วยนะคะ ขอบคุณทุกท่านมาก ๆ ค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา