26 พ.ย. 2020 เวลา 01:49 • สุขภาพ
รู้ทันหัวใจวาย...เพราะทุกนาทีมีค่าต่อชีวิต
5
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือที่รู้จักกันดีว่าหัวใจวาย (heart attack) เป็นโรคที่ทำให้มีการเสียชีวิตค่อนข้างสูง สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้และทำให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตได้ดีตามปกติคือ การวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็วและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ควรทำความรู้จักโรคนี้กันให้ดี เพราะทุกนาทีมีค่าต่อชีวิต
8
หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากมีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันและขัดขวางการไหลของเลือดจนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ เมื่อหัวใจขาดเลือด ผลที่ตามมาก็คือกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
4
สาเหตุการเกิดหัวใจวายหรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
3
โรคนี้เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่งลิ่มเลือดเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไปจนพอกเป็นตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินก็ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าไปในร่างกายได้ แต่กลับฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดแทน
3
เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด ถ้าเป็นการแตกตัวที่หลอดเลือดแขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
2
อาการนำที่สำคัญโรคหัวใจวายที่ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์
1
โรคหัวใจนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน บางรายอาจมีสุขภาพปกติแข็งแรงดี แต่อยู่ๆ ก็มีอาการผิดปกติ อาการผิดปกติที่สำคัญที่สุดที่สามารถสังเกตได้ เช่น
1
เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตรงกลางอก และเป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป
1
เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่และแขนทั้งสองข้าง
1
มีเหงื่อออกตามร่างกาย
1
เหนื่อยง่าย หายใจถี่กระชั้น
7
วิงเวียน หน้ามืด
3
ชีพจรเต้นเร็ว
หากพบอาการผิดปกติข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อย่าละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้โดยเด็ดขาด
1
กุญแจสำคัญของการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือหัวใจวาย ที่เกิดจากการมีลิ่มเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน คือ เวลา ทุกนาทีที่เสียไปขณะที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จะสามารถบอกได้ว่าอนาคตของผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร ดังนั้นถ้ามีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น แน่นหน้าอกเฉียบพลัน เหนื่อย หรือสงสัยว่าตนเองจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ อย่ารอช้า ควรรีบพบแพทย์ทันที
7
เพราะแพทย์จะสามารถทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าและให้การวินิจฉัยได้ภายใน 5 นาที นอกจากนี้ในแต่ละโรงพยาบาลยังมีการกำหนด golden period ซึ่งเป็นเวลาที่จะต้องช่วยเหลือผู้ป่วยให้ทัน เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กำหนด golden period ไว้ที่ 60 นาที นั่นหมายถึง เมื่อผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกเฉียบพลันและมาถึงโรงพยาบาล แพทย์สามารถให้การรักษาโดยการเปิดเส้นเลือดหัวใจได้ภายใน 60 นาที ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษากล้ามเนื้อหัวใจที่ดีของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากภาวะหัวใจโตและกลับมามีชีวิตได้ใกล้เคียงคนปกติมากที่สุด
4
หินปูน เกาะหลอดเลือดหัวใจ Level ไหน..เสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน
'หินปูน' ที่เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการเสื่อมของแคลเซียมในร่างกาย ที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็ง หรืออาจแฝงตัวมากับคราบไขมัน
'หินปูน' ที่เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการเสื่อมโดยธรรมชาติของแคลเซียมในร่างกาย ที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็ง หรืออาจเกิดจากกลไกของร่างกาย สร้างแคลเซียมมาป้องกันบริเวณที่เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังอาจแฝงตัวมากับคราบไขมัน และเกาะติดบริเวณหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
2
การตรวจคัดกรองหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
2
การตรวจคัดกรองหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาปริมาณหินปูน หรือแคลเซียมที่เกาะที่หลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีที่ไม่เจ็บ ไม่ต้องฉีดสี ใช้ปริมาณรังสีต่ำ รู้ผลเร็วภายใน 1 ชั่วโมง
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา