2 ธ.ค. 2020 เวลา 07:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อุกกาบาต Kolang พลิกชีวิตหนุ่มอินโดกลายเป็นเศรษฐีข้ามคืน
Josua Hutagalung อายุ 33 ปี พบอุกกาบาตตกที่บ้านของเขา ก่อนที่จะขายทำเงินได้กว่า 56 ล้านบาท ภาพจาก Josua Hutagalung/ facebook
Josua Hutagalung พบอุกกาบาตหนัก 2.1 กิโลกรัม หลังจากขายมันให้กับผู้เชี่ยวชาญ Jared Collins ด้วยราคา 56 ล้านบาท ทำให้สื่อตะวันตกเขียนถึงเขาว่าได้กลายเป็นเศรษฐีข้ามคืนด้วยโชคจากท้องฟ้า ส่วนอุกกากาบาตก้อนนั้น หลังจากได้รับการพิสูจน์และระบุประเภทแล้ว ถูกตั้งชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่า "อุกกาบาต Kolang" คำถามสำคัญคือทำไมมันถึงมีมูลค่าสูงแบบนี้ คำอธิบายทั้งหมดอยู่ในบทความต่อไปนี้
ทำไมอุกกาบาต Kolang ถึงมีมูลค่าสูงถึงขนาดนั้น? เหตุผลแรกคือ Kolang เป็นอุกกาบาตแบบ fall ซึ่งหายากและมีจำนวนน้อย อุกกาบาตที่พบบนโลกสามารถแบ่งการค้นพบได้เป็นสองกลุ่ม fall คืออุกกาบาตที่มีเพิ่งตกลงมา สามารถระบุสถานที่และเวลาที่มันตกลงมาได้แน่นอน find คืออุกกาบาตที่ไม่ทราบวันเวลาที่ตก ไม่ทราบว่ามันอยู่บนโลกมานานเท่าไดแล้ว เมื่อเที่ยบกันแล้ว fall มีจำนวนที่ค้นพบน้อยกว่ามาก( 1.9% ของอุกกาบาตที่ค้นพบทั้งหมด)[1] นักวิทยาศาสตร์และนักสะสมนิยมอุกกาบาตfall มาก เพราะการที่มันเพิ่งตกลงมาทำให้มันมีการปนเปื้อนและศึกกร่อนจากสภาพแวดล้อมน้อย การระบุประเภท องค์ประกอบและที่มาจะทำได้ดีกว่า เรื่องราวความเป็นมาได้เพิ่มมูลค่าของมันให้สูงกว่าแบบ finds หลายเท่า ถึงแม้จะเป็นอุกกาบาตประเภทเดียวกัน ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 หลังจากเกิดเสียงดังบนท้องฟ้า บริเวณ ตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา (1°53’18.8"N 98°39’39.6"E) อุกกาบาตKolang พุ่งทะลุหลังคาบ้านของ Josua ไปกระแทกพื้นดิน มันถูกขุดขึ้นมาหลังจากฝังลึกลองไปในพื้นดินประมาณสิบเซนติเมตร เจ้าของบ้านทราบทันทีว่าสิ่งนี้ต้องเป็นอุกกาบาตเพราะไม่มีทางที่ใครจะขว้างก้อนหินหนักขนาดนี้ใส่บ้านของเขาได้
(ซ้าย)หลังคาบ้านของJosua เป็นระโหว่เพราะถูกอุกกาบาตพุ่งชน แน่นอนว่า กระเบื้องแผ่นนี้ถูกซื้อไปด้วย (ขวา)อุกกาบาต Kolang ตอนที่ยังฝังอยู่ในดินและตอนที่เพิ่งขุดขึ้นมา ภาพโดย Josua Hatagulung/facebook
ปัจจัยหลักที่ทำให้อุกกาบาตแต่ละก้อนมีราคาต่างกันคือความหายากของมันนั้นเอง อุกกาบาตเหล็กทั่วไปมีราคาตั้งแต่ 0.50-5.00 ดอลลาร์/กรัม ส่วนอุกกาบาตหินคือ 2.00-20.00 ดอลลาร์/กรัม[2] บางประเภทเช่นอุกกาบาตที่มาจากดวงจันทร์หรือดาวอังคารอาจสูงถึง 1,000 ดอลลาร์/กรัม (สามหมื่นบาท/กรัมเทียบกับทองแล้วแพงกว่าสี่สิบเท่า)[3] อุกกาบาต Kolang มีราคา26,000บาท/กรัม เป็นอุกกาบาตหินแบบ Carbonaceous chondrite (CM1/2)[4] ซึ่งเป็นอุกกาบาตหายากเช่นกัน
Carbonaceous chondrite (CM1/2) หรือ C-Chondrite เป็นอุกกาบาตหินประเภทหนึ่งที่มีคอนไดรท(chondrite) ซึ่งเป็นเม็ดกลมๆขนาดเล็กฝังอยู่ในเนื้ออุกกาบาต สันนิฐานว่าอุกกาบาตกลุ่มนี้เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการก่อตัวของระบบสุริยะ (4500 ล้านปี) และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก มีองค์ประกอบหลักสารประกอบคาร์บอน รวมถึงกรดอะมิโนและ มีC-Chondriteเพียง 6% ของอุกกาบาตหินแบบคอนไดรทที่ค้นพบทั้งหมด[5] สันนิฐานว่าพวกมันมาจากดาวเคราะห์น้อย ที่โคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี
คอนไดรทก้อนกลมๆที่ฝังอยู่ในเนื้ออุกกาบาต ภาพโดย https://geoedu.weebly.com/beyond-earth/meteorite-classification
เมื่ออุกกกาบาตได้รับการพิศูจน์และระบุประเภทแล้วจะมีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลกลาง ซึ่งราคาของมันจะเพิ่มขึ้นอีก การที่มันอยู่ในฐานข้อมูลทำให้ทราบว่าใครเป็นผู้ครอบครองอยู่ มูลค่าของพวกมันยังสูงขึ้นเรื่อยๆตราบที่ยังมีความต้องการจะครอบครอง Kolang ยังไม่ใช่อุกกาบาตที่แพงที่สุด แม้จะจัดเป็นของหายากและเป็นที่ต้องการในตลาดซี้อขาย แต่ยังมีอุกกกาบาตอีกหลายก้อนที่มีราคาสูงกว่า เช่นอุกกาบาต Fukang ที่เป็นอุกกาบาตหินปนเหล็กที่แพงที่สุดในโลกมีมูลค่ากว่า 60 ล้านบาทด้วยน้ำหนักแค่ 1 กิโลกรัม
โฆษณา