Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TRIZ.AI Innovation Creative studio
•
ติดตาม
30 พ.ย. 2020 เวลา 02:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Resource analysis
EP.12+1 Derivative resources
ทรัพยากรอนุพันธ์
3.Changing by Substance and Field Interaction
เปลี่ยนโดยความสัมพันธ์ของพลังงาน
ภาพจาก Google ขอบคุณเจ้าของภาพ
เราจะหาอนุพันธ์ที่มีอยู่
มาสร้างนวัตกรรมของเราได้ยังไง
อะไรคืออนุพันธ์
เทคนิคการวิเคราะห์ทรัพยากร
วันนี้เรามาเข้าหัวข้อใหญ่ เรื่อง
ทรัพยากรจาก อนุพันธ์ กันครับ
EP 10-12+1 เราเข้ามาเจาะลึกในเรื่อง Derivative ว่ามีกี่แบบกันแน่
โดยใน EP 9 ได้เสนอรูปแบบตัวอย่างของ Derivative ไปแล้วครับ
ที่นี่เรามาดูการแบ่งประเภทของ ทรัพยากรอนุพันธ์กัน
ชนิดของ Derivatives Resources
1.Changing by Time เปลี่ยนตามเวลา
2.Changing by Substances- Interaction เปลี่ยนโดยการสัมพันธ์ของสสาร
3.Changing by Substance and Field Interaction เปลี่ยนโดยความสัมพันธ์ของพลังงาน
ภาพจาก Google ขอบคุณเจ้าของภาพ
เรามาคุยรายละเอียดเรื่อง
3.Changing by Substance and Field Interaction เปลี่ยนโดยความสัมพันธ์ของสสารและพลังงาน
อย่าลืมนะครับเรายังอยู่ในหัวข้อ Derivative อนุพันธ์อยู่และข้อนี้เป็นข้อย่อยของ Derivative
เราพูดถึง Derivative อนุพันธ์ ซึ่งเกิดได้จากการ เปลี่ยนความสัมพันธ์ของสสารและพลังงาน
เราคิดอย่างนี้ครับอะไรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของสสารและพลังงาน
แล้วเกิด by product ที่เราไม่ต้องการเกิดขึ้นมาแล้วเราสามารถเอา
สิ่งพวกนี้มาพัฒนา
นวัตกรรมได้อย่างดีไปๆมาๆกลายเป็นผลิตภัณฑ์ได้ด้วย
ภาพจาก Google ขอบคุณเจ้าของภาพ
ย้อนความนิดหนึ่ง
พลังงานในส่วนของ TRIZ จะนิยาม 5 หัวข้อครับ
เรียกย่อๆว่า Math Chem
1.Mechanical Field พลังงานกล
Friction / Centrifugal Force / Vibration / Ultrasonic
2.Chemical Field พลังงานเคมี Surface Energy
3.Electrical Field พลังงานไฟฟ้า
Polarized / Monopole / Line Charge
4.Thermal Filed พลังงานความร้อน
Infrared Radiation / Temperature gradient
5. Magnetic Field พลังงานแม่เหล็ก
Solenoid Field / Straight Wire Field
ภาพจาก Google ขอบคุณเจ้าของภาพ
ตัวอย่าง
เตาไมโครเวฟ
แนวความคิดในการใช้ คลื่นไมโครเวฟ ในการให้ความร้อนแก่อาหารนี้ ค้นพบโดย เพอร์ซี สเปนเซอร์ (Percy Spencer) ซึ่งทำงานที่บริษัทเรธีออน (Raytheon) ในขณะกำลังสร้าง แมกนีตรอนสำหรับใช้ในระบบเรดาห์ วันหนึ่งในขณะที่เขากำลังทำงานอยู่กับเรดาห์ที่กำลังทำงานอยู่ เขาได้สังเกตเห็นแท่งช็อกโกแลต ในกระเป๋าเสื้อของเขาละลาย และสงสัยว่าแหล่งพลังงานความร้อนที่ทำให้ช็อกโกแลตละลายมาจากไหนกันแน่
อย่างไรก็ตามทาง แล็ปก็สามารถสร้างเรดาห์คลื่นสั้น
เพื่อหาเรือดำน้ำของเยอรมันไนทะเลได้สำเร็จ
แต่การสร้างเรดาห์คลื่นไมโครเวฟได้สร้าง
by product คือความร้อนจากการสั่นสะเทือนของโมเลกุลจนเกิดความร้อน
เราจะเห็นว่ามันเกิดการเปลี่ยนโครงสร้างของสสารกับพลังงานในระบบ
กลายเป็นผลิตภัณฑ์ในบ้านจนทุกวันนี้
ภาพจาก Google ขอบคุณเจ้าของภาพ
เอาตัวอย่างแบบใกล้ตัว
ปรอทวัดอุณหภูมิก็เกิดจากที่ ปรอทได้รับอุณหภูมิสูงขึ้นลดลง
เกิดการหดขยายตัว ก็สามารถเอามาเป็นมาตรฐานในการกำหนดอุณหภูมิที่เป็นสากลได้
เข้าหลักเกณฑ์ข้อ 3 การเกิดอนุพันธ์เนื่องจากการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ของ สสารและพลังงาน
ภาพจาก Google ขอบคุณเจ้าของภาพ
หลายครั้ง..บ่อยครั้งที่คนสร้างนวัตกรรม
ท้อแท้หมดหวัง..ไม่ว่าจะความพยายามในการสร้างผลงาน
ความก้าวหน้าในชีวิตการงาน ความเสียดทานจากคนที่ไม่ทำอะไรเลย
เอาแต่ตำหนิ..หนักเข้าก็อิจฉา..จ้องทำร้าย ขโมยผลงาน
น้องๆมักจะมาบ่นกลุ้มใจ..เสมอ..
ผมยิ้มๆ..ก้มหน้าก้มตาทำความดีไปนะ
อย่าบ่น..ความสุขมันอยู่ที่ตอนทำไม่ใช้ตอนเสร็จ
ในหลวง ร. 9 เคยสอนเรา
“การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี” *** (พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร 14 สิงหาคม 2525)
***น้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้***
มีความสุขกับชีวิตครับ
++หัวกลวง++
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย