27 พ.ย. 2020 เวลา 07:22 • การศึกษา
Paradigm of Money Management
มีเงินสำหรับลงทุน 1 ล้านบาท คุณจะเอาไปทำอะไร?
คำถามนี้เป็นคำทางจิตวิทยาเรื่องการบริหารการเงินสุดคลาสสิคที่หลายๆคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว
ผมเชื่อว่าถามคน 1 ล้านคนก็จะได้ 1 ล้านคำตอบ (ซึ่งตอบแบบง่ายๆ) เช่น เอาไปลงทุน 5 แสน เก็บเป็นเงินสด 5 แสน หลายๆคนก็ไม่เลือกเอาไปลงทุนแต่เอาไปซื้อบ้าน ซื้อรถ ซื้อของแบรนด์เนม ให้พ่อ ให้แม่ ให้เมีย ต่างๆนาๆ
แล้วถ้าผมถามลึกไปกว่านั้นล่ะ เช่น 5 แสนจะเอาไปลงทุนอะไรบ้าง แต่ละอย่างที่ลงทุนคิดเป็นกี่% และคุณคาดหวังกำไรเท่าไหร่ หากขาดทุนจะทำอย่างไร และอีก 5 แสนที่เก็บไว้นั้นจะเอามาใช้ตอนไหน หลายๆคนคงไปต่อไม่ถูก
นี่แหละครับกรอบความคิดในการบริหารเงิน (Paradigm of Money Management) ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
สิ่งที่ผมอยากให้ทุกคนคิดว่าจะเอาเงิน 1 ล้านบาทนี้ไปทำอะไรนั้นง่ายมากเลยครับ คือ การแบ่งเงินเป็น 3 ส่วน
โดยเงิน 3 ส่วนนั้นประกอบไปด้วย A - เงินที่จะเอาเข้าระบบลงทุน ,B - เงินสำรองฉุกเฉินตามระบบ ,C - เงินสำหรับเพิ่มความเสี่ยงเมื่อเห็นโอกาส
ตัวอย่างเช่น คุณมีเงินทุน 1 ล้านบาท และคุณต้องการเงินสำหรับใช้ชีวิตเดือนละ 20,000 บาท คุณเอาเงินไปทำบ่อเลี้ยงปลาจำนวน 3 แสนบาท โดยเงินเริ่มต้นนั้นคือเงินก้อน A ซึ่งมันสร้างกำไรจากการขายปลาให้คุณได้เดือนละ 20,000 บาทดิบพอดี เท่านี้เรื่องมันก็คงจบ แต่มันไม่จบเท่านั้นสิ
ถ้าวันดีคืนดีบ่อของคุณดันมีโรคระบาดเกิดขึ้น ปลาตายกันไปหมดบ่อ นั่นแหละครับพระเอกของเราจะออกโรง คือเงินก้อน B ซึ่งคุณต้องเอามาซื้อปลาใหม่ เอามาซื้อยารักษาโรค บลาๆๆ เพื่อให้คุณกลับมาอยู่ในวงจรของการสร้างรายได้อีกครั้ง
แต่หลังพายุฟ้ามักสดใสเสมอ อยู่มาวันนึงปลาของคุณขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ปลาโตขายหมดก่อนจบเดือน ทำให้คุณนั่งตบยุงกันไป นั่นแหละครับกอง C จะออกมาทันที ซื้อปลาเพิ่มสิครับรออะไร โดยคุณขายปลาเพิ่มได้ในเดือนนั้นเป็นกำไร 40,000 บาท ก็ให้เอา 20,000 บาทที่เกินมาจากการใช้ชีวิตนั้นเก็บเข้ากอง B และกอง C เพื่อเติมเงินที่ใช้ไปให้กลับมาครบจำนวน (ตรงนี้แหละครับเป็นจุดวัดใจที่หลายๆคนทำยาก เพราะเมื่อได้เงินเพิ่มแล้วก็ใช้เงินซื้อของฟุ่มเฟือยมากขึ้น ไม่เก็บเงินไว้รองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินในอนาคต อันตรายมากนะครับ)
ไม่เพียงเท่านั้นเงินของกอง C เรายังสามารถเอามาใช้โฆษณาหรือทำโปรโมชั่นให้กับเราได้อีกด้วยหากเราเห็นโอกาส
เมื่อวงจรนี้หมุนไปเรื่อยๆจนเงินคุณมีเงินเพิ่มมาอีก 1 ล้านบาท นั่นแหละครับ ถึงเวลาในการขยายธุรกิจของคุณ รีบขุดบ่อเพิ่มโดยพลัน (อาจจะเลี้ยงปลาอีกชนิดนึง เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง)
นี่คือวิธีการบริหารเงินอย่างง่ายนะครับ ในชีวิตจริงคงมีอีกหลายเหตุผลที่คุณจะดึงเงินกอง B และ C ออกมาใช้ก่อนกำหนด นั่นก็อยู่ที่ แสงสี สิ่งล่อตาล่อใจ ความโลภ และโอกาสที่เกิดขึ้นของแต่ละคน หรือบางคนอาจจะเฉียบกว่านั้นคือมีกองเงิน D E F G เพื่อวางระบบการจัดการเงินได้ดีขึ้นหรือกำจัดความเสี่ยงได้มากขึ้น
ขอฝากให้ทุกท่านคิดต่อเพิ่มอีกหน่อยนะครับ แล้วถ้าเหตุการณ์กลับกันล่ะ ลงปลาบ่อแรกแล้วปลาตายหมดยังไม่ทันได้ขายเลย!!! เพื่อนๆจะทำยังไง ลอง comment ความคิดเห็นกันมาหน่อยครับ อยากฟังบ้างงงงงงงงงงง
หากคิดว่าบทความนี้ดีหรือมีประโยชน์ช่วยกดไลค์และกดแชร์ให้เราเพื่อเป็นกำลังใจให้เราด้วยนะครับ
ท่านสามารถอ่านบทความและความรู้ต่างๆของเราเพิ่มเติมได้ที่
#6paradigms #ไม่หวือหวาแต่อยู่รอด
โฆษณา