Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Observing Mind
•
ติดตาม
29 พ.ย. 2020 เวลา 01:33 • หนังสือ
รีวิวหนังสือ: Crisis Wisdom ปัญญา {ฝ่า} วิกฤติ
โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
เราจะฝ่าวิกฤติการเมืองขณะนี้ ได้อย่างไร?
Crisis wisdom ปัญหาฝ่าวิกฤติ คือ หนังสือเล่มที่ 1 ในฤดูกาลที่ 2 ของซีรีส์ปัญญา (Wisdom Series) ซึ่งดั้งเดิมนั้นประกอบไปด้วย Future, Past, One million และ
Present ตามลำดับ
เป็นอีกหนึ่งผลงานของคุณภิญโญ ที่ยังคงเอกลักษณ์ นั่นคือสำนวนการเขียนอันสวยงาม และเนื้อหาที่ชอบอ้างอิงเรื่องราวในอดีตมาผูกโยงกับหัวข้อต่างๆ
Crisis Wisdom ปัญญา {ฝ่า} วิกฤติ
ที่มาของหนังสือเล่มนี้ คุณภิญโญกล่าวไว้ว่า ในช่วงวิกฤติโควิด 19, คุณภิญโญได้ใช้เวลาระหว่างเก็บตัวอยู่บ้าน ศึกษาค้นคว้าวิกฤติที่เคยมีมา ในโลกและประเทศไทย และเลือกเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด เพื่อหาเหตุและปัจจัย “ที่ผู้นำในแต่ละยุคสมัยใช้ในการตัดสินใจ เพื่อนำพาตัวเอง และประเทศชาติออกจากวงล้อมแห่งวิกฤติรอบด้านมาได้”
สารในเล่ม จึงเป็นการเสนอเรื่องราวเพื่อการขบคิด หาข้อมูล ตัดสินใจ และหาคำตอบ ท่ามกลางวิกฤติประเทศชาติที่เราล้วนกำลังเผชิญหน้าอยู่
ซึ่งวิกฤติที่คุณภิญโญพูดถึงในเล่มนี้ก็คือ ประเด็นเรื่องสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ นั่นเอง
ในหนังสือซีรีย์ปัญญาที่ผ่านๆมานั้น คุณภิญโญมักหยิบยกประเด็นต่างๆมา แล้วหา case study ความสำเร็จในอดีต มาอธิบายให้เหตุผล ซึ่งผมมองว่ามันไม่น่าเชื่อถือและมีน้ำหนักเท่าใดนัก
บ่อยครั้งมันมี Bias จากการมองย้อนหลัง (hindsight bias) มากเกินไป กว้างไป ดูจับต้องได้ยาก มัน oversimplify ไป และบางครั้งดูจะ “flight of idea” คือจับเอาคำนู้นคำนี้มาผูกกันจนล้น [แต่เหตุที่ผมยังซื้ออ่าน(จนครบทุกเล่ม)นั้น เพราะสำนวนการเขียนอันสวยงามของคุณภิญโญล้วนๆ]
กลับกัน ในหนังสือปัญญาฝ่าวิกฤติเล่มนี้ นอกจากยังคงเอกลักษณ์สำนวนงานเขียนของคุณภิญโญไว้อย่างครบถ้วน ข้อที่ผมชอบมากกว่าเล่มก่อนๆก็คือ กรอบการเล่าเรื่องที่เน้นเจาะจงตั้งแต่วิกฤติระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Disruption ครั้งแรกของสถาบัน) และการเล่าเรื่องแบบคู่ขนาน ระหว่างการเมืองไทย และบรรยากาศการเมืองต่างประเทศ
ซึ่งการที่กรอบเล่าเรื่องแคบลง มี timeline ชัดเจนนั้นทำให้เนื้อหามันอ่านเพลินมากๆ แม้เนื้อหาจะยังหยิบนู่นหยิบนี่ที่ดูไกลๆมาผสมบ้าง แต่มันก็ดูแนบเนียน ไม่มากไม่ล้นไป การเล่าเรื่องในเล่มนี้จึงเข้าใจง่าย และเห็นภาพได้ชัด เห็นความต่อเนื่อง ความเป็นมาได้ชัดเจนและง่ายกว่าเล่มก่อนๆ
1
เมื่อตัวเนื้อหามัน synergize กับสำนวนการเล่าเรื่องแบบคุณภิญโญ มันยิ่งทำให้เราเห็นพลวัตรของเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างชัดแจ้ง เห็นเหตุปัจจัยต่างๆ (ที่อาจจะบังเอิญเกิดด้วยกัน หรืออาจจะเป็นเหตุเป็นผลกันจริงๆ) นี่จึงเป็นหนังสือที่อ่านสนุกมาก
อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่ความลุ่มลึกของเนื้อหา ผมมองว่าหนังสือเล่มนี้แตะประเด็นแค่แบบ “ตื้นๆ” ซึ่งอาจไม่ได้ตอบโจทย์ผู้ที่สนใจในประวัติศาสตร์ไทยหรือโลกอย่างจริงจังสักเท่าใด หลายๆประเด็นนั้น ไม่ได้มีการระบุแบบลึกๆ เน้นอุปมาอุปไมย เลียบๆเคียงๆ ไปให้ผู้อ่านตีความเองเสียมาก หลายๆประเด็นนั้น คุณภิญโญก็เปิดไว้แบบลอยๆ (ที่ชัดสุดในเล่มคือ เหตุการณ์สวรรคตของร.8) ซึ่งไม่รู้ว่าเพราะไม่อยากลงลึกเองหรืออย่างไร
และที่สำคัญ สุดท้ายหนังสือก็ไม่ได้เสนอวิธีแก้ปัญหา หรือทางออกในวิกฤตินี้ อย่างชัดเจนเท่าใดนัก เหมือนแค่ย้อนเล่าเรื่องราวต่างๆให้ผู้อ่านเก็บไปคิดเองเสียมากกว่า
ถ้าให้เปรียบเทียบ ผมมองหนังสือเล่มนี้ เป็นเหมือนหนังสือที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของ “บริษัท” บริษัทหนึ่งที่อยู่มานาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก แข็งแกร่ง แต่ก็เคยพลาดท่า ปรับตัวเองช้า จนถูก Disrupt ไป เหล่าทีมผู้บริหารนั้น อยู่ในจุดที่เกือบจะสูญเสียทุกอย่าง เกือบจะเหลือแต่ชื่อบริษัทไว้ในหนังสือแบบเรียน แต่แล้วด้วยเหตุปัจจัยอันยากจะบรรยาย และความสามารถของ CEO คนเก่าและทีมงาน ก็สามารถนำบริษัท comeback มาได้ แถมกลับมาอย่างยิ่งใหญ่กว่าเดิม ชนิดที่ว่าไม่มีใครคาดคิดถึง
จนมาถึงตอนนี้ ช่วงเวลาของ CEO คนใหม่ ที่รับสืบทอดงานมาอีกที, CEO คนใหม่นี้ไม่ใคร่จะสนใจงานมากนัก แถมยังโละทีมบริหารเก่าออกเกือบยกชุด แต่งตั้งมาเฉพาะคนที่ตัวเองชอบ ซึ่งโอเคว่าที่ผ่านมาบริษัท set ระบบไว้ดีมากๆ มันจึงยังrun ต่อไปได้โดนปกติดี แต่บังเอิญว่า เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มันกระทบเศรษฐกิจโลก กระทบเศรษฐกิจประเทศ และกระทบความเป็นอยู่ของเหล่าผู้เกี่ยวข้องกับบริษัทเข้าอย่างจัง – สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง จึงพัดรุนแรงกลับมาอีกครั้ง
1
สุดท้ายแล้ว สิ่งที่ผู้อ่านจะได้จากหนังสือเล่มนี้ ผมว่ามุมมองและจุดยืนจากผู้อ่านเอง ก็มีส่วนสำคัญมาก
หากผู้อ่านนั้น อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง คิดว่ามันถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแล้ว สารในหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่เลย มันเป็นแค่การทบทวนถึงความเชื่อมโยงต่างๆในอดีตได้น่าสนใจ ได้แง่มุมใหม่ๆบ้าง ได้อรรถรส ได้เห็นความเป็นวัฏจักรของการเจริญและล่มสลาย ความไม่แน่นอน เห็นความ “โง่เขลา” ของมนุษย์ว่าจริงแท้แค่ไหน ซึ่งว่ากันจริงๆแล้ว ถ้าอยากได้มุมมองข้อเสนอทางแก้ปัญหาจากคุณภิญโญนั้น สู้ไปฟังคลิปสัมภาษณ์คุณภิญโญ จาก the standard หรือบทความ ”ราชประชาสมาสัย 2020” นี้ ยังจะได้ประเด็นเสียมากกว่า
แต่หากผู้อ่านนั้น อยู่ในฝ่ายที่คิดว่ามันไม่มีอะไรจะให้เปลี่ยนแปลง มันยังไม่ถึงเวลา ที่เป็นแบบเดิมนี้ก็ดีอยู่แล้ว วิกฤติศรัทธาครั้งนี้เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ – สารในหนังสือเล่มนี้ ก็จะเป็นการทบทวนให้ผู้อ่าน ได้คิดคำนึง ถึงห่วงโซ่ต่างๆในอดีต ทีถักทอจนนำมาซึ่งวิกฤติในครั้งนี้ ว่ามันมิใช่อะไรใหม่ มันมีเหตุจริงๆ มันเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง และปัจจัยต่างๆในตอนนี้ ยิ่งอธิบายได้ ว่ามันเกิดมาได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้ก็อาจจะเป็นสารสื่ออันละมุนละม่อม ที่จะเตือนสติคนยังคงยึดโยงกับค่านิยมอดีต ให้มีสติ ให้ตระหนักรู้ว่านี่มันคือช่วงเวลารอยต่อที่สำคัญ คือ Point of no return และถึงเวลาต้องคิดฝ่าวิกฤติแล้ว เตือนสติว่าถ้าบริษัทที่ท่านรักนั้น ไม่ยอม disrupt ตัวเอง ก็จงระวังว่าปัจจัยภายนอกที่คงไม่มีผู้ใดควบคุมได้ จะมา disrupt บริษัทที่ท่านรัก อย่างไร้ความปราณี
มองจากรูปการณ์ปัจจุบันแล้ว บริษัทก็ดูไม่ค่อยอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองเท่าใดนัก ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามองเห็นปัญหาหรือไม่ มีแต่สายลมแห่งความเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ที่ก่อตัวควบแน่นอย่างรวดเร็วและเย็นยะเยือก
และเมื่อใดที่ความเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมจับต้องได้…. มันก็มักจะสายไปเสียแล้ว
theobservingmind.co
รีวิวหนังสือ: Crisis Wisdom ปัญญา {ฝ่า} วิกฤติ | The Observing Mind
ปัญญาฝ่าวิกฤติ นำผู้อ่านไปทบทวนว่า วิกฤติการเมืองเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ส่วนจะจบลงอย่างไรนั้น ประวัติศาสตร์ก็มีตัวอย่างแล้วมากมาย
42 บันทึก
27
6
28
42
27
6
28
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย