8 ธ.ค. 2020 เวลา 02:00 • ครอบครัว & เด็ก
"time-out ให้ถูกวิธี"
ก่อนจะไปถึงการขอเวลานอกหรือ time-out เราต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง "พฤติกรรม" กับ "นิสัย" เสียก่อน
เราไม่ควรตำหนิลูกที่ตัวเขา เช่น "โง่จริงๆ" "ทำไมถึงเป็นคนแย่แบบนี้" แต่ให้มุ่งไปที่การตำหนิพฤติกรรมนั้นๆเพียงเรื่องเดียว โดยบอกให้ชัดว่าเราตำหนิพฤติกรรมอะไร และไม่พยายามตำหนิครั้งเดียวหลายๆเรื่อง หรือแม้แต่ย้อนไปตำหนิพฤติกรรมในอดีต
ที่สำคัญ การตำหนิไม่ใช่ "การบ่น" เพราะการบ่นไม่ได้ช่วยอะไรในการฝึกลูกนอกเสียจากเป็นการสร้างความ "รำคาญ" ให้ทั้งกับตัวคนพูดและคนฟัง
การใช้ time-out ต้องเริ่มตั้งแต่ลูกยังเล็ก เพราะถ้าใช้ตอนโตจะไม่ work
ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ถ้าพี่น้องทะเลาะกันจนถึงขั้นใกล้จะตบตีกัน ให้ time-out โดยจับแยกให้นั่งกันคนละมุมห้อง แล้วสั่งว่า "ถ้าอยากเล่นด้วยกันอีก ถึงจะลุกไปได้" โดยให้พ่อแม่นั่งทำอะไรอยู่ใกล้ๆ
ข้อดีคือ เด็กจะเรียนรู้การเบรกอารมณ์ตนเอง โดยเราไม่ต้องไปตัดสินถูกผิด ตัวลูกก็ไม่ต้องมาน้อยใจที่พ่อแม่ตัดสินไม่ยุติธรรม
ส่วนในเด็กโต เราต้องบอกให้ชัดเจนว่าเขากำลังถูก time-out โดยอาจให้จำกัดบริเวณอยู่ในห้องหรือหาที่ให้เด็กได้สงบอารมณ์ โดยพ่อแม่ต้องคอยบอกด้วยว่า ตัวเด็กทำพฤติกรรมอะไรที่ไม่ดีไปบ้าง
สรุปความจากหนังสือ "43 ไม้ตายลบลายเจ้าตัวยุ่ง ของ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์"
โฆษณา