3 ธ.ค. 2020 เวลา 13:32 • ประวัติศาสตร์
รัชกาลที่ 5 เคยยกพระแก้วมรกตให้รัสเซียและประเด็น รัชกาลที่ 7 เคยคิดจะทรงขายพระแก้วมรกต จริงหรือ?
1
หลักฐานนี้น่าเชื่อถือแค่ไหน วันนี้ผมจะขอเล่าให้ฟังครับ
ย้อนไปเมื่อ 100 กว่าปีสมัยรัชกาลที่ 5 ครับ สมัยนั้นคือยุคแห่งจักรวรรดินิยม (Imperialism) ซึ่งนำโดยสองมหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส
1
ในขณะที่ชาติมหาอำนาจอย่างรัฐบาลรัสเซียยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนทางจักรวรรดินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ
1
รัฐบาลสยามจึงเกิดความเชื่อมั่นว่าการเสริมความสัมพันธ์กับรัสเซียนั้น นอกจากจะไม่เป็นภัยแล้วยังจะเป็นประโยชน์ต่อฐานะทางการเมืองของสยามด้วยเป็นแน่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคาดการณ์ว่า หากพระองค์ทรงสามารถโน้มน้าวให้รัสเซียเป็นพันธมิตรได้ รัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาพันธมิตรของฝรั่งเศสอยู่แล้วนั้น อาจจะสามารถทำหน้าที่เป็นคนกลางในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่สยามมีอยู่กับฝรั่งเศสได้
และผลการกระทำต่างๆนี้ได้ส่งผลมาถึงสยามอย่างเห็นได้ชัดเจนหลังวิกฤติการณ์ ร.ศ.112 และการเสด็จประพาสรัสเซียในปี ค.ศ.1897 ทำให้ฝรั่งเศสคลายความแข็งกร้าวและเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยกับรัฐบาลสยามมากขึ้น
เกริ่นไปเสียนาน ขออนุญาตเข้าเรื่องเกี่ยวกับพระแก้วมรกตเคยเป็นของรัสเซียครับ
1
ครั้งหนึ่งนั้น พระแก้วมรกตเคยเป็นของรัสเซียด้วยนะครับ แต่รัสเซียเป็นเจ้าของเพียงครู่เดียวเท่านั้น รัชกาลที่ 5 ทรงขอพระราชทานคืน
1
เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 กับ พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ครั้งยังดำรงพระอิสริยศเป็นมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยือนราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระสหายสนิทในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ระหว่างวันที่ 20 - 24 มีนาคม พุทธศักราช 2434 รวมเวลาทั้งสิ้น 5 วัน
1
ช่วงนี้เวลาที่มกุฎราชกุมารนิโคลัส ประทับอยู่ในสยามทรงพอพระทัยการต้อนรับของรัฐบาลสยามเป็นอย่างยิ่ง
3
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ถวายการต้อนรับมกุฎราชกุมารนิโคลัสให้ดีที่สุดเท่าทีจะทำได้
มีการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ตกแต่งบ้านเมือง พระราชวังต่างๆอย่างสวยงาม รวมทั้งจัดแสดงพิธีคล้องช้างครั้งใหญ่และเป็นครั้งสุดท้ายของแผ่นดินรัตนโกสินทร์แด่พระเจ้าซาร์เพื่อทอดพระเนตร
5
ในครั้งนั้นได้มีบันทึกในพระราชหัตถเลขาระบุเรื่องราวเกี่ยวกับพระแก้วมรกตไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริว่า สยามและรัสเซียนั้นแม้อยู่ห่างไกล แต่พระราชวงศ์ได้ดำเนินพระราชไมตรีด้วยดีเสมอมาเสมือนหนึ่งแผ่นดินเดียวกันก็ว่าได้ ในการที่มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซียเสด็จฯ จากแดนไกลมาถึงเพียงนี้ มีพระหฤทัยประสงค์จำนงใดในราชอาณาจักรนี้ก็จะทรงจัดหาให้ไม่ขัดข้อง
3
เมื่อพระองค์ทรงตรัสเช่นนี้ออกมา มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย จึงได้กราบบังคมทูล
ขอ “พระแก้วมรกต” ไปประดิษฐานที่กรุงรัสเซีย เพราะทรงทราบดีอยู่แล้วว่าพระแก้วมรกตเปรียบดั่งสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวสยาม แต่ก็เป็นเพื่อทดลองพระราชหฤทัยของในหลวงรัชกาลที่ 5
7
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงนิ่งอยู่ชั่วครู่และในพระราชฐานะพระมหากษัตริย์ แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงยึดถือคติที่ว่า "กษัตริย์ ตรัสแล้วไม่คืนคำ" ดั่งความที่ปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขาครับ
1
เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น พระแก้วมรกตจึงตกเป็นของรัสเซีย เพราะพระราชดำรัส ของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเสมือนหนึ่งกฎหมายและมีผลบังคับในทันทีครับ
3
ฝ่ายมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซียได้ตระหนักแล้วว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามนั้นมีไมตรีจิตและน้ำใจอย่างแท้จริง จึงพระดำรัสตรัสขอบพระทัย พร้อมยื่นข้อเสนอให้สยามขอสิ่งใดจากรัสเซียตอบบ้างเพื่อเป็นการแสดงน้ำใจแลกเปลี่ยนเช่นกัน
3
ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสตอบกลับในทันที ทรงขอพระแก้วมรกตกลับคืนสู่สยาม
9
มงกุฎราชกุมารแห่งรัสเซียนั้นทรงเลื่อมใสในพระปรีชาสามารถในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเป็นอย่างมาก และทรงถวายพระแก้วมรกตคืน เหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้ทั้งสองพระองค์เป็นพระสหายที่มีความสนิทสนมกันมากขึ้นครับ
1
และนี่คงจะเป็นเหตุการณ์เดียวที่พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีได้เสียพระแก้วมรกตไป และขอคืนกลับได้ในเวลาเพียงไม่กี่อึดใจ
3
ในส่วนประเด็นที่จะพูดถึงต่อไปคือ หัวข้อข่าวจากหนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับวันที่ 22 มกกราคม 1935 (พ.ศ. 2478) ที่กำลังเป็นกระแสทางการเมืองอยู่ขณะนี้ครับ
1
จากหนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับวันที่ 22 มกกราคม 1935 (พ.ศ. 2478) หน้าที่ 21 พาดหัวข่าวว่า KING OF SIAM MAKES THREAT TO SELL OUT
1
พระมหากษัตริย์สยามได้ขู่จะขายทั้งหมด รวมทั้งมีพาดหัวย่อลงมาข่าวระบุว่า
"ตรัสบอกว่าทรงจะขายทรัพย์สินมากมาย เป็นการรุกคืบครั้งใหม่เพื่อรักษาระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์"
โดยผู้ให้ข้อมูลคือสำนักข่าว Associated Press โดยระบุอีกว่า รายงานนี้มาจากกรุงเทพมหานคร ประเทศสยาม เนื้อหามีดังนี้ครับ
ย่อหน้าแรก >>
ข่าวระบุว่า "คิงประชาธิปกขู่ที่จะขายทรัพย์สินที่มีมากมายของพระองค์ในสยามในจนนาทีสุดท้าย เพื่อกดดันรัฐบาลในประเทศ อ้างรายงานจากแหล่งข่าวต่างๆ ที่มักจะเชื่อถือได้"
คำว่าแหล่งข่าวต่างๆ "มักจะเชื่อถือได้" ซึ่งนั่นยังไม่ใช่ข่าวที่ยืนยันอย่างเป็นทางการครับ
1
รวมทั้งยังเป็นแหล่งข่าวที่มักจะเชื่อถือได้ (Usually reliable) แต่อย่างไรแล้วมันก็ไม่ได้หมายความว่าจะยืนยันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์จนกว่าจะมีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากรัฐบาลสยาม หรือ คำประกาศจากพระองค์เองครับ
3
ถามต่อว่าทำไมทางสำนักข่าวจากสหรัฐจึงมั่นใจในการประเมินทำนองนี้ คือ ต้องเจาะลึกไปดูหลักการประเมินข่าวกรองของกองทัพสหรัฐกันครับ
การปฏิบัติภารกิจงานภาคสนามของสายข่าวกรอง จะแบ่งความน่าเชื่อถือของข่าวเป็น 6 ระดับครับ ดังนี้ครับ
1.Completely reliable
2.Usually reliable
3. Fairly reliable
4.Not usually reliable
5. Unreliable
6. Reliability cannot be judged
แม้ประเด็นนี้จะประเมินให้ความน่าเชื่อถืออยู่ถึงระดับสอง งั้นเรามาเจาะกันต่อครับ
ย่อหน้าที่ 2 >>
"มีรายงานอ้างว่าพระองค์ได้ตรัสว่า จะทรงเสด็จจากประเทศไปตลอดกาล หากรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทรงยื่นคำขาดที่ให้คืนพระราชอำนาจในการตัดสินโทษประหารชีวิต"
ย่อหน้านี้ทำให้เราทราบว่าที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงขู่เพราะทรงขัดแย้งกับรัฐบาลเรื่องที่สถาบันพระมหากษัตริย์มิได้มีพระราชอำนาจในการตัดสินโทษประหารชีวิตอีกต่อไป ดังนั้นโปรยข่าวของ Associated Press
จึงใช้คำว่า "การรุกคืบครั้งใหม่เพื่อรักษาสมบูรณาญาสิทธิราชย์" ด้วยการเข้าใจว่าการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเรียกร้องพระราชอำนาจนี้ก็เพราะการชี้ขาดชีวิตคนให้อยู่หรือตายเป็นอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของกษัตริย์
ในย่อหน้านี้คือการวิเคราะห์และตีความเขียนข่าวจากคอลัมภ์นิสเองครับ
1
ในประเด็นนี้เองในช่วง ปี พ.ศ.2477 เกิดกรณีที่รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติอากรมรดก ขณะนั้นพระปกเกล้าฯ กำลังเสด็จประพาสยุโรป
เมื่อมีการร่างพระราชบัญญัติมาก็ทรงมิได้ลงพระปรมาภิไธยเนื่องจากทรงเข้าพระทัยว่ารัฐบาลประสงค์จะเก็บภาษีอากรพระราชทรัพย์ของสถาบันพระมหากษัตริย์
ทางรัฐบาลจึงต้องส่งผู้แทนไปเข้าเฝ้าฯ และกราบทูลว่าจะแก้ไขให้ยกเว้นพระราชทรัพย์ของสถาบันพระมหากษัตริย์จากภาษีมรดกครับ ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จาก
หนังสือกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ที่ จ. ๖๙๗๑/๒๔๗๗ เรื่อง "เชิญไปเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ลงวันที่ 3 พ.ศ. 2477
ฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มิได้ทรงหวงพระราชอำนาจที่จะชี้เป็นชี้ตาย แต่เป็นเพราะทรงขัดแย้งกับรัฐบาลมาหลายครั้งแล้วมากกว่าครับ
และการริบอำนาจของพระมหากษัตริย์ก็เป็นหนึ่งในความขัดแย้งนั้นครับ
แต่นี่ก็ยังไม่ใช่จุดสำคัญเพียงแต่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาบนข่าวครับ เพราะในข่าวยังมีการเขียนถึงการการจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ เพราะในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2477
ผู้แทนรัฐบาลไปเข้าเฝ้าพระปกเกล้าที่อังกฤษนั้น นอกจากทรงจะยอมรับภาษีมรดกฉบับแก้ไขแล้ว ยังทรงร้องขอต่อรัฐบาลอีกหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงรูปแบบการปกครองของประเทศ
เพราะในขณะนั้นคณะราษฎรยังกุมอำนาจอยู่เสียมาก (แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อคณะราษฎรแล้วก็ตาม) รวมทั้งยังมิได้มีการกระจายอำนาจให้ประชาชนทั่วไปได้ช่วยกันบริหารบ้านเมืองและลดการใช้อำนาจจับกุมผู้เห็นต่างทางการเมืองของรัฐบาลคณะราษฎครับ
รวมทั้งในส่วนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเสนอการให้อภัยโทษแก่นักโทษการเมืองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองในระยะยาว
แต่ในขณะที่พระองค์ทรงเจรจาเช่นนี้รัฐบาลกลับไปพิจารณาแก้ไขร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาชญา ซึ่งลดพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ
โดยกำหนดว่าคำถวายฎีกาต้องผ่านการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายและหากไม่มีพระบรมราชวินิจฉัยตกลงมาภายใน 2 เดือน ก็ให้ถือว่าเรื่องราวนั้นตกไปครับ
จึงเป็นข้อขัดแย้งขึ้นระหว่างรัฐบาลสยามและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯครับ
หลักฐานจากลายพระราชหัตถเลขานี้ยังได้ระบุ ทรงตรัสว่า “ยอมรับไม่ได้เลยทีเดียวเพราะเป็นการตัดสิทธิ์ซึ่งราษฎรมีอยู่ก่อนยิ่งขึ้นไปอีกมิใช่หรือ” โดยรัฐบาลตอบว่า “รัฐบาลมองไม่เห็นว่าจะเสียหลักยุติธรรมอย่างใด”
1
(หากอยากทราบที่มาจากหลักฐานพวกนี้ มีอยู่ในพิพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าครับผมละเอียดมาก)
ในกรณีขัดแย้งนี่แหละครับ คือที่มาของการเขียนข่าวของสำนักข่าวสหรัฐที่เป็นประเด็น ว่าเป็นการ "การรุกคืบครั้งใหม่เพื่อรักษาระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์"
โดยคอลัมภ์นิสคงเข้าใจและคิดเอาว่าการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงคัดค้านกฎหมายที่ตัดทอนพระราชอำนาจนั้นเป็นการหวงแหนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือเหตุการณ์ตอนนั้นมันซับซ้อนมากกว่าการข่าวกรองของสหรัฐจะเข้าใจได้ทั้งหมดครับ
1
พระราชอำนาจที่จะพระราชทานอภัยโทษ (Royal prerogative of mercy) ที่ไม่ได้มีแค่พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังมีในสากลหลายประเทศเขาก็ทำกันครับ ทั้งพระมหากษัตริย์อังกฤษก็ด้วย
และไม่เฉพาะแต่ระบอบพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ระบอบสาธารณรัฐยังให้อำนาจประธานาธิบดีในการอภัยโทษ (Pardon) เช่นกัน เรื่องนี้จึงเป็นความเข้าใจผิดของสื่อต่างประเทศว่าในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงยื้ออำนาจครับ
ผมมองว่าที่พระองค์ทรงยื้อนั้นเพราะมีการขัดแย้งดังที่กล่าวมาข้างต้น และความจริงทรงพยายามรักษาพระราชอำนาจของพระองค์ ในฐานะพระประมุขตามระบอบการปกครองของอารยประเทศเท่านั้นครับ
และมาถึงจุดสำคัญประเด็นร้อนเกี่ยวกับพระแก้วมรกต ในข่าวกล่าวว่า
ย่อหน้าประเด็นร้อน>>
"มีรายงานอ้างว่าผู้รักษาผลประโยชน์ของบริเตนแสดงความจำนงที่จะซื้อทรัพย์สินของพระปกเกล้า ซึ่งรวมถึงไม่เฉพาะแค่พระราชวังนานา วัดวาอารามนานาอันงดงามอย่างบูรพประเทศ แต่ยังรวมถึง 'พระแก้วมรกต' อัญมณีอันมีชื่อเสียงนี้ถูกมองว่าเป็นประหนึ่งตัวแทนความภาคภูมิและเกียรติยศของชาติสยาม เป็นหินมณีใหญ่อันเปล่งประกายติดไว้ที่หน้าผากของพระพุทธรูปและเป็นสมบัติของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"
ลองพิจารณาดูแล้วย่อหน้านี้ มีความผิดพลาดต่อการเข้าใจของผู้เขียนข่าวอย่างเห็นได้ชัดครับ ข้อความนี้ไม่ได้ระบุว่าจะทรงขายทรัพย์สินอะไรครับ
3
ประการแรกต้องเข้าใจก่อนว่าทรัพย์สินในที่นี่มี 2 ส่วน คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนของสถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งอย่างหลังนี้แม้จะพระองค์จะทรงเป็นเจ้าของแต่ก็ถือกันว่าเป็น "สมบัติแผ่นดิน" ไม่อาจจะนำออกขายทอดตลาดได้ตามพระทัยชอบ
3
ประการที่สองข่าวระบุว่า "ผู้รักษาผลประโยชน์ของบริเตน" (British interests) อาจหมายถึงสถานกงสุลหรือสถานเอกอัครราชทูตหรือเจ้าหน้าที่ใดๆ หรือใครก็ตามของสหราชอาณาจักร ที่หมายตาว่าจะซื้อ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่ารัชกาลที่ 7 ทรงเสนอขายให้กับต่างชาติครับซึ่งข่าวเองก็ได้ระบุไว้
ประการที่ 3 คือการบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับพระแก้วมรกตที่ผิดไปจากความเป็นจริงอย่างมาก โดยไปเล่าถึงอัญมณีอะไรสักอย่างที่ติดไว้บนหน้าผากพระพุทธรูปซึ่งคาดว่าน่าจะหมายถึงพระอุณาโลมที่เป็นเพชรครับ
จึงสามารถสรุปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มิได้ทรงจะขายพระแก้วมรกตรวมถึงวังหลวงแน่ครับ
ซึ่งถ้าหากจะมีพระประสงค์ใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้จริง (อย่างที่ข่าวอ้าง) อาจจะมีความเป็นไปได้ที่น่าจะขายแต่พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เท่านั้นครับ ซึ่งก็ต้องหาหลักฐานอื่นๆมาประกอบเพิ่มเติมกันต่อไป
อาจจะดูเข้าใจยากนะครับ ดูงงๆ ระหว่างทรัพย์ส่วนพระองค์กับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เรื่องนี้จะไม่เพียงจะทำให้ประชาชนทั่วไปงุนงงจนจับต้นชนปลายไม่ถูกเท่านั้น ยังเป็นปัญหามาถึงจนกระทั่งปัจจุบันครับ
1
พระราชทรัพย์ของแผ่นดินกับพระเจ้าแผ่นดินไม่แยกกันต่างหาก จนกระทั่งรัชกาลที่ 5 ทรงแยกทรัพย์แผ่นดินตั้งเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทำหน้าที่เป็นกระทรวงการคลัง (ส่วนของแผ่นดิน)
และตั้งกรมพระคลังข้างที่ดูแลทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงมีเอง ทำเอง รับมาเอง (ทรัพย์ส่วนพระองค์)
กรมพระคลังข้างที่นั้นออกเงินดูแลพระราชวังมาแต่ก่อน หมายความว่าในหลวงทรงใช้เงินส่วนพระองค์ดูแล "บ้านของพระองค์เอง"
แต่ในทางปฏิบัติแล้วย่อมจะทรงทราบว่าพระบรมมหาราชวังและพระแก้วมรกตนั้นเป็นทรัพย์ของแผ่นดินด้วย
และกรณีเพชรในข่าวก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชศรัทธาถวายยอดเพชรประดับอุณาโลมพระแก้วมรกต (ตามรายงานข่าวที่อธิบายคลุมเครือคงหมายถึงเพชรเม็ดนี้ครับ) รัชกาลที่ 4 ทรงใช้เงินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปซื้อหามาซึ่งมีบันทึกอย่างชัดเจนครับ
รวมทั้งช่วงสมโภชพระนคร อายุครบ 150 ปี ในปี 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้ทรงตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระแก้ว เงินที่ใช้บูรณะนั้นคณะกรรมการตั้งไว้ 600,000 บาท พระปกเกล้าฯ ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 200,000 บาท ได้เงินมาจากรัฐบาล (กระทรวงต่างๆ อาทิ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ) 200,000 บาท ที่เหลือโปรดเกล้าฯ ให้ราษฏรช่วยกันทำบุญตามศรัทธา
จากเงินบูรณะวัดพระแก้วนี้เราจะเห็นว่า เงินบูรณะ 3 ส่วนคือเงินในหลวงหนึ่งส่วน เงินแผ่นดินหนึ่งส่วน และเงินของประชาชนหนึ่งส่วน ทัศนะนี้ของรัชกาลที่ 7 แสดงถึงความเป็นเนื้อเดียวของสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐบาล และภาคประชาชนครับ
1
จะเป็นไปได้หรือที่รัชกาลที่ 7 พระองค์จะทรงพระทัยแข็งประกาศขายพระแก้วได้อีกหรือครับ
1
ฉะนั้นแล้ว พระบรมมหาราชวังกับพระแก้วมรกตก็เข้าทำนอง the sovereign's public estate ตามคติการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อังกฤษ คือ ไม่ใช่ทั้งของรัฐบาลและไม่ใช่ทั้งทรัพย์ส่วนพระองค์ของกษัตริย์ แต่ประชาชนก็รู้กันว่าเป็นของใครมาตั้งแต่โบราณกาลครับ
และก็ไม่เป็นที่น่าแปลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะลงข่าวแบบนี้ แต่ในทางฝั่งสหราชอาณาจักรเองกลับไม่มีข้อมูลอะไรเพิ่มเติม มันก็มีผลเกี่ยวเนื่องจากองค์ประกอบหลายอย่างระหว่างประเทศให้วิเคราะห์ลึกลงไปอีกครับ
ผมมองว่าถ้าเราจะเข้าใจหลักการพวกนี้ง่ายขึ้น เราต้องนำข้อมูลจากประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ มาศึกษากันครับ ซึ่งต้องยอมรับว่ามันทำความเข้าใจยากระดับหนึ่งเลยทีเดียว และจะยากมากกับผู้ที่ไม่เปิดรับข้อมูลใดๆแล้ว
อย่างไรก็ตามข้อมูลจากหนังสือพิมพ์
The New York Times มีความคลุมเครือค่อนข้างสูงเมื่อนำหลักฐานอื่นๆมาร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งผมได้กล่าวเฉพาะส่วนความน่าเชื่อถือในหลักฐานนี้ของ The New York Times เท่านั้นไม่โยงไปประเด็นอื่นครับ
ในช่วงที่การเมืองกำลังระอุแบบนี้ จึงได้เกิดการนำหลักฐานต่างๆในอดีตมาต่อสู้กัน
3
การนำหลักฐานเพื่อมาดิสเครดิตในลักษณะนี้ ได้ถูกใช้มาเนิ่นนานแล้ว ตะวันตกนี่เปรียบสื่อสิ่งพิมพ์เหมือนอาวุธชิ้นหนึ่งเลยก็ว่าได้ และถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ
โดยการใช้วิธีนี้ก็ไม่จำกัดด้วย ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ทุกฝ่ายมักจะงัดหลักฐานที่น่าสนใจหรือแม้กระทั่งการบิดเบือนนำเสนอข่าวปลอมเพื่อเรียกความนิยมทางการเมืองก็ยังมีออกมาอย่างต่อเนื่อง จะจริงหรือไม่จริง ล้วนอยู่ที่ผู้เสพว่าจะตัดสินใจเลือกเชื่อในสิ่งไหนครับ
เพราะต่างฝ่ายต่างนำหลักฐานในอดีต หรือที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นำมาอ้างอิงและสนับสนุนข้อพิสูจน์นั้น
1
แม้จะเป็นหลักฐานที่ทันกับช่วงเวลานั้นๆจริงแต่ก็ยังต้องผ่านการกลั่นกรองความจริงเสมอครับ ด้วยการใช้วิธีหาหลักฐานร่วมสมัยมาศึกษาประกอบเช่นกัน
หากไม่ชัดเจนมีความคลุมเครือและไม่สัมพันธ์กัน จึงเท่ากับหลักฐานนั้นยังขาดความน่าเชื่อถือ มันเหมือนเสน่ห์ของประวัติศาสตร์ที่รอให้ค้นคว้าต่อไปครับ
และเมื่อข่าวเก่านี้ถูกนำออกมาแสดง เพื่อสื่อให้เห็นว่า รัชกาลที่ 7 ทรงคิดจะขายพระแก้วมรกต จนทำให้ผู้ที่รักสถาบัน รวมทั้งฝ่ายนิยมเจ้า ต่างโจมตีกลับ จนเกิดเป็นกระแสในโลกโซเชียล
ที่ผมนำประเด็นนี้ขึ้นมาพูด ในฐานะผู้ชอบศึกษาประวัติศาสตร์ และสะสมเอกสารโบราณทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์จากทางตะวันตก ผมจึงขออนุญาตสื่อในอีกแง่มุมหนึ่ง
ของสะสมหนังสือพิมพ์จากฝั่งตะวันตกที่กล่าวถึงสยาม
หากท่านผู้อ่านที่ติดตามผมมาได้สักระยะหนึ่ง จะเห็นว่างานเขียนของผมชอบใช้วิธีอิงหลักฐานชั้นต้นรวมถึงข้อมูลจากฝั่งตะวันตกร่วมอยู่บ่อยครั้ง
ทั้งนี้เพื่อต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านเห็นว่าอีกฝั่งโลกนั้นมองเราอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเอกสารที่ผมนำมากล่าวอ้างอิงนั้นต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองอย่างดีก่อนแล้วครับ เพราะหลักฐานหลายอย่างจากสื่อตะวันตกก็ยังไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมดครับ
3
และที่สำคัญมาก ก่อนที่ผมจะนำข้อมูลต่างๆมาลงบนสื่อออนไลน์ ผมมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะหาข้อมูลรอบด้าน เพราะสิ่งเหล่านี้เมื่อสื่อออกไปแล้ว มันอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ครับ
3
และสุดท้ายนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้อ่านว่าจะเลือกเสพ และ เชื่อจากสื่อใดครับ
อ้างอิง:
- พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ ๗ ผู้อำนวยการโครงการ: สรวิช ภิรมย์ภักดี
- เบื้องหลังการเยือนกรุงสยามของมกุฎราชกุมารรัสเซีย , ไกรฤกษ์ นานา
- พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- หนังสือกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ที่ จ. ๖๙๗๑/๒๔๗๗
โฆษณา