4 ธ.ค. 2020 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เปรียบเทียบกองทุนรวม Active กับ Passive แตกต่างกันอย่างไร?
มาทำความรู้จักใหม่มากขึ้นกันเถอะ!!
หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า กองทุน Active กับ Passive ยิ่งถ้าเป็นมือใหม่เพิ่งเริ่มลงทุนอาจจะสงสัยว่า 2 กองทุนนี้คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ในโพสนี้เราจะมาเปรียบเทียบกองทุนทั้ง 2 กองนี้ให้ดูกันค่ะ
2
ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนว่า กองทุน Active กับ Passive เป็นกลยุทธ์ในการบริหารกองทุนรวม ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการบริหารที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน จะมีความต่างกันอย่างไรบ้าง ตามมาอ่านกันต่อได้เลย
3
กองทุน Active
🔸 เป็นกองทุนที่บริหารในเชิงรุก
🔸 ต้องการผลตอบแทนชนะตลาด โดยผลตอบแทนที่ได้รับจะต้อง “สูงกว่า” ดัชนีอ้างอิง (Benchmark)
🔸 ผู้จัดการกองทุนจะเลือกลงทุนในตัวที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด และจะมีการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์
🔸 ค่าธรรมเนียมของกองทุน Active จะสูงกว่า เพราะผู้จัดการกองทุนจะต้องบริหารพอร์ตและวิเคราะห์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ชนะตลาด จึงทำให้มีต้นทุนในการดำเนินงานที่สูง
กองทุน Passive
🔸 เป็นกองทุนที่บริหารในเชิงรับ
🔸 ต้องการผลตอบแทนที่เท่ากับตลาด โดยผลตอบแทนที่ได้รับจะต้อง “ใกล้เคียง” กับดัชนีอ้างอิงมากที่สุด
🔸 ผู้จัดการกองทุนจะลงทุนทุกตัวและให้น้ำหนักเท่ากับดัชนีอ้างอิง เพื่อให้สัดส่วนของพอร์ตการลงทุนเลียนแบบดัชนีอ้างอิงมากที่สุด
🔸 ค่าธรรมเนียมของกองทุน Passive จะต่ำกว่า เพราะผู้จัดการกองทุนทำจะแค่คอยดูแลพอร์ตการลงทุนและปรับพอร์ตให้สัดส่วนการลงทุนสอดคล้องกับดัชนีอ้างอิง ไม่ต้องใช้นักวิเคราะห์เยอะ ต้นทุนในการดำเนินงานจึงถูกกว่า
ตัวอย่างกองทุน เช่น
กองทุนหุ้นไทย ลงทุนใน SET Index
🔸 กองทุน Active จะเลือกหุ้นเพียงแค่บางตัวที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด
🔸 กองทุน Passive จะลงทุนหุ้นทุกตัวใน SET Index และให้น้ำหนักของหุ้นแต่ละตัวเท่ากับตลาด
2
ส่วนคนที่ยังสงสัยอยู่ว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่ากองไหนเป็น Active หรือ Passive เพราะในชื่อกองทุนก็ไม่ได้บอกไว้ ทุกคนสามารถเปิดดูได้จากหนังสือชี้ชวน (Fund Factsheet) โดยดูตรงหัวข้อนโยบายการลงทุน ในนั้นจะมีบอกข้อมูลครบถ้วนเลย
2
แต่สำหรับกองทุนต่างประเทศ บางกองทุนจะลงทุนผ่านกองทุนหลัก (Master Fund) ซึ่งใน Fund Factsheet จะบอกกลยุทธ์การลงทุนว่า มุ่งหวังให้ได้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก ซึ่งกองทุนลักษณะนี้ไม่ใช่กองทุน Passive ดังนั้น เราต้องดูไปข้อมูลของกองทุนหลักว่ามีนโยบายการลงทุนแบบใด
สุดท้ายนี้ สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มลงทุน อาจจะยังลังเลอยู่ว่าจะซื้อกองทุนแบบไหนดี เราแนะนำให้เพื่อนๆ ศึกษารายละเอียดแต่ละกองทุนจาก Fund Factsheet ให้ละเอียด แล้วค่อยตัดสินใจลงทุนในกองทุนที่เหมาะสมกับตัวเราเองและเหมาะกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้ค่ะ
ฝากติดตามเพจ Cashury ด้วยนะคะ เป็นเพจที่ให้ความรู้พื้นฐานด้านการเงินการลงทุนค่ะ
ติดตาม Cashury ผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ที่
#Cashury #Investment #FinancialAdvisor #Finance #ลงทุน #การเงิน #กองทุน #หุ้น #เริ่มต้นลงทุน #มือใหม่เริ่มต้นลงทุน #พื้นฐานการลงทุน #ออมเงิน #PassiveFund #ActiveFund #กองทุนรวมดัชนี
โฆษณา