4 ธ.ค. 2020 เวลา 11:00 • การตลาด
เข้าใจที่มาของพฤติกรรม รู้เท่าทันความคิดโอนเอียงของเรา และตัดสินใจด้วยความแม่นยำ ไม่ลำเอียง
สรุปหนังสือ ทุกพฤติกรรมมีความเสี่ยง โปรดอย่าลำเอียงก่อนตัดสินใจ โดย ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
หนังสือสั้นๆ 160 หน้า แต่อุดมไปด้วยบทสรุปงานวิจัย จากดร. ณัฐวุฒิ อาจารย์ทางด้าน behavioral science ที่ Warwick Business School ประเทศอังกฤษ
หนังสือช่วยตอบคำถามเรื่องง่ายๆ ที่เรามองข้ามไปทุกวันว่า ทำไมเราถึงทำแบบนี้เช่นทำไมคนบางคนที่ทำงาน ทำอะไรก็ถูกไปหมด บางคนทำอะไรก็ผิดไปซะหมด หรือว่าทำไมข่าวปลอมต่างๆถึงอยู่ยั้งยืนยงเหลือเกิน
หนังสืออ่านได้สั้นๆ วันเดียวจบได้ไม่ยากครับ แต่อ่านแล้วได้ key takeaway เยอะ ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น และตัวเราเอง จะได้มีสติ ยับยั้งชั่งใจได้
อาจารย์ณัฐวุฒิ ยังมีผลงานที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย เช่น ted talk เรื่อง the happiness equation และหนังสือด้านจิตวิทยาพฤติกรรมอีกมากมาย
และหนังสือด้านจิตวิทยาพฤติกรรมอีกมากมาย
สรุป 14 ข้อคิดจากหนังสือดังนี้ครับ
1: Anchoring Effect
คนเรามักยึดติดกับความคิดแรก หรือ first impression ตัวอย่างเช่น น้องสาวมักจะไม่เชื่อพี่ชายที่เป็นอาจารย์ เพราะโตมาด้วยกันแต่เล็ก พ่อแม่คิดว่าลูกเป็นเด็กอยู่เสมอ คนเราเจอคนที่ไม่ชอบขี้หน้า ไม่ว่าเค้าจะทำอะไรก็ผิดไปหมด แม้กระทั่งรูป profile ใน social media
Key Takeaway >> บุคลิกตอนครั้งแรกที่พบกัน การทำงานชิ้นแรกๆเวลาย้ายแผนกใหม่ หรือหัวหน้าใหม่ หรือ แม้กระทั่งรูปใน social media เป็นอะไรที่เราต้องทำให้ดีมากๆที่สุดไว้ก่อน เพราะจะได้สร้าง first impression ที่ดี กว่าพังตั้งแต่แรก จะกู้คืนกลับมายากครับ
2: Pandora Effect
มนุษย์เราไม่ชอบความไม่แน่นอน (uncertainty) เรามักต้องการขจัดความไม่แน่นอนให้หมดไป เลยกลายมาเป็นความอยากรู้อยากเห็น เหมือนตำนานว่าเปิดกล่อง pandora ด้วยความอยากรู้ เปิดมาเจอแต่เรื่องแย่ๆ เต็มไปหมด
ตัวอย่างเช่น ชอบเปิดมือถือแฟนดูว่านอกใจไหม ทำไมสอบไม่ได้คะแนนดี ทำไมไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง เรามักจะอยากรู้สาเหตุเหล่านี้ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า รู้ไปก็ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมา แถมรู้รายละเอียดไปแล้ว อาจจะเสียใจหนักกว่าเก่าก็ได้
Key Takeaway >> บางอย่างไม่ต้องรู้ก็ได้ รู้ไปก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้น
3: Paradox of Choice
ยิ่งตัวเลือกเยอะ คนยิ่งไม่อยากเลือก (ประมาณว่า รักพี่เสียดายน้อง)
Key Takeaway >> เวลาทำธุรกิจ พยายามลดจำนวนสินค้าที่มีคุณสมบัติคล้ายๆกันให้น้อยที่สุด
4: Conflict of Interest
เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง “Want self” and “Should self” คล้ายกับปีศาจสองตัว สู้กันอยู่ในหัวสมองเรา
เรามักจะหาเหตุผลมาอธิบายการกระทำของคนอื่นว่าไม่ OK แต่พอตัวเราเอง มักจะหาเหตุผลมาอธิบายได้ เรียกว่า cognitive dissonance
Key Takeaway >> ก่อนจะตัดสินคนอื่นว่าทำไม่ดี ให้เราลองถามตัวเองก่อนว่า ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์นั้น เราจะทำเหมือนเขาไหม
5: Humblebrag
คือการอวดแบบแอบๆแฝงมากับการถ่อมตน เช่น วันนี้ต้องไปกินซูชิอีกแล้ว โคตรเบื่อเลย หรือ วันนี้เจอคนมาทักขอลายเซ็นอีกแล้ว ยังปรับตัวไม่ค่อยได้เลย
สาเหตุมาจาก คนทุกคนต้องการการตอบสนองจากคนอื่น แต่ไม่อยากรู้สึกไม่ดี
แต่ว่า !!! คนส่วนใหญ่ก็รู้อยู่ดี ว่าเรากำลัง humble brag อยู่ แค่เขาไม่แซวหรือท้วงติงเท่านั้น เพราะ คนทุกคนมีความ humblebrag อยู่เหมือนกัน
Key Takeaway >> ระมัดระวังตัวเวลาจะ humble brag เอาให้พอเหมาะพอควร ไม่น่าเกลียดจนเกินงาม
6: ชีวิตคู่ Happy ด้วยวิชาเศรษฐศาสตร์
ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมา apply กับชีวิตคู่ได้เช่น
คนเราให้น้ำหนักกับสิ่งที่ตัวเองเป็นเจ้าของมากเกินไป (endowment effect) เช่นเรามักจะเชื่อว่าเหตุผลเรามักจะมีน้ำหนักมากกว่าของอีกคนเสมอ
Key Takeaway >> เวลาโมโหสุดๆให้รอ 24 ชม แล้วค่อยมาคุยกันใหม่ (ส่วนมาก 9/10 มักจะเลือกไม่พูดแล้ว)
Marriage Bubble หรือฟองสบู่ ลอยๆขึ้นไปก็แตกได้ ชีวิตแต่งงาน ไม่ควรเหมือนฟองสบู่ ที่ไม่รักษาสภาพไว้ได้ รักกันเกินไป พอเสียใจก็เสียใจมากเกินไป ควรรักษาสภาพให้ stable ดีกว่า
ใช้บทเรียนจาก prisoner’s dilemma หรือความร่วมมือ และการประนีประนอมกัน ดีที่สุดในการประคับประคองชีวิตคู่
7: ความเหลื่อมล้ำ
คนที่มีรายได้ระดับกลาง แม้ว่าจะอยากรวยกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่มากเท่ากับความไม่อยากให้คนจนมีรายได้เท่ากันหรือแซงหน้าเราไป เพราะความเกลียดการเป็นที่รั้งท้าย (last place aversion)
Key Takeaway >> พยายามไม่อิจฉาคนอื่น ยินดีกับความสำเร็จคนอื่น
8: เศรษฐศาสตร์ความสุข
ความจนไม่ได้ทำให้มีความสุข ยิ่งอยู่ใต้เส้น poverty line (ประมาณ 1600 บาท/คน/เดือน) จะทุกข์มากๆ
คำพูดที่ว่า คนจนขี้เกียจ ไม่จริง แต่แค่พวกเขาขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆตะหาก
ชีวิตที่ลำเค็ญส่งผลให้คนจนมองแค่ความสุขระยะสั้น หรือ เกิด cognitive load ซึ่งคือ ไม่มีจะกินอยู่แล้ว จะเอาเวลาที่ไหนไปคิดเรื่องอื่น เช่น หาความรู้ เรียนออนไลน์ ศิลปะ ลงทุน… แค่เอาตัวรอดให้ได้ก่อน
Key Takeaway >> ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาของทุกคน ไม่ใช่แค่คนจน เพราะทุกคนอยู่ในสังคม มันเกื้อหนุน เกี่ยวพันกันไปหมด
9: เหตุผลของการโกง
การโกง หรือคอร์รัปชัน มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย บางปัจจัยที่เราคิดว่ามีผลทางตรง ก็อาจจะไม่มีผลตรงข้าม อ้างอิงจากผลงานวิจัยดังนี้
ปัจจัยที่มีผลต่อการโกง
Key Takeaway >> รู้ทันและขจัดปัจจัยเหล่านี้ที่ส่งเสริมการโกง ทั้งโกงตัวเองและโกงผู้อื่น
10: สิ่งที่ไม่ควรทำในการเลี้ยงลูกในยุคปัจจุบัน
ลดความเป็น Narcissistic Parent = ผู้ปกครองที่หลงตัวเอง ลง ซึ่งตัวอย่างได้แก่
บังคับให้ลูกใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ เช่น เรียนหมอให้จบก่อนแล้วค่อยจะไปทำอะไรก็ไป
ดูถูกความสำเร็จลูก
ขาดความยืดหยุ่นและอารมณ์เสียง่าย
ขาดการเอาใจเขา มาใส่ใจเรา
คาดหวังว่าหน้าที่เดียวของลูกคือ เลี้ยงดูพ่อแม่
Key Takeaway >> ชีวิตลูกไม่ใช่ชีวิตของเรา เราควรเป็นแค่ผู้สนับสนุนให้เขามีทางเดินของเขาเอง และลดความคาดหวังต่อลูก
11: Fake news never die
ทำไม fake new ฆ่าไม่ตาย
เพราะการแชร์ใน social ไม่ค่อยมีการแก้ข่าวปลอม ทำให้ความเข้าใจผิดนั้นยังคงอยู่ และตายยาก
นอกจากนี้ ข่าวเทียมยังปลุกเร้าอารมณ์คนอ่าน เช่น อารมณ์รังเกียจ โมโห ขยะแขยง และยังตรงไปกับสิ่งที่ตัวเองเชื่อ เสริม confirmation bias ด้วย
แต่ข่าวแก้ มักไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ น่าตื่นเต้นอะไร
Key Takeaway >> ป้องกันไม่ให้เกิด confirmation bias โดยมีความชัดเจน โปร่งใส transparency และเป็นรูปธรรม
12: การตั้งราคาสินค้าด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
กลยุทธ์การตั้งราคาโดยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
สมมติเรามี 2 product คือ A กับ B แต่อยากขาย A ให้มากกว่าเพราะกำไรมากกว่า B ทำได้อย่างไร
เอา cognitive bias มาช่วยได้ 3 ชนิด
1. เอา D มาที่คุณภาพแย่กว่า A แต่ดีและแพงกว่า B
เพราะ A ดีกว่า D ชัวร์ ทำให้ A ดูดีกว่า B โดยอัตโนมัติ (attractive effect)
2. เอา C ที่ดีมาก + แพงมาก
ทำให้ลูกค้าที่อย่างน้อยไม่ได้ C ได้ A ก็ยังดี (compromise effect)
3. เอา S เข้ามา (คุณภาพและราคาใกล้เคียง B)
ทำให้เลือก S กับ B ยาก เลยเลือก A ไปโดยปริยาย Similarity Effect
13: Empathy vs Sympathy
Empathy คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นการเชื่อมสายสัมพันธผ่านความรู้สึกโดย
1. Perspective Thinking = พยายามเอาทัศนคติของคนอื่นมาใส่ใจเรา
2. Staying out of judgement = ไม่พยายามตัดสินในสิ่งที่คนอื่นทำ
Sympathy คือความสงสาร แต่เป็นการตัดสายสัมพันธ์ทางด้านความรู้สึก
ตัวอย่างสถานการณ์: เพื่อนกำลังเศร้ามากๆ
Empathy: เราเข้าใจความรู้สึกนะ อยากให้รู้ว่าไม่ได้อยู่คนเดียว ยังมีเราอยู่ด้วย
Sympathy: เฮ้ย อย่าคิดมากดีกว่า มันเสียเวลา
เวลาพูดว่า “แต่อย่างน้อย” มันคือการแสดง sympathy เช่น
A: เธอ ลูกสาวเราสอบตก
B: แต่อย่างน้อย ลูกชายเธอก็เรียนเก่งนะ >> เป็นการแสดง sympathy อยากทำให้ทุกอย่างดีขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ต้องการ empathy ไม่ได้ต้องการให้เข้ามาแก้ปัญหา
Key Takeaway >> Empathy เท่านั้นที่ช่วยเยียวยาคนเป็นโรคซึมเศร้าได้ เพราะผู้ป่วยไม่ได้ต้องการคำแนะนำคนอื่นว่าเขาต้องทำอย่างไร แต่ต้องการคนที่รับฟัง และพร้อมเข้าใจความรู้สึกมากกว่า
14: Locus of Control (LOC) = ลักษณะมุ่งอนาคต สามารถควบคุมตได้โดยตนเอง
ยิ่ง LOC มาก >> เรียกว่า internal LOC มักจะคิดว่า เราควบคุมชะตาชีวิตตัวเองได้จากการกระทำของเรา
ยิ่ง LOC น้อย >> เรียกว่า external LOC มักจะคิดว่า ชีวิตเกิดจากโชคชะตาเป็นคนกำหนด เราไปเปลี่ยนแปลงอะไรมากไม่ได้
มีงานวิจัยว่า คุณแม่ที่มี internal LOC มาก มักใช้เวลา อ่านหนังสือ + สอนหนังสือลูกมากกว่าคนที่เป็น external LOC และทำให้ลูกเรียนเก่งกว่าด้วย
LOC มักไม่ค่อยเปลี่ยน แค่ปรับมากสุดก่อนอายุ 12-15 ปี ดังนั้นควรต้องปลูกฝังให้เด็ก
Key Takeaway >> พยายามสอนลูกให้เป็น internal LOC รู้ว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากโชคชะตา หรือคนที่มีอำนาจเหนือเขา แต่ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของเขาเอง
โฆษณา