7 ธ.ค. 2020 เวลา 11:30 • ธุรกิจ
ปี 2020 เป็นปีที่ศรีจันทร์ยกเครื่องเรื่องระบบ Culture และการประเมินผลครั้งใหญ่ ประกอบกับช่วงโควิดด้วย เราก็เลยถือโอกาสในการเปลี่ยนอะไรหลายๆ อย่างที่เราเคยคิดอยากจะทำและยังไม่ได้ทำสักที
1
เวลาจะทำอะไรแบบนี้ ผมมักหาต้นแบบที่เราอยากให้เป็นก่อน เมื่อนึกถึงเรื่องคนกับ Culture บริษัทแรกเลยที่ผมนึกถึงคือ Wongnai เลยถือโอกาสติดต่อ คุณ รุตม์ อานนทวงศ์ มฤคพิทักษ์ Head of People ที่ Wongnai ซึ่งผมก็ติดตามผลงานของคุณรุตม์มาพอสมควร
เลยชวนคุณรุตม์มาช่วยวางรากฐานของระบบนี้ให้ โดยเอาโครงสร้างมาจากที่คุณรุตม์ทำที่ Wongnai มาปรับนิดหน่อยให้เข้ากับบริบทและสถานการณ์ขององค์กรของเราครับ ต้องบอกว่าสิ่งที่คุณรุตม์มาช่วยพวกเรานั้น ทำให้เราได้เห็นมุมมองใหม่เยอะมากๆ ครับ
2
หนึ่งในเรื่องที่ผมคิดว่าสำคัญมากคือประเด็นเรื่องการประเมินและการคัดเลือกคน ซึ่งจริงๆ แล้วมีความเชื่อมโยงกันสูงมากทีเดียว
เรื่องที่ผมอยากเขียนถึงเป็นพิเศษคือการประเมินผลแบบ ตัวอักษร + ตัวเลข ซึ่งแนวคิดคือ การประเมินผลงานจะไม่ได้ดูแค่เพียง Performance อย่างเดียว แต่ยังดูไปถึงเรื่อง Cultural Fit อีกด้วย
หลักการของการประเมินผลเป็นแบบสองแกนง่ายๆ ดังนี้ครับ
แกน Performance (แกน Y) จะเป็นเลข 0, 1, 2, 3
0: ขาดทักษะและสามารถรับผิดชอบในงานของตนเองได้เพียงบางอย่าง ต้องการความช่วยเหลืออยู่เสมอ
1: มีทักษะและสามารถรับผิดชอบในงานของตนเองได้
2: มีผลงานโดดเด่น ทำผลงานได้ดีมากกว่าที่คาดหวังไว้ ทำงานที่ส่งผลกระทบในทางบวกอย่างชัดเจนให้กับบริษัท
3: มีผลงานโดดเด่นในระดับ Top 10%
ส่วนเรื่อง Value/ Cultural Fit (แกน X) จะเป็น A, B, C
1
C: ไม่เข้าใจและมีทัศนคติด้านลบ ปล่อยพลังงานด้านลบออกมาอย่างต่อเนื่อง
B: เข้าใจและมีทัศนคติที่สอดคล้องกับ Core values ของ Srichand ซึ่งก็คือ Outcome, Adaptability, Accountability, Speed ในระดับที่ดี
A: แสดงทัศนคติที่ดีออกมาจนกระทั่ง Lead Core Values by Example ได้ ปล่อยพลังงานด้านบวกออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น
คะแนนจะเป็นตัวเลขกับตัวอักษร เช่น 1B อันนี้คือ Performance โอเค Culture ก็โอเคด้วย อาจจะเรียกว่าเป็นนีโม่ก็ได้
1
จะมีบางคนที่ Performance ดีมากๆ แต่ทัศนคติแย่ คะแนนก็อาจจะเป็น 2C หรือ 3C
กรณี 3C เรียกว่าเป็นปลาปิรันยา คือทำงานดีมาก แต่ไปที่ไหน ราบเป็นหน้ากลอง คือ IQ อาจจะดีแต่ EQ แย่มาก ใครทำงานด้วยก็จะสุขภาพจิตเสียมากๆ
ตรงกันข้ามในอีกแกนหนึ่งคือ 0A (ศูนย์ A) ซึ่งเราจะเรียกว่า ปลาทอง คือคนที่ตกอยู่ในกลุ่มนี้มีทัศนคติ ดีเยี่ยม เพื่อนๆ รัก แต่คุณภาพงานแย่มากก็มี
ทั้ง 3C และ 0A จะได้รับการตักเตือนพร้อมเสนอแนวทางแก้ไข โดยอาจจะให้เวลา 3-6 เดือน ในการปรับตัวขึ้นอยู่กับกรณี และถ้ายังเปลี่ยนไม่ได้ก็คงต้องแยกทางกันแต่โดยดี
ส่วนคนที่ได้ 3A อาจจะเปรียบเทียบได้กับโลมา เราจะถือว่าเป็นกลุ่มที่ต้องรักษาไว้อย่างดีที่สุด
เรื่องนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะองค์กรไม่ได้ขับเคลื่อนด้วย Performance (โดยเฉพาะ Past Performance) แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังขับเคลื่อนด้วยมิติอื่นด้วย ซึ่งมิติอื่นที่ว่ามักมี Culture เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ
ตัวอย่างเช่น การเลือก Culture มีความสำคัญใน มิติด้าน Innovation ด้วย เพราะหลายครั้ง งานที่อยู่ใน Stage ของ Innovation หลายครั้งก็ไม่สามารถที่จะประเมินออกมาในเชิง Performance ได้ ดังนั้นบางที Innovation อาจจะเกิดจาก Cultural Fit ก็เป็นไปได้
Culture ไม่มีผิดไม่มีถูก มีแต่ที่เหมาะสมกับไม่เหมาะสมกับองค์กรเรา เหมือนที่คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน เคยเล่าเรื่องปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็มไว้ น้ำจืด น้ำเค็ม ก็เหมือนวัฒนธรรมองค์กร เราต้องรู้ก่อนว่า เราเป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็ม แล้วจึงเลือกปลามาให้ถูกต้อง
การประเมินสองแกนแบบนี้จะช่วยให้เราได้คนที่มี ความสามารถและมีทัศนคติไปในแนวทางที่องค์กรต้องการด้วย และแน่นอนว่าการประเมินแบบนี้ทำให้เราสามารถใช้ทรัพยากรให้ถูกด้วยว่าแต่ละคนควรถูกพัฒนาในมิติใดบ้าง
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ลักษณะแนวคิดแบบนี้ต้องถูกนำไปใช้ตอนรับคนเข้ามาในองค์ด้วย เพราะเราจะรับคนแค่ Performance อย่างเดียวไม่ได้ เราต้องเลือกคนที่ Cultural Fit ด้วย
เหมือนที่ Brian Chesky CEO ของ AirBNB เคยกล่าวไว้ว่า
“Culture is simply a shared way of doing something with a passion.”
“วัฒธรรมองค์กรคือหนทางในการทำบางสิ่งร่วมกันด้วยความหลงใหล”
4
โฆษณา