5 ธ.ค. 2020 เวลา 04:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความสุขของพ่อแม่สูงอายุ 👵🧓 ต่างจากคนหนุ่มสาวยังไง?
3
เมื่อถึงวันพ่อทีไร เชื่อว่าลูกวัยทำงานหลายคนอาจจะกำลังคิดว่าจะทำอะไรให้เป็นของขวัญวันพ่อดี
5
หลายคนอาจจะเลือกร้านอาหารแปลก ๆใหม่ๆ
บางคนพยายามหาวิธีเซอร์ไพรส์พ่อด้วยการพาไปเที่ยวที่แปลกๆ
1
แต่เชื่อว่าจะมีหลายคนที่รู้สึกผิดหวังเพราะพ่อกับแม่มักจะไม่ได้รู้สึกสนุกหรือตื่นเต้นเหมือนที่เราคิด
4
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
1
คำตอบมันอยู่ที่การเข้าใจว่า ....
สมองของคนสูงอายุ ทำงานต่างไปจากสมองของคนอายุน้อยเล็กน้อยครับ
1.
เราทุกคนรู้กันดีว่าร่างกายผู้ชายและผู้หญิงนั้นต่างกัน เช่น
ผู้ชายมีแนวโน้มจะสูงกว่า ตัวใหญ่กว่า กล้ามเยอะกว่า
ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะนมใหญ่กว่า สะโพกผายกว่า ผิวเนียนกว่า เป็นต้น
แต่ความต่างนี้ ไม่ได้จำกัดแค่ร่างกายตั้งแค่คอลงไปเท่านั้น แต่สมองของผู้ชาย ผู้หญิงและเพศตรงกลางอื่นๆก็มีความแตกต่างกันด้วย
และความต่างนี้ก็มีผลให้เพศต่างๆ มีความคิด อารมณ์ การรับรู้อารมณ์คนอื่น การรับรู้กลิ่น การเห็นสี ที่ต่างกันไปบ้าง (ต่างกันไม่มากนัก แต่ก็มีส่วนที่ต่าง)
1
สมองของคนสูงอายุก็เช่นกัน คือมีบางอย่างที่ต่างไปจากคนวัยหนุ่มสาว
1
2.
โดยทั่วไปเมื่อเราพูดถึงสมองของคนสูงอายุ เรามักจะนึกถึงคำว่า "เสื่อมลง" หรือ "ทดถอย" คือ เราคิดว่า สมองของคนสูงอายุจะด้อยลงจากที่เคยเป็น ทำให้คนสูงอายุ คิดได้ช้าลง จำได้น้อยลง ปรับตัวได้ยากขึ้น
8
แต่จริงๆแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปครับ จริงอยู่ว่าสมองของคนที่อายุมากขึ้น มีแนวโน้มจะทำงานหลายๆอย่างได้ลดลง
แต่ก็มีบางอย่างที่สมองของคนสูงอายุทำงานได้ดีกว่าตอนเป็นวัยหนุ่มสาว  (แล้วมีคนสูงอายุบางคนสมองแทบไม่เปลี่ยนไปจากตอนหนุ่มสาวเลย เรียกว่า super-ager )
6
ดังนั้นเราอาจจะต้องพูดว่า สมองของคนสูงอายุ "ต่างไป" จากคนหนุ่มสาว เพราะแม้ว่าหลายอย่างจะด้อยลง แต่บางอย่างก็ดีขึ้น
3
ปกติสมองของคนอายุน้อยจะทำงานได้เร็วกว่า คิดหรือเข้าใจตรรกะต่างๆได้เร็วกว่า ฟังเรื่องใหม่ๆยากๆแล้วเก็ทได้เร็วกว่า
3
สมองของคนสูงอายุแม้ว่าจะไม่เฉียบคมเท่า แต่คนสูงอายุจะเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกันได้ดีกว่า
15
ผลของการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้คนสูงอายุมองภาพใหญ่ได้ดีกว่า มองเห็นแบบแผนต่างๆที่ซ่อนอยู่ได้ดีกว่า
8
ถ้าจะเทียบเป็นภาพก็อาจจะบอกได้ว่า ถ้าให้วิ่งแข่งกัน สมองคนหนุ่มสาวจะออกตัวเร็ว วิ่งได้เร็ว คล่องแคล่วกว่า แต่สมองของคนสูงอายุจะไปช้าๆ มองภาพจากมุมกว้าง แล้วค้นพบทางลัดที่ซ่อนอยู่ ทำให้ไปถึงจุดหมายได้เร็วโดยไม่ต้องใช้วิธีการเดียวกับคนหนุ่มสาว
7
หรือ อาจจะพูดว่า คนหนุ่มสาว มองปัญหาหนึ่งแล้วเห็นต้นไม้จำนวนมากที่หลากหลายซับซ้อน แต่คนสูงอายุมองปัญหาเดียวกัน แล้วเห็นเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง
4
สมองของคนสูงอายุ ยังสามารถอ่านอารมณ์ เข้าใจอารมณ์
และเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้ดีกว่า
4
ดังนั้นเราจึงเห็นว่าในองค์กรที่มีแต่คนอายุน้อยๆ ฉลาดๆ ไฟแรงๆ ก็มีความเสี่ยงของการกระทบกระทั่ง แตกแยกได้สูงกว่า
4
ในทางตรงกันข้ามองค์กรที่มีคนสูงอายุอยู่บ้าง แม้ว่าคนสูงอายุจะไม่เฉียบคมเหมือนเดิม แต่มีความสามารถในการเข้าอกเข้าใจคนอื่น ซึ่งจะช่วยเชื่อมหรือประสานรอยร้าวของคนหนุ่มสาวที่ไฟแรง ให้สามารถทำงานไปด้วยกันได้อย่างงราบรื่นได้มากขึ้น
5
สมองของคนสูงอายุที่เปลี่ยนไป ยังมีผลให้มองโลกเปลียนไป คือ จะมองเห็นด้านบวก เห็นโลกในแง่ดีมากขึ้น ละเลยหรือสนใจด้านลบน้อยลง สมองคนสูงอายุยังเลือกจำแต่สิ่งดีๆมากขึ้น ทำให้อารมณ์ทางลบเกิดขึ้นน้อยลง
6
ในแง่นี้ก็อาจจะเรียกได้ว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะแม้ว่าจะทำให้คนสูงอายุมีแนวโน้มจะมีความสุขมากขึ้น แต่ในแง่การทำงาน เช่น ในองค์กรที่มีผู้บริหารสูงอายุมากๆ ก็อาจจะทำให้มองไม่เห็นหรือไม่ได้วางแผนเผื่อสำหรับเหตุการณ์ร้ายๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
2
3.
ในแง่ของความสุขนั้น คนสูงวัยก็มีมุมมองของความสุขที่ต่างไปจากคนหนุ่มสาว คือ
คนหนุ่มสาว มักจะมีความสุขเมื่อได้พบประสบการณ์ชีวิตแบบใหม่ๆ เช่น เดินทางไปในที่ใหม่ๆ ได้ไปต่างประเทศ ได้ลองกินอาหารใหม่ๆ ได้สิ่งของใหม่ๆ เจอคนใหม่ๆ
21
แต่เมื่ออายุมากขึ้น สมองจะมองหาความสุขกับสิ่งธรรมดาๆที่สมองคุ้นเคย
หรือพูดง่ายๆคือ คนสูงอายุสามารถมีความสุขกับสิ่งที่เห็นเป็นปกติในชีวิตประจำวันทั่วไปได้ง่าย (ขณะที่คนหนุ่มสาวอาจจะมองว่าน่าเบื่อ) เช่น การไปนั่งในสวนที่คุ้นเคย การได้ไปกินข้าวในร้านอาหารที่เคยกินตอนหนุ่มสาว การได้ทำอาหารให้ลูกหลานกินในบ้านตัวเอง
8
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะสมองของคนหนุ่มสาวยังไม่มีความทรงจำ ประสบการณ์หรือเรื่องราวดีๆ ใหม่ๆ สะสมไว้มากเพียงพอที่จะเรียกมาใช้กับสิ่งที่จำเจเหล่านั้น
3
แต่คนสูงอายุ มีแนวโน้มที่จะมีความทรงจำดีๆ เก่าๆ มากมายให้นึกถึงกับสถานที่หรือชีวิตประจำวันที่ธรรมดาๆ
สวนที่เคยนั่งประจำอาจจะเป็นที่ซึ่งเคยพาลูกมาหัดเดิน
ร้านอาหารธรรมดาเป็นร้านที่เคยมาประจำสมัยยังยากจนเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวกับคู่ชีวิต
10
4.
1
ถึงตรงนี้ผมก็อยากจะขอแทรกประสบการณ์ตัวเองเรื่องนึงสมัยที่ผมเพิ่งจะจบหมอใหม่ๆ
มีคุณยายท่านหนึ่งลูกสะใภ้พามาตรวจที่โรงพยาบาล
หลังการตรวจเสร็จสิ้นก่อนที่จะคุณยายและลูกสะใภ้จะออกจากห้องตรวจ ลูกสะใภ้ก็หันมาพูดกับผมว่า
คุณหมอ ช่วยเตือนคุณแม่ให้หน่อยสิคะ คุณแม่ชอบแอบขึ้นรถไปซื้อขนมที่ตลาดคนเดียวตลอดเลย ลูกหลานห้ามก็ไม่ฟัง คุณแม่เดินก็ไม่แข็งแรง หูก็ได้ยินไม่ชัด กลัวว่าจะเป็นอันตราย หนูบอกว่าจะไปซื้อให้ก็ไม่ยอม เผลอทีไรก็ออกไปเอง
1
ก่อนที่ผมจะพูดอะไร คุณยายก็หันมาพูดว่า
ยายแก่แล้ว ปวดนู่นนี่ไปหมด ร่างกายมันไม่ได้สุขสบายอะไร
อยู่นานไปมันก็ไม่ได้มีความสุขอะไร
ความสุขของชีวิตก็คือการได้ดูแลลูกหลาน
ขนมที่ไปซื้อ ก็ซื้อมาให้หลาน เหมือนที่เคยทำให้พ่อหลานกินตอนเด็กๆ
2
ฟังแล้วเราก็เข้าใจทั้งคุณยายและลูกสะใภ้ ใช่ไหมครับ?
ตัวลูกสะใภ้เองก็กลัวจะโดนญาติพี่น้องต่อว่า ไม่ยอมดูแล ปล่อยให้คุณแม่ต้องลำบากไปซื้อขนมเอง
1
แต่ตัวคุณยายเองกลับมองต่างไป ตอนลูกยังเด็กเคยทำขนมให้ลูกกิน
ทุกวันนี้ทำไม่ไหวแล้ว ที่พอจะทำได้ก็คือการออกไปซื้อขนมให้หลานกิน
ฝากคนอื่นซื้อให้มันก็ไม่เหมือนกับการไปเดินทางไปเลือกซื้อมาด้วยตัวเอง
8
กิจกรรมเล็กน้อยที่สุดแสนจะธรรมดาในสายตาลูกหลานนี้
แต่สำหรับคุณยายแล้วมันคือความสุขของแต่ละวัน
6
เหตุการณ์เล็กๆนี้ บางครั้งมันก็ช่วยเตือนใจเราเหมือนกันใช่ไหมครับ
หลายครั้ง เราลงทุนลงแรงพยายามที่จะทำอะไรที่มันพิเศษมากๆให้กับญาติผู้ใหญ่
เราลำบากเก็บเงินเพื่อพาไปเที่ยวต่างประเทศ หรืออดมื้อเย็นเป็นเดือนเพื่อพาพ่อแม่ไปกินอาหารแพงๆหรูๆในวันพิเศษ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆเหล่านั้น อาจไม่ได้มีผลต่อความสุขที่เพิ่มขึ้นมากนัก
5
ยิ่งถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้ เราเองเสียอีกที่อาจจะผิดหวังว่า อุตสาห์พยายามตั้งมากมาย แต่ทำไมท่านกลับไม่ตื่นเต้นหรือสนุกกับมันเลย
1
เพราะแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สำคัญจริงๆสำหรับคนสูงอายุ
อาจเป็นแค่ได้ใช้เวลาร่วมกันทั้งครอบครัวเพื่อทำสิ่งธรรมดาๆทั่วไปเท่านั้นเอง ...
9
(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)
อยากเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาและสมองมากขึ้น
แนะนำให้อ่านเล่ม 500 ล้านปีของความรัก
สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ลิงก์ข้างล่างเลยนะคะ
โฆษณา