5 ธ.ค. 2020 เวลา 12:12 • ธุรกิจ
K-STARTUP ยุทธศาสตร์พัฒนาชาติเกาหลีใต้ยุคใหม่
ลดพึ่งเสาหลัก “แชโบล์” สร้างเสาหลักใหม่จากสตาร์ตอัพ
ความน่าสนใจของสเต็ปการพัฒนาธุรกิจ และอุตสาหกรรมของหนึ่งในประเทศชั้นแนวแห่งหน้าเอเชียอย่าง “เกาหลีใต้” เป็นกรณีศึกษาที่น่านำเอามาคิดต่อว่า ทำไมประเทศที่ในอดีตแทบจะไม่มีเวลาสร้างเอกราชเป็นของตัวเอง เพราะถูกครอบครองโดยจักรวรรดิต่างชาติเกือบตอลดเวลา เช่น จีน หรือ ญี่ปุ่น นับเป็นอาณาจักรที่เรียกได้ว่าง่อนแง่นที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออก พอมาถึงยุคสงครามโลกก็ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นซ้ำอีก ในยุคสงครามเกาหลีประเทศก็ต้องแยกออกเป็นสองดินแดน
3
เจอภาวะหนักหนาสาหัสมานับครั้งไม่ท้วน แถมหลังสงครามก็กลายเป็นประเทศที่อยู่ในอันดับท้ายแถวของโลกที่นับว่าเข้าขั้นยากจนที่สุดเคียงบ่าเคียงไหล่มากับประเทศไทย
3
แต่เกาหลีใต้สามารถฟื้นตัวและรุดหน้าได้เร็วส่วนหนึ่งก็มาจากการที่รัฐบาลใช้ยุทธศาสตร์ของการที่ให้เอกชนรายใหญ่ของประเทศครอบงำระคนค้ำจุนเศรษฐกิจทั้งระบบ ซึ่งถ้าใครคุ้นหูกับคำว่า “กลุ่มแชโบล์” ก็คงจะทราบว่าเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดหรือราว 80% ของเกาหลีใต้อยู่ภายใต้อำนาจของเอกชนรายใหญ่ระดับบิ๊กของโลกไม่กี่บริษัท ไม่กี่ตระกูลเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย Samsung, SK Group, Hyundai, LG และ Lotte
3
คิดเล่นๆ ว่า ถ้า 5 บริษัทนี้ล้มพร้อมกันรวดเดียว เศรษฐกิจของเกาหลีใต้คงถึงคราพินาศอย่างแน่นอน เพราะไม่ใช่แค่กิจการของบริษัทเหล่านี้ที่จะล้มลง แต่มันจะพาบริษัทอื่นๆ ที่มีสายสัมพันธ์ทั้งทางธุรกิจ และเครือญาติในวงตระกูลผู้ครอบครองและอีกนับร้อยนับพันบริษัทให้ล้มตามๆ กันไปด้วย
เพื่อเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษกิจของประเทศเกาหลีใต้ที่นับตั้งแต่ก่อร่างสร้างประเทศจนเติบโตขึ้นมาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเทคโนโลยีของโลกได้ด้วยพลังของกลุ่มแชโบล์ เกาหลีใต้เลยเร่งผลักดันให้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก สตาร์ทอัพ รวมทั้งเอสเอ็มอี ได้มีโอกาสเติบโตงอกเงยขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งเสาหลักใหญ่ในการค้ำจุนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อแชร์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัจจัยที่ความคุมไม่ได้ในอนาคต
5
ดังนั้นขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมที่สุดคือการสร้างหน่วยงานที่จะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสตาร์ทอัพ (Start-up) ขึ้นมาใหม่ที่มีชื่อว่า K-STARTUP นั่นเอง
K-STARTUP กำเนิดขึ้นในปี 2016 โดยรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นผู้ริเริ่มและผลักดันขึ้นมา ผ่านสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีแห่งชาติ (NIPA) และได้รับทุนจากกระทรวงเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นกระทรวงที่ตั้งขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ เพื่อบ่มเพาะธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ ให้เติบโต ไม่เพียงเท่านั้นยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มแชโบล์ยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้กับธุรกิจลูกเจี๊ยบเหล่านี้ ก่อนที่จะเติบโตเต็มไวและออกไปสยายปีกเติบโตบนโลกธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง
6
นโยบายนี้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเกาหลีใต้เพื่อริเริ่มโครงการสนับสนุนสำหรับสตาร์ทอัพโดยทุ่มงบประมาณลงไปเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 60,400 ล้านบาทต่อปี เพื่อสร้างระบบนิเวศที่รองรับสตาร์ทอัพให้เติบโต
7
ในทุกๆ ปีก็จะมีการจัดการแข่งขัน Startup Grand Challenge เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีฝัน และต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเองมาเข้าโครงการ ซึ่งสามารถเป็นทั้งชาวเกาหลีใต้ หรือชาวต่างชาติก็ได้ โดยการคัดเลือกจะมีความเข้มข้นตั้งแต่ก้าวแรกที่สมัครเข้ามา จนกระทั้งสามารถเข้าสู่โปรแกรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพ หรือ Accelerators และจะได้ไปเข้าร่วมโปรแกรมในการสร้างธุรกิจเป็นเวลา 3 เดือนที่ศูนย์ที่ Pangyo ทางตอนใต้ของกรุงโซล
4
ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโครงดารสตาร์ทอัพหน้าใหม่จะต้องพัฒนาบริษัทหรือสินค้าของตัวเอง โดยผ่านคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัทที่มีชื่อเสียงต่างๆ ที่สละเวลามาดูแลให้กับลูกเจี๊ยบเหล่านี้ได้แก่ Samsung, Hyundai Motors, SK, LG, Lotte, GS, Hanwha, Hanjin, Doosan, KT, CJ, Hyosung, Kakao และ Naver รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศที่ก็ได้รับเชิญให้เข้ามาร่วมผลักดันให้ศูนย์อนุบาลแห่งนี้มีเล่าสตาร์ตอัพตัวน้อยๆ เติบโต
ที่สำคัญสตาร์ตอัพเหล่านี้จะเป็นที่จับตาอย่างยิ่งของเหล่านักลงทุน เพราะถ้านักลงทุนเห็นแววว่ารายใดมีความน่าสนใจ และสามารถเติบโตได้ก็อาจเสนอการลงทุนในตราสารทุน การสร้างโอกาสต่างๆ ที่เข้าถึงเครือข่ายระดับนานาชาติของผู้ให้คำปรึกษาจากบริษัทชั้นนำชื่อดังระดับโลก ผู้ก่อตั้งธุรกิจต่างๆ และนักลงทุนจากหลากหลายสาขาที่มีความเชี่ยวชาญอย่างกว้างขวาง อีกทั้งเหล่าธุรกิจสตาร์ทอัพ จะได้เข้าถึงแล็ป State of the art R&D labs ซึ่งจะมีการเทรนเพิ่มเติมในด้านต่างๆ สอนวัฒนธรรมธุรกิจ ตลอดจนหัวข้อในแง่ธุรกิจแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ประเด็นสิทธิบัตร กฎระเบียบทางบัญชี กฎหมายภาษี การฝึก Pitching รวมทั้งการมอนิเตอร์แบบตัวต่อตัวจาก VCs ระดับชั้นนำ
2
ไม่เพียงเท่านั้นในวัน Demo Day ซึ่งเป็นวันที่สตาร์ตอัพเหล่านี้จะต้องนำผลงานของธุรกิจตัวเองมาแข่งกันพรีเซนต์ หากชนะการแข่งขันอันดับ 1 ก็จะได้รับเงินรางวัลสูงถึง 120,000 ดอลลาร์ พร้อมกับทุนในการดำเนินธุรกิจในทุกๆ เดือน มีออฟฟิศและอุปกรณ์สำหนักงานอย่างดีให้อีกด้วย
1
และเพื่อสานต่อวัฒนธรรมสตาร์ตอัพไปสู่เยาวชนรุ่นใหม่ ก็จะมีการคัดเลือกนักศึกษาฝึกงานมาร่วมฝึกงานกับธุรกิจอีกด้วย เพื่อให้เด็กๆ รุ่นต่อไปได้ซึมซับความเป็นเจ้าของกิจการ และจุดประกายความฝันของการเป็นสตาร์ตอัพ เพื่อวันหนึ่งคนเหล่านี้จะเข้ามาแข่งขันสร้างธุรกิจกับ K-STARTUP ในอนาคต
2
นี่ถือเป็นการเล่าแบบหยาบๆ ไม่ได้ลงรายละเอียดแบบเจาะลึก แต่ก็คงจะพอให้เห็นแล้วว่าทิศทางการพัฒนาประเทศในขึ้นต่อไปของเกาหลีใต้กำลังเดินไปสู่ทิศทางใด ซึ่งถ้าใครที่เป็นแฟนซีรีย์เกาหลีเรื่อง Start-Up ที่กำลังฉายอยู่ทาง Netfix ตอนนี้ก็คงจะพอมองภาพออกว่า กว่าที่สตาร์ตอัพสักตัวหนึ่งจะคลอดออกมาได้และเติบโตอย่างมั่นคงมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
4
ที่สำคัญซีรีย์เรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาสตาร์ตอัพของประเทศ เพราะมันจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับชาวเกาหลีผ่านสื่อบันเทิง ซึ่งในเกาหลีใต้ซีรีย์เรื่องนี้ก็ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน
3
กลับมามองที่ประเทศไทยของเราที่มีการพูดถึงสตาร์ตอัพกันมาสักพัก และมักถูกถามว่าไทยมีหน่วยงานในการผลักดันเรื่องของธุรกิจสตาร์ตอัพหรือไม่?
คำตอบคือมี เช่น NIA หรือสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ก็มีการให้ทุนสนับสนุนสตาร์ทอัพเช่นกัน แต่คนนอกวงการอาจจะไม่ค่อยรู้ หรือไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้
ส่วนที่ว่าทำไมสตาร์ทอัพของไทยถึงยังไม่มีตัวใดที่เติบโตจนเป็นระดับยูนิคอนได้นั้นมันก็มีปัจจัยหลายอย่างเช่น การพัฒนาไปไม่ถึงฝั่งฝัน หรือพอพัฒนามาได้เติบโตสักระยะแล้วก็จะถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มทุนรายใหญ่ให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยธุรกิจในองค์กรนั้นๆ อีกอย่างคนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่เข้าใจว่าสตาร์ทอัพคืออะไร เพียงแค่เคยได้ยินเรียกชื่อตามๆ กันมา แต่ไม่เข้าใจหลักความหมายและธรรมชาติที่แท้จริงของ ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้ที่ต้องส่งเสริมกันไป เพื่อให้สังคมเข้าใจว่าสตาร์ตอัพไม่ใช่เรื่องไกลตัวเข้าใจยาก
10
แต่กว่าจะเข้าใจกันหมดก็ไม่รู้ว่าตอนนั้นประเทศอื่นๆ ได้ก้าวนำหน้าไปอีกกี่ขั้นแล้ว
บทส่งท้าย...ในขณะที่สื่อบันเทิงเกาหลีใต้สามารถทำให้ละครหรือซีรีย์ที่มีสาระความรู้ สร้างปรากฎการณ์ในสังคม สร้างเรตติ้ง หรือเกิดเป็นกระแสฟีเวอร์ได้ แต่ในบ้านเราละครที่เรตติ้งดีที่สุดก็คงเป็นละครที่ผู้จัดมักชอบอ้างว่า “สะท้อนสังคม” สังคมแห่งการแย่งผัวแย่งเมียชาวบ้าน สังคมแห่งเรื่องรักๆ ใคร่ๆ สังคมแห่งการจิกหัวด่ากันหยาบๆ ตบตีกัน แต่ละครน้ำดีที่ส่งเสริมการพัฒนากลับได้รับความนิยมน้อย เรตติ้งไม่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ซึ่งเราคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะทำละคร “นำสังคม” ให้ก้าวหน้าได้
7
เพราะละครสะท้อนสังคม มันก็สะท้อนรสนิยมของผู้ชมในประเทศนั่นเองว่า มีคุณภาพประชากรเป็นเช่นไร?
1
โฆษณา