6 ธ.ค. 2020 เวลา 05:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จีนประกาศความสำเร็จด้วยการปักธงชาติบนดวงจันทร์
ภารกิจชางอี-5 (Chang’E 5) สำหรับการสำรวจดวงจันทร์และเก็บตัวอย่างหินและดินกลับสู่โลก ได้ดำเนินการมาถึงขั้นตอนที่สามารถนำอวกาศยาน Ascender และ Lander ลงจอดบนดวงจันทร์อย่างสมบูรณ์ในลักษณะ Soft Landing และได้ทำการเก็บตัวอย่างหินและดินน้ำหนัก 2 กิโลกรัมแล้วห่อหุ้มไว้ในลักษณะสูญญากาศ ใช้เวลาทั้งสิ้นในขั้นตอนนี้ 19 ชั่วโมงหลักจากลงจอด
จุดที่ Chang'E 5 ลงจอดบนดวงจันทร์
ชมวีดีโอการเก็บตัวอย่างของ Chan"E 5
หลังจากนั้น เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 3 ธ.ค.63 เวลา 23.10 ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่งประเทศจีน หรือ เวลา 22.10 ตามเวลาประเทศไทย ส่วนอวกาศยาน Ascender ได้จุดระเบิดยกตัวขึ้นออกจากอวกาศยาน Lander ซึ่งเป็นแพด (Pad) สำหรับการปล่อยอวกาศยาน Ascender สำหรับเดินทางออกจากพื้นผิวดวงจันทร์อย่างสำเร็จ
อวกาศยาน Ascender ต้องทำการบินโคจรไปพบ (Rendezvous) และเชื่อมต่อ (Docking) กับอวกาศยาน Orbiter เพื่อกลับสู่พื้นโลก โดยทุกขั้นตอนเป็นวางโปรแกรมการทำงานปราศจากการสั่งการจากส่วนควบคุมภาคพื้น ซึ่งหากทำสำเร็จจะเป็นการจบอีกขั้นตอนหนึ่งอันเป็นภารกิจที่ท้าทายเป็นอย่างมาก เนื่องจากทุกขั้นตอนต้องได้รับการคำนวณไว้อย่างดี โดยในยุคการเดินทางไปดวงจันทร์ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) เคยฝึกขั้นตอนการเชื่อมต่อกับอวกาศยานเอจีนา (Agena) ในเที่ยวบินจีมินี 8 (Gemini 8) เมื่อปี พ.ศ.2509 ของโครงการจีนิมี (Gemini) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อเตรียมส่งคนไปลงบนดวงจันทร์ในเวลาต่อมา
3
การดำเนินการครั้งนี้เจ้าหน้าที่ของจีนได้กล่าวถึงการทำงานในลักษณะที่ไม่มีการส่งคำสั่งจากส่วนควบคุมบนโลกเนื่องจากว่าหากอวกาศยานที่อยู่บนดวงจันทร์ต้องรับคำสั่งการจุดระเบิดและยกตัวขึ้นจากส่วนควบคุมอาจจะเกิดการล่าช้าต่อการรับคำสั่งและจะมีผลต่อขั้นตอนการแยกตัว รวมทั้งความสูงและความเร็ว โดยอาจเป็นเหตุต่อความเสี่ยงได้
1
ยิ่งกว่านั้นภารกิจชางอี 5 ครั้งนี้ จีนได้ประกาศถึงความสำเร็จต่อการปักธงชาติจีนบนพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งลักษระของธงมีพื้นธงเป็นสีแดงและมีรูปดาว 5 ดวงสีเหลืองมีขนาด 200 เซนติเมตร X 90 เซนติเมตร แม้ว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกต่อการปักธงลงบนดวงจันทร์ ซึ่งเคยทำมาแล้ว 2 ครั้ง ในภารกิจชางอี 3 และ ชางอี 4 หากแต่ครั้งนี้ธงที่ปักนั้นทำจากเนื้อผ้าแท้ เหมือนที่ใช้งานอยู่ทั่วไปบนโลก
ชมวีดีโอวิธีการปักธงชาติจีน
ธงที่ปักในภารกิจก่อนหน้านี้ เป็นธงคงที่ในลักษณะการเคลือบสาร (Craft Coating) ไม่ได้เป็นเนื้อผ้าที่แท้จริง ซึ่งหากใช้เนื้อผ้าจริงจะทำให้ไม่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมความเย็นและความร้อนมากบนดวงจันทร์ได้ อีกทั้งอาจจะทำให้สีบนธงชาติเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งต้องทนต่อสภาพแวดล้อมระหว่างการเดินทางจากโลกไปดวงจันทร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและการแผ่รังสีซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้การทำธงจากเนื้อผ้าสำหรับโครงการนี้ต้องได้รับการคัดเลือกวัสดุผ้าอย่างพิเศษผ่านกระบวนการที่สำคัญเพื่อให้ธงนี้อยู่ในสภาพเดิมตลอดไป รวมทั้งขั้นตอนการกางธงออกอย่างสมบูรณ์ต้องได้รับการออกแบบและคำนวณเหมือนกับการกางออกของแผงโซลาร์เซลของดาวเทียมในอวกาศ จึงกล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกที่สามารถปักธงซึ่งทำจากเนื้อผ้าบนพื้นผิวดวงจันทร์
3
สำหรับขั้นตอนต่อไป เป็นขั้นตอนการพบและเชื่อมต่อระหว่างอวกาศยาน Ascender ซึ่งออกจากดวงจันทร์กับอวกาศยาน Orbiter ที่โคจรรอบดวงจันทร์ด้วยความสูง 200 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ หลังจากเชื่อมต่อได้แล้วเป็นขั้นตอนการขนถ่ายตัวอย่างหินและดินที่เก็บขึ้นมากได้จากอวกาศยาน Ascender ไปยังอวกาศยาน Orbiter เมื่อเสร็จสิ้น อวกาศยาน Ascender จะแยกตัวออก มีเพียงแต่อวกาศยาน Orbiter เดินทางกลับสู่พื้นผิวโลก โดยเมื่อเดินทางเข้าใกล้บรรยากาศโลก ส่วนแคลซูล (Capsule) จะแยกตัวออกมาและตกลงสู่พื้นดินในบริเวณพื้นที่ปกครองตนเองมองโกเลีย ตอนเหนือของจีน ในกลางเดือน ธ.ค.63
หากภารกิจนี้สำเร็จ ประเทศจีนจะเป็นประเทศที่ 3 สำหรับการเก็บตัวอย่างหินและดินจากดวงจันทร์กลับมาสู่โลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เก็บกลับมาในโครงการอพอลโล (Apollo) และสหภาพโซเวียตในโครงการลูนา (Luna) ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป
มารู้จักกับเราเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา