Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังประวัติศาสตร์ไทย
•
ติดตาม
7 ธ.ค. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
“ถนนเจริญกรุง” จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองของกรุงเทพฯ ตัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ จากการถวายคำร้องจากชาวตะวันตกเพื่อใช้ในการขับรถม้าและขี่ม้า..
แม้ว่ากรุงเทพฯ จะมีถนนมาตั้งแต่เริ่มสร้างกรุง แต่ก็เป็นถนนเพื่อใช้ในพระราชพิธีเป็นหลัก ไม่ได้มีบทบาททางด้านการคมนาคมและการค้าขาย แต่เมื่อมีชาวตะวันตกเข้ามาตั้งห้างค้าขาย ประกอบอุตสาหกรรมต่อเรือ โรงสี โรงเลื่อย และดำเนินกิจการขนส่งสินค้าต่าง ๆ หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง ทำให้เกิดการขยายตัวเมืองลงไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา
รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนชาวตะวันตกเข้ามาตั้งสถานกงสุลนอกเหนือจากโปรตุเกสที่เข้ามาก่อนหน้านั้นแล้ว บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ ปากคลองผดุงกรุงเกษม ถัดจากชุมชนชาวจีน (ที่อาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นแล้ว
การตัดถนนเจริญกรุงมีเหตุมาจากการถวายคำร้องของชาวตะวันตกซึ่งขอให้การตัดถนนเพื่อจะได้ใช้ม้าใช้รถให้ถูกลมเย็นจะได้ไม่ป่วยไข้ ซึ่งเดิมชาวตะวันตกไม่มีที่ให้ขี่ม้าและขับรถม้า จึงฝ่าฝืนไปใช้พื้นที่ในบริเวณท้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ไปดูงานราชการที่สิงคโปร์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ เมื่อกลับมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเจริญกรุงขึ้นมา (เชื่อมต่อกัน ๓ สายจากคลองผดุงกรุงเกษม ไปจนถึงคลองดาวคะนอง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๐๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนต่อจากคลองผดุงกรุงเกษมเข้าไปยังพระนครในชั้นแรก โดยได้มีการวางแผนให้ตัดตรงจากถนนเจริญกรุงเดิมไปยังพระบรมมหาราชวัง แต่สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทักท้วงว่าหากตัดเป็นเส้นตรง อาจจะเกิดอันตรายในยามสงคราม เพราะข้าศึกสามารถนำปืนใหญ่มาตั้งบนถนนแล้วยิงตรงเข้าไปในพระบรมมหาราชวังได้โดยง่าย รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไข โดยเบี่ยงลงมาทางทิศใต้ ทำให้ถนนเจริญกรุงตอนในมีการหักมุมดังปัจจุบัน
1 บันทึก
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย