12 ธ.ค. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
ฝันร้าย สัญญาณบอกปัญหาสุขภาพจิต! 😰
ฝันร้าย
เรื่องของฝันร้าย (Nightmare)
ฝันร้าย เป็นภาวะที่ทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ในเชิงลบมักเกิดขึ้นในภาวะการนอนหลับในระยะ *REM (Rapid Eye Movement) ช่วงหลับฝันจะเริ่มขึ้นเมื่อเกิดการส่งสัญญาณจากส่วนก้านสมองไปยังสมองส่วนธาลามัส เพื่อถ่ายทอดสัญญาณดังกล่าวไปยังชั้นสมองส่วนนอกที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ กระบวนการคิด และการจัดการข้อมูล
ขณะที่เซลล์สมองส่งสัญญาณนั้น ร่างกายจะหยุดการทำงานของเซลล์ประสาทตรงไขสันหลัง ส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนขาขยับไม่ได้ชั่วขณะ หากบางสิ่งเข้ามากระทบกระบวนการนี้ ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ออกมานอกฝัน
สมาคมจิตแพทย์อเมริกาได้ให้คำจำกัดความและกำหนดการวินิจฉัย พบอุบัติการณ์ฝันร้ายผิดปกติ (Nightmare Disorder) ว่า...
ฝันร้ายมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก 10 ขวบขึ้นไป แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ หรือทางสังคมมากนัก
หากฝันร้ายเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับวัยผู้ใหญ่จะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
#สาระจี๊ดจี๊ด
ความเครียดหรือความวิตกกังวลนับเป็นปัจจัยที่ทำให้ฝันร้ายได้สูง คิดเป็นร้อยละ 60
ฝันร้าย อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ ดังนี้
1. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)
ผู้ที่ป่วยเป็นโรควิตกกังวลมักจะเกิดอาการฝันซ้ำ ๆ ความฝันมีลักษณะยาว และละเอียด เนื้อเรื่องอาจจะเป็นเหตุการณ์เดิม ๆ หรืออาจเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์ในปัจจุบันก็ได้
2. โรคซึมเศร้า (Depression Disorder)
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะฝันถึงสถานที่มืด ๆ น่ากลัว หรือฝันถึงคนตาย อาจปะติดปะต่อเรื่องราวไม่ได้ และอาจฝันเห็นหลาย ๆ เรื่องในคืนเดียวกัน
3. ภาวะผิดปกติทางจิตใจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) (Post-Traumatic Stress Disorder)
มักจะฝันถึงเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่เคยประสบพบเจอมา มักจะเป็นภาพฉายซ้ำ ๆ และมีจุดจบแบบเดิม บางครั้งอาจเห็นภาพแค่บางส่วน
4. โรคไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder)
มักจะเป็นความฝันที่สดใส ละเอียด น่าจดจำ สามารถปะติดปะต่อกันเป็นเรื่องยาว อาจเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ หรือละครที่ดู
#สาระจี๊ดจี๊ด
ฝันร้าย บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ และหากปล่อยเอาไว้อาจจะรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากพบว่าตนเองมีปัญหาการนอนหลับควรปรับพฤติกรรม และเข้าพบแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
*REM Sleep เป็นช่วงวงจรที่กล้ามเนื้อต่าง ๆ หยุดทำงานหมดยกเว้น หัวใจ กระบังลม กล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อเรียบ แต่สมองยังคงทำงานอยู่ราวกับตื่น จึงเป็นช่วงที่ฝันเป็นเรื่องเป็นราว หรืออาจเรียกได้ว่านอนหลับไม่สนิท มีการกลอกตาไปมา ดิ้นไปดิ้นมา หัวใจเต้นเร็วขึ้น บางรายอาจฝันจนบ่นพึมพำ โดยการนอนแบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงหลังของการนอนตั้งแต่ 1.30 ชั่วโมงเป็นต้นไป เป็นเหตุให้ฝันบ่อย ๆ ในช่วงเช้ามืด
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) คืออะไร?
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา