Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง
•
ติดตาม
12 ธ.ค. 2020 เวลา 14:47 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กับดักจากการ Follow ผู้ประสบความสำเร็จ
กองทัพสหรัฐเกือบจะทำสิ่งผิดพลาดใหญ่หลวง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2
จากความต้องการแก้ปัญหาการสูญเสียเครื่องบินที่ถูกยิงโดยฝ่ายตรงข้าม
ไอเดียคือการเสริมเกราะเพื่อลดความเสียหายจากการถูกยิง
แต่ว่าความผิดพลาดนั้นคืออะไร?
ข้อจำกัดของการเสริมเกราะคือทำให้น้ำหนักเครื่องบินเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันแล้วยังเป็นอุปสรรคในการขับบิน เรื่องนี้กองทัพรู้ดี
สิ่งที่กองทัพไม่รู้คือว่า "จะเสริมเกราะบริเวณไหนดี?"
เพื่อหาจุดเสริมเกราะอย่างถูกต้อง กองทัพจึงนำเครื่องบินทั้งหมดที่กลับมา
จากการรบมาทำการบันทึกจำนวนและตำแหน่งรอยกระสุนที่มักจะถูกยิงจากข้าศึก
เมื่อได้ภาพ plot ออกมาตามรูปแล้ว จุดสีแดงคือจุดที่โดนมักถูกกระสุนยิงใส่
พอจะเดาได้มั๊ยครับว่ากองทัพสหรัฐจะทำการเสริมเกราะบริเวณไหน?
1
ใช่ครับ ในครั้งนั้นทางกองทัพสรุปว่า จะทำการเสริมเกราะที่บริเวณ ปีก หาง ลำตัว
เพราะจากภาพที่ plot ออกมาระบุว่าจุดเหล่านั้นเป็นจุดที่ถูกยิงมากที่สุดซึ่งเกือบจะ
เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งประวัติศาสตร์เลยทีเดียว
กองทัพสหรัฐต้องขอบคุณนักคณิตศาสตร์ที่ชื่อ Abraham Wlad
ด้วยการคำนวนทางสถิติที่ละเอียดรอบด้านของเขา มันทำให้เขาพบว่าการเก็บข้อมูลของเครื่องบินนั้นไม่ครบถ้วน
1
เพราะกองทัพเก็บข้อมูลเฉพาะเครื่องบินที่ถูกยิงและสามารถบินกลับมาได้ และ
"ละทิ้ง" เครื่องบินที่ถูกยิงแต่กลับมาไม่ได้
1
ฉะนั้น Abraham Wlad จึงเสนอผลการคำนวนของเขาและแนะนำว่า
"ควรจะเสริมเกราะบริเวณที่ไม่พบรอยกระสุน"
เพราะนั่นเป็นจุดบอด เป็นจุดที่ทำให้นักบินต้องจบชีวิต
และเครื่องบินไม่สามารถกลับมาได้
2
แน่นอนกองทัพสหรัฐเห็นด้วยกับข้อเสนอของ Wlad และทำให้พวกเขาทำการตัดสินใจที่ถูกต้องได้ในที่สุด
สิ่งที่ Abraham ได้พบนั้นถูกเรียกเป็นทฤษฏีว่า "Survivorship Bias" ซึ่งเกิดจากการติดกับดักทางความคิด โดยการวิเคราะห์สิ่งต่างๆจากความสำเร็จเพียงด้านเดียว
1
การวิเคราะห์เครื่องบินที่สามารถกลับมาจากสงครามได้ และ "ละทิ้ง" เครื่องบินที่กลับมาไม่ได้เป็นตัวอย่างหนึ่ง
ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ถ้าจะบอกว่าเราทุกคนล้วนต้องเคยติดกับดักแบบนี้
ผมเคยมีเพื่อนหลายคนที่ไม่เรียนต่อเพราะมีความคิดว่า
"ยิ่งเรียนสูง ยิ่งเป็นลูกจ้าง
เจ้าสัว หรือ Steve Job ก็ drop จากการเรียนยังประสบความสำเร็จ"
1
เจ้าสัว หรือ Steve Job ก็อาจเป็นเหมือนเครื่องบินที่สามารถบินกลับมาได้
แล้วเครื่องบินอีกมากมายที่ไม่ได้กลับมาล่ะ เราอาจ "ละทิ้ง" ไปก็ได้
2
"มายาคติจากความสำเร็จ คือ ตรรกะที่ผิดพลาดจากการมองเฉพาะผู้ที่ประสบความ
สำเร็จ"
2
เรื่องนี้ให้บทเรียนแง่คิดกับผมอย่างมาก
ผมก็เป็นคนนึงที่ชื่นชมคนประสบความสำเร็จ
และชอบไปดูว่าเขาทำอะไรกันนะจึงประสบความสำเร็จ
บางทีเราอาจจะต้องพลิกมุมมอง
เหรียญมีสองด้าน
การเรียนรู้จากความล้มเหลวก็เป็นวิธีหนึ่งที่ไม่ควร "ละทิ้ง"
ความล้มเหลวก็มีข้อดี
ด้านหนึ่งมันเป็น "ประสบการณ์"
ด้านหนึ่งมันคือ "ความรู้"
ผมจะเก็บเรื่องนี้เอาไว้เตือนตัวเอง
เวลาคิด..อย่างน้อยดูว่า
เรา "ละทิ้ง" มุมมองไหนไปบ้างหรือเปล่า
เราชอบ Follow คนที่ประสบความสำเร็จ
จากนี้ผมจะลอง Follow คนที่ยังไม่สำเร็จด้วย
เหมือนที่ Wald คิดถึงเครื่องบินที่ไม่ได้กลับมา
1
ขอบคุณที่อ่านครับ
อ้างอิง
https://www.researchgate.net/publication/254286514_Abraham_Wald%27s_Work_on_Aircraft_Survivability
41 บันทึก
72
3
47
41
72
3
47
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย