12 ธ.ค. 2020 เวลา 14:50 • ประวัติศาสตร์
"วันนี้ในอดีต" วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - กันยา เทียนสว่าง ชนะประกวดนางสาวสยามคนแรกของไทย
#กันยา_เทียนสว่าง #ประกวดนางสาวสยาม #วันนี้ในอดีต
วันนี้ในอดีต ที่ประเทศสยามในชื่อเดิม ได้มีการจัดการประกวดนางสาวสยามขึ้นมาเป็นครั้งแรก ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นนางสาวไทยในภายหลัง และผู้ที่ด้รับตแหน่งในวันนั้นคือ "กันยา เทียนสว่าง" สาวงามวัย 21 ปี ซึ่งมีอาชีพเป็นครูโรงเรียนประชาบาลทารกานุเคราะห์
กันยา เทียนสว่าง มีชื่อสกุลเดิมว่า เจียเป็งเซ็ง มีชื่อเล่นว่า “ลูซิล” เป็นธิดาของ สละ เทียนสว่าง และ สนอม เทียนสว่าง ซึ่งแม่มีเชื้อสายมอญ โดยบิดาของกันยาทำงานเป็นนายท่าเรืออยู่ที่ท่าเขียวไข่กา บางกระบือ พระนคร
ทั้งนี้ ที่มาของการจัดประกวดครั้งนั้น ในปี พ.ศ. 2477 มีว่า กระทรวงมหาดไทย ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประกวด “นางสาวสยาม“ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ บริเวณ อุทยานสราญรมย์ เพื่อเฟ้นหาหญิงสาวที่สวยที่สุดในประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองรัฐธรรมนูญ (ฉบับ พ.ศ. 2475)
และเพราะเป็นการประกวดครั้งแรก ปรากฏว่ามีสาวงามมาขึ้นเวทีประชันโฉมในพระนครกันมากมายเกือบทุกจังหวัด ซึ่งในสมัยนั้น ยังไม่มีชุดว่ายน้ำ การประกวดเน้นความงามแบบเรียบร้อย ดังนั้น ผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า
ภาพนางงามในอดีต (เครดิต http://www.t-pageant.com/)
ต่อมาในช่วงหลัง ถึงได้มีการปรับไปตามความเหมาะสม และปรับให้ทันสมัยน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่นปี พ.ศ. 2482 มีการปลี่ยนเป็นชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า หรือมีการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมา
และปีแรกนั้นเอง ได้มีสุภาพสตรีมาประกวดถึง 50 คน สมัยก่อน การประกวดกินเวลาหลายวันเหมือนกัน โดยมีการเดินอวดความงามตั้งแต่คืนวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2477 จนกระทั่งมาถึงวันติดสินในคืนวันที่ 12 ธันวาคม นางสาวกันยา เทียนสว่าง วัย 21 ปี ครูโรงเรียนประชาบาลทารกานุเคราะห์ในชุดราตรียาวสีตะกั่วตัด สามารถชนะใจกรรมการ ได้ครองตำแหน่ง “นางสาวสยาม” เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์
อย่างที่รู้กันว่า การจัดประกวดนางสาวสยามครั้งแรกนี้ เปรียบเทียบเหมือนเป็นงานอีเว้นท์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในงานฉลองรัฐธรรมนูญที่ทางรัฐบาลจัดขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2477 นับเป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญปีที่สอง แต่พอเพิ่มการประกวดความงามขึ้นมาในปีนี้ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด ด้วยเป็นเรื่องใหม่ของประเทศที่ไ่ม่เคยมีมาก่อน
ช่วงนั้นข่าวคราวทางหน้าหนังสือพิมพ์ลงข่าวคราวการประกวดในครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง เกาะติด โดยคณะกรรมการจัดงาน ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น และในส่วนของคณะกรรมการตัดสิน ก็เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ ได้แก่ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยารามราฆพ เป็นต้น
นางสาวสยามตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๗๗ - ๒๔๘๑
ทั้งนี้ ที่จริง กันยา เทียนสว่าง ได้ตำแหน่งนางสาวพระนคร มาก่อนในคืนวันที่ 9 ธันวาคม จากนั้น จึงเป็นตัวแทนจังหวัดพระนครเข้าประกวดนางสาวสยามในคืนวันที่ 10 ธันวาคม และตัดสินในคืนวันที่ 12 ธันวาคม
รางวัลที่ได้มีมงกุฎ ทำด้วยผ้ากำมะหยี่ปักดิ้นเงิน ประดับโครงเงินและเพชร (ภายหลังสูญหายไป เนื่องจากถูกขโมย ตั้งแต่สมัยก่อนที่เธอจะแต่งงาน) ขันเงินสลักชื่อ “นางสาวสยาม ๗๗” ล็อกเก็ตห้อยคอทองคำ (ในภาพ) เข็มกลัดทองคำลงยา อักษรว่า “รัฐธรรมนูญ ๗๗” และเงินสด 1,000 บาท แต่เงินนั้น ทางรัฐบาลขอรับบริจาคเพื่อบำรุงการทหาร
โฆษณา