14 ธ.ค. 2020 เวลา 16:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อยากส่งดาวเทียมขึ้นฟ้าแต่งบน้อย?? โดรนยักษ์ลำนี้คือคำตอบ!!
The Ravn X โดรนที่สร้างขึ้นมาเพื่อส่งจรวดปล่อยดาวเทียม
ในอนาคตการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรอาจไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝันของใครหลายคน เพราะวันนี้ Aevum บริษัท Startup ที่ให้บริการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรด้วยการใช้โดรนบรรทุกจรวดขึ้นไปปล่อยกลางอากาศ ได้เปิดตัว The Ravn X อากาศยานไร้คนขับหรือโดรนที่มีน้ำหนักมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
โดยเจ้า Ravn X นี้มีขนาดลำตัวยาว 24.3 เมตร ช่วงปีกกว้างกว่า 18 เมตร สูง 5.4 เมตร หนักเกือบ 25 ตัน(เมื่อรวมน้ำหนักจรวดที่บรรทุกขึ้นไปด้วย) แม้เทียบไม่ได้กับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่อย่าง โบอิ้ง 747 หรือ Airbus 380 แต่ก็ถือว่าเป็นโดรนที่มีน้ำหนักตัวรวมน้ำหนักบรรทุกมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
1
จรวดที่ใช้ในการส่งดาวเทียมจะถูกติดตั้งภายใต้ลำตัวของ Ravn X ก่อนจะบินขึ้นไปปล่อยตัวกลางอากาศ
โดยเจ้า Ravn X ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่ในการบรรทุกจรวดที่ใช้ในการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก(น้ำหนักไม่เกิน 100 กิโลกรัม) ขึ้นสู่วงโคจร
ซึ่งจรวดนี้จะถูกปล่อยตัวกลางอากาศก่อนที่จะจุดระเบิดเครื่องยนต์พุ่งออกสู่อวกาศต่อไป โดยจรวดท่อนสอง (Second stage) นั้นถูกออกแบบให้สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้เช่นเดียวกับจรวดท่อนบูสเตอร์สำหรับจรวดตระกูล Falcon ของ SpaceX
สำหรับตัว Ravn X นั้นสามารถทำการบินด้วยความเร็วสูงสุด 925 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและทำเพดานบินสูงสุดได้ 18 กิโลเมตรจากพื้น สามารถทำการบินได้เองโดยอัตโนมัติในการบินขึ้นปล่อยจรวดได้ทุก 3 ชั่วโมง
ตัวโดรนและจรวดเองสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 70% และทาง Aevum ยังมีแผนในการนำชิ้นส่วนกลับมาใช้ใหม่ให้ได้ถึง 95% ในอนาคตเพื่อประหยัดต้นทุนในการปล่อยดาวเทียมมากยิ่งขึ้น
1
จรวดส่งดาวเทียมนั้นจะมีสองท่อนโดยท่อนที่ 3 จะบรรทุกดาวเทียมขึ้นไปสู่วงโคจร ส่วนท่อนที่ 2 จะถูกเก็บเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
โดย Aevum จะรับหน้าที่ในการปล่อยดาวเทียมให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ด้วยสัญญาว่าจ้างมูลค่า 4.9 ล้านเหรียญฯ สำหรับภารกิจในปี 2021
ซึ่งภารกิจแรกของ Ravn X นั้นคาดว่าจะเป็นการปล่อยดาวเทียมทางทหารขนาดเล็ก ASLON-45 ซึ่งจะใช้ในการทดสอบระบบตรวจจับขีปนาวุธรูปแบบใหม่ของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ (US Space Force)
และ Aevum ก็ยังมีแผนให้บริการส่งดาวเทียมให้กับเอกชนทั่วไปด้วย ซึ่งก็น่าจะได้รับความสนใจไม่น้อยเพราะต้นทุนการปล่อยดาวเทียมน่าจะถูกกว่าของ SpaceX เสียด้วยซ้ำ และการปล่อยดาวเทียมก็มีความยืดหยุ่นมากกว่าเพราะ Ravn X นั้นสามารถขึ้นบินได้จากรันเวย์สนามบินทั่วไปได้
3
จรวด Launchone ขณะทำการปล่อยตัว
ทั้งนี้ไอเดียการปล่อยจรวดสำหรับภารกิจส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรโดยใช้เครื่องบินบรรทุกจรวดขึ้นไปปล่อยกลางอากาศนั้นไม่ได้มีแค่ Aevum
1
อย่าง Virgin Orbit บริษัทลูกของ Virgin Galactic ก็มีแนวคิดแบบเดียวกันโดยอยู่ในระหว่างการพัฒนาจรวด Launchone ซึ่งบรรทุกขึ้นไปกับเครื่องบินโบอิ้ง 747 ก่อนทำการปล่อยตัวกลางอากาศ
1
ในอนาคตอันใกล้ทางเลือกในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศจะเริ่มมีมากขึ้น ธุรกิจอวกาศจะเริ่มเติบโตการแข่งขันจะเริ่มรุนแรง และเราเองก็อาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ก็เป็นได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา