ตัวอย่างที่ 1 นาย A มีรายได้สุทธิที่ต่อปีอยู่ที่ 350,000 บาท
แปลว่าขั้นภาษีสูงสุดของนาย A จะอยูที่ขั้นที่ 3 เมื่อนำมาคำนวณตามตารางจะเห็นว่า รายได้สุทธิบาทแรกถึง 150,000 บาทนั้นรัฐบาลยกเว้นภาษีให้ ในขณะที่เงินได้สุทธิที่เกิน 150,000 บาท ถึง 300,000 บาทจะโดยเรียกเก็บภาษี 5% และส่วนที่เกิน 300,000 บาทมาอีก 50,000 บาทนั้น นาย A จะต้องเสียภาษี 10% ดังนั้น นาย A จะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 12,500 บาท
มาลองดูต่ออีกสักตัวอย่าง สำหรับนาย B ที่มีระดับรายได้สูงขึ้น โดยสมมติให้นาย B มีรายได้สุทธิต่อปีอยู่ที่ 3,500,000 บาท
จะเห็นได้ว่าขั้นการคิดภาษีสูงสุดของนาย B นั้นจะกระโดดไปอยู่ที่ขั้นที่ 7 และจากตารางการคำนวณจะเห็นได้ว่ารายจ่ายภาษีของนาย B นั้นสูงถึง 815,000 บาทเลยทีเดียว
เมื่อเปรียบเทียบ นาย A กับ นาย B แล้วจะเห็นได้ว่า นาย B มีรายได้สุทธิต่อปีสูงกว่านาย A 10 เท่า แต่รายจ่ายภาษีของนาย B กลับสูงกว่า นาย A กว่า 65 เท่า!!!! ดังนั้นยิ่งรายได้สูงขึ้นการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภาษีจึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเป็นทวีคูณ