14 ธ.ค. 2020 เวลา 23:23 • ประวัติศาสตร์
"วันนี้ในอดีต" วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) - วันเกิด นอสตราดามัส นักพยากรณ์ที่สุดในประวัติศาสตร์
#นอสตราดามุส #วันนี้ในอดีต
นอสตราดามัส (หรือที่คนไทยเรียก นอสตราดามุส ) หรือ มิเชล เดอ นอสตราดาม (Michel De Nostradame) เป็นแพทย์ และนักพยากรณ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส เชื้อสายยิว เกิดวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1503 ที่เมืองแซงต์ เรมี ในครอบครัวนายทะเบียนผู้รุ่งเรืองของเมือง นอสตราดามุสจบการศึกษาด้านการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยมองต์เปลลีเยต์ ปี 1525 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 1566
เมื่ออายุได้ 15 ปี นอสตราเดมัสได้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยอาวีญง (University of Avignon) และคงได้เล่าเรียนวิชาในกลุ่มไตรศิลปศาสตร์ตามแบบแผน คือ ไวยากรณ์วาทศาสตร์ และตรรกศาสตร์ มากกว่ากลุ่มจตุรศิลปศาสตร์ คือ เรขาคณิต คณิตศาสตร์ สังคีตศาสตร์ และดาราศาสตร์ แต่เรียนไปไม่ถึงปีก็จำต้องอพยพจากเมืองอาวีญง เพราะกาฬโรคระบาดจนต้องปิดมหาวิทยาลัย
เมื่อไปจากเมืองอาวีญงแล้ว นอสตราเดมัสเตร็ดเตร่อยู่ตามชนบทเพื่อวิจัยสมุนไพรและประกอบอาชีพเป็นเภสัชกรถึง 8 ปีตั้งแต่ปี 1521 ครั้นปี 1529 เขาเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมงเปลลีเยร์ (University of Montpellier) แต่เมื่อกีโยม รงเดอเล (Guillaume Rondelet) อธิการบดี ทราบว่า เขาเป็นเภสัชกร ซึ่งเป็น “การค้าทางหัตถกิจ” (manual trade) ที่ธรรมนูญมหาวิทยาลัยไม่อนุญาต อธิการบดีก็ไล่เขาออกทันที แม้เขาไม่จบแพทยศาสตร์ แต่สำนักพิมพ์และผู้สื่อข่าวในภายหลังก็พอใจจะเรียกขานเขาว่า “นายแพทย์”
เมื่อถูกไล่ออกแล้ว สันนิษฐานว่า นอสตราเดมัสยังคงเลี้ยงชีพด้วยการเป็นเภสัชกรต่อไป เพราะต่อมาเขาเกิดมีชื่อเสียงจากการผลิตยาที่เรียก “ลูกกลอนกุหลาบ” (rose pill) ซึ่งคาดว่า มีสรรพคุณป้องกันกาฬโรค
นอสตราเดมัสกลับไปเยือนอิตาลีอีกครั้ง ครั้งนี้ เขาเบนเข็มจากสมุนไพรเป็นเรื่องคุณไสย พอได้รับทราบกระแสนิยมหลายกระแสแล้ว เขาก็เขียนกาลานุกรม (almanac) สำหรับปี 1550 ขึ้นเผยแพร่ โดยใช้ชื่อสกุลตนเองเป็นภาษาละตินว่า “Nostradamus” เป็นครั้งแรก กาลานุกรมของเขามียอดขายดีมาก ทำให้เขาเขียนกาลานุกรมอีกหลายฉบับอย่างน้อยปีละเล่ม ส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ของแต่ละปี แต่บางปีก็เริ่มแต่วันที่ 1 มีนาคม เมื่อรวมกาลานุกรมทั้งหมดแล้ว เป็นคำพยากรณ์จำนวน 6,338 บท และปฏิทินอย่างน้อย 11 ปี
ความที่กาลานุกรมประสบความสำเร็จอย่างมากนี้เอง นอสตราเดมัสจึงเริ่มมีชื่อเสียง และบุคคลสำคัญมากหน้าหลายตาก็เริ่มแห่กันมาร้องขอให้เขาทำนายโชคชะตาราศีให้ รวมถึงขอให้เขาใช้ “ญาณทิพย์” มอบคำปรึกษาให้ นอสตราเดมัสมักให้ “ลูกค้า” ส่งมอบวันเดือนปีเกิดที่เขียนลงบนตารางให้สำหรับใช้ทายทัก มากกว่าจะคำนวณตัวเลขเหล่านั้นด้วยตนเหมือนดังที่นักดาราศาสตร์มืออาชีพพึงทำ
หนังสือ คำทำนาย ของ มอสตาดามุส เล่มสุดท้าย
และเมื่อจำเป็นต้องคำนวณดังกล่าวตามตารางวันเดือนปีที่เผยแพร่กันอยู่แล้ว ก็ปรากฏว่า เขามักคำนวณพลาด ทั้งยังไม่สามารถกำหนดเลขชะตาให้ตรงกับวันเดือนปีหรือสถานที่เกิดของลูกค้าได้ ฉะนั้น เมื่อนอสตราเดมัสเขียนโคลง 4 พยากรณ์จำนวน 1,000 บท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาฝรั่งเศส จึงไม่ลงวันเวลากำกับไว้อีก โคลงเหล่านี้ทำให้เขามีชื่อเสียงมากมาจนบัดนี้
นอสตราเดมัสได้รับความทรมานจากโรคเกาต์มาหลายปี ในบั้นปลายชีวิตเริ่มเคลื่อนไหวลำบาก จนโรคนั้นลุกลามกลายเป็นอาการบวมน้ำหรือท้องมานไป ปลายเดือนมิถุนายน 1566 เขาจึงเรียกทนายความประจำตัวมาเขียนพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งมีมูลค่ากว่า 3,444 คราวน์ (ราว 300,000 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) พร้อมหนี้สินพ่วงมาด้วยเล็กน้อย ให้แก่ภริยาเขาระหว่างที่ยังมิได้สมรสใหม่ เพื่อใช้เป็นทุนรอนเลี้ยงบุตรหญิงบุตรชายต่อไป ครั้นบ่ายวันที่ 1 กรกฎาคม 1566 ร่ำลือกันว่า เขาบอกฌ็อง เดอ ชาวีญี (Jean de Chavigny) เลขานุการส่วนตัวของเขา ว่า "พออาทิตย์ขึ้นแล้ว เจ้าจะไม่เห็นข้ามีชีวิตอีก" วันรุ่งขึ้น มีรายงานว่า เขาถูกพบเป็นศพนอนอยู่บนพื้นถัดจากเตียงและตั่งของเขา
โบสถ์ Collegiale St. Laurent โบสถ์ที่สร้างในศตวรรษที่ 18 ที่นี่เป็นที่เก็บศพของนอสตราดามุส
ศพของเขาฝังไว้ที่โบสถ์คณะฟรันซิสกันในเมืองซาลง (Salon) ซึ่งบัดนี้บางส่วนกลายเป็นภัตตาคารชื่อ ลาโบรเชอรี (La Brocherie) แล้ว แต่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส มีการขุดศพเขาขึ้นไปฝังที่ป่าช้าโบสถ์แซ็ง-ลอแร็ง (Saint-Laurent) แทน ศพของเขาอยู่ที่นั้นมาตราบทุกวันนี้
โฆษณา