15 ธ.ค. 2020 เวลา 01:30 • ประวัติศาสตร์
ทำไมชาติตะวันตกถึงเจริญกว่าเอเชีย
อะไรคือสิ่งที่ชาติพัฒนาแล้วมี แต่ไม่มีในไทย
1
**นี่เป็นเพียงประเด็นบางส่วนเท่านั้นที่หยิบยกมา ยังไม่ได้ยกเรื่องการเมือง การปกครอง การสงครามแย่งชิงอำนาจ รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจ-การค้ามา เพราะหากยัดทุกหัวข้อลงไปเกรงว่ามันจะยาวมาก สามารถเขียนหนังสือเป็นเล่มตีพิมพ์ได้เลยทีเดียว เลยหยิบเอาเท่านี้ในบางประเด็นมาก่อน ยาวมากไปคนก็อ่านไม่หมด คนเขียนก็เขียนไม่ไหวเหมือนกัน**
คุณเคยเจอคำถามแบบว่า “ดูสิทำไมเขาเจริญกว่าไทย? มีสิ่งนั้นสิ่งนี้มาก่อนไทยเป็นร้อยปีแล้ว? ทำไมไทยล้าหลังจัง? ทำไมไม่พัฒนาเหมือนเขา?
คำถามเชิงตัดพ้อที่ดูเหมือนจะยกประเทศนั้นประเทศนี้ขึ้นมาข่มให้ไทยดูต่ำต้อยด้อยค่า แต่เคยมีสักคนหรือไม่ที่พยายามหาคำตอบแบบจริงจังว่า ทำไมประเทศที่อยู่ในแถบยุโรป อเมริกา หรือแม้แต่ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ถึงได้เจริญกว่าประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตร
ถ้าอยากรู้คำตอบในเชิงลึกก็คงต้องไปศึกษาไปถึงประวัติศาสตร์การก่อตั้งอารยธรรมของโลก นับตั้งแต่ที่มนุษย์รวมกลุ่มกันสร้างอาณาจักรขึ้นมา ประวัติศาสตร์โลกของยุโรปที่เห็นได้ชัดที่สุดว่ามันคือยุคของความเจริญทางวิทยาการและอารยธรรม ก็คงต้องนับตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล ทุกคนคงรู้ว่าอาณาจักรกรีกเป็นจุดกำเนิดของนักคิด นักปราชญ์ และนักวิชาการมากมาย ที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์
1
ทฤษฎีพิทาโกรัส การคำนวณทางเรขาคณิต ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ในยุคนั้น รวมทั้งสูตรคำนวณการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น วิหารบูชาเทพเจ้า ที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมขั้นสูงก็ถือกำเนิดขึ้นในอาณาจักรกรีก อาจจะรวมอียิปต์ด้วยเพราะยุคใกล้เคียงกันและมีสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรมเหมือนกัน
ดังนั้นความรู้ทางคณิตศาสตร์มันถูกสร้างโดยชาวกรีก และใช้มันโดยชาวกรีก ก่อนที่จะแผ่ขยายไปทั่วโลก
เมื่ออาณาจักรกรีกโบราณล่มสลาย ก็ส่งต่อถึงยุคโรมันที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อราว 753 ปีก่อนศริสตกาล นับเป็นยุคที่ต่อยอดองค์ความรู้จากกรีกอีกทอด โรมันโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี ภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมันก็ยังคงเป็นประวัติที่มีอิทธิพลต่อทั้งโลกมาจนทุกวันนี้
ส่วนไทยในยุคเดียวกับกรีก - โรมัน เมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 467 ที่นับเป็นช่วงระยะเวลายาวนานเกือบ 3,000 ปี ดินแดนในแถบคาบสมุทรอินโดจีนเวลานั้นยังเป็นดินแดนที่ไร้อารยะธรรมและเป็นถิ่นที่ตั้งของชนเผ่าอยู่เลย
ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรที่สร้างอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในดินแดนแถบนี้ก็คงเป็นช่วง ค.ศ. 600 ที่เป็นยุคของอาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรหริภุญชัย ซึ่งก็ยังเป็นเพียงอาณาจักรของกลุ่มชาติพันธ์มอญและขอม ยังไม่เชื่อมโยงกับอาณาจักรของไทยเลย เช่นเดียวกับหลายประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ที่ยังไม่มีวิวัฒนาการอะไรที่บ่งบอกถึงการเป็นอารยธรรมสากล
1
สำหรับไทยเพิ่งจะมานับว่าเป็นอาณาจักรที่เกี่ยวข้องกับจุดเริ่มต้นความเป็นชาติเดียวจริงๆ จังๆ ก็เมื่อปี พ.ศ. 1792 ที่สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือผ่านมาเพียง 771 ปีนี้เอง เมื่อเทียบกับปีสุดท้ายที่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย อาณาจักรสุโขทัยก็ก่อตั้งหลังจากนั้นอีก 771 ปี โดยที่ทั้งกรีก - โรมัน ต่างผ่านช่วงเวลารุ่งเรือง มีการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์มานานแล้ว
ผ่านกาลเวลาเนิ่นนานกว่าที่จะเป็นประเทศสยาม และเป็นไทยแบบที่เราคุ้นเคยกัน ก็เมื่อช่วงเวลาเพียงแค่ร้อยกว่าปีเท่านั้น เพราะสมัยก่อนยังเป็นเพียงอาณาจักรที่ยังมีแว่นแค้วนต่างๆ ปกครองกันเอง หรือเป็นอาณาจักรในอาณัติของสยาม ไม่ก็เป็นเมืองประเทศราชที่ต้องคอยส่งเครื่องบรรณาการมาสวามิภักดิ์
กว่าจะรวมเป็นแผ่นดินเดียวกันและใช้ชื่อว่า "ประเทศสยาม" ก็ล่วงเลยมาจนถึงช่วงรัชกาลที่ 5 และเป็นช่วงเดียวกับที่มีการเปิดประเทศเพื่อรับวิทยาการจากชาติตะวันตกที่ยุคนั้นประเทศในยุโรปได้ก้าวเข้าสู่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมไปแล้ว โดยมีอังกฤษเป็นมหาอำนาจโลกที่ครอบครองพื้นที่โพ้นทะเลมากมาย แข่งกับฝรั่งเศส สเปน ฮอลันดา และโปรตุเกส
ในยุคที่ยุโรปเป็นมหาอำนาจโลกไปนานแล้ว ยุโรปมีทั้งไฟฟ้า มีระบบประปา มีระบบการค้าขายที่ซับซอน มีมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งมานานนับร้อยนับพันปี มีการเดินเรือเดินสมุทรออกค้าขายและล่าอาณานิคมไปทั่วโลก แต่ไทยยังรบกับเพื่อนบ้านข้างๆ ทั้งพม่าที ลาวที มาลายูที กว่าจะสงครามกับเพื่อนบ้านจะสงบ เพราะพม่าโดนอังกฤษเข้าปกครอง ก็ใช้เวลาเป็นร้อยปีนับตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา
1
พอเจอคำถามว่า แล้วทำไมญี่ปุ่นที่อยู่ในเอเชียเหมือนกันยังเจริญได้? สำหรับญี่ปุ่นจะขออธิบายสั้นๆ ว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นก็มีอารยธรรม มีระบอบการปกครองเป็นอาณาจักรมานานกว่า 3,000 ปี ซึ่งเก่าแก่กว่าอารยธรรมแถบอินโดจีนมากโข
3
ส่วนพื้นที่อื่นๆ เช่น ลุ่มน้ำสินธุก็มีอารยธรรมา 6,000 ปี อียิปต์ 5,000 ปี จีน 4,000 ปี
ขณะที่อังกฤษ ฝรั่งเศษ และเยอรมัน ก็มีประวัติศาสตร์นาวนานราว 1,000 - 1,500 ปี ซึ่งก่อนหน้านั้นก็เคยถูกเหยียดจากโรมันว่าเป็น "อานารยะชน" คือพวกไม่มีอารยะธรรมเหมือนกัน แต่พอโรมันล่มสลายก็ค่อยผงาดขึ้นมา และผลจากวิทยาการจากอดีตที่อาณาจักรยุโรปโบราณเหลือทิ้งไว้ ทำให้ประเทศในยุโรปต่อยอดองค์ความรู้เรื่อยมาจนกลายเป็นประเทศชั้นแนวหน้าของโลกนั่นเอง
อีกหนึ่งเรื่องที่มองว่ามีผลอย่างมากต่อการพัฒนามนุษย์ก็คือ ความเฉลียวฉลาดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ซึ่งมนุษย์บนโลกนี้ถูกจัดหลุ่มเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ คอเคซอยด์ หรือพวกยุโรปผิวขาว / มองโกลอยด์ หรือพวกผิวเหลือ และนิกรอยด์ หรือพวกผิวดำ
หากใครเคยศึกษาเรื่องเผ่าพันธุ์มนุษย์ หรืออ่านหนังสือสารคดีที่ชื่อว่า "Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies" ของ ศ.ดร.แจเร็ด ไดมอนด์ ศาสตราจารย์ทางด้านภูมิศาสตร์และสรีรวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ที่ได้รับรางวัลการันตีมากมายจะทราบว่า กลุ่มคอเคซอยด์ และมองโกลอยด์ จัดเป็นกลุ่มเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มาเชาวน์ปัญญาสูง มีมันสมองที่ดีกว่า ร่างกายที่กำยำกว่า สติปัญญาสูงกว่า ซึ่งมันเป็นผลมาจากจีโนมทั้งหมด
อีกทั้งพื้นที่ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่ที่ต้องพบกับความยากลำบากในการดำรงชีวิต ทั้งจากสภาพอากาศที่สุดขั้ว ภูมิประเทศที่มีเทือกเขาสูงขวางกั้น และการทำสงครามเพื่อแย่งชิงพื้นที่ทำกิน มากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรที่ค่อนข้างมีพืชพันธุ์และสัตว์เพื่อการบริโภคที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและสร้างอำนาจ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชนผิวขาวจะพัฒนาการกว่าพวกผิวเหลือง หรือผิวดำทางตอนใต้ เพราะพันธุกรรมมนุษย์และพฤติกรรมการดำรงชีวิตมันเป็นแบบนั้นมาตั้งแต่กำเนิดมนุษย์ขึ้นบนโลกแล้ว
อย่างที่กล่าวไปว่า ประเทศไทยก็พึ่งจะมาเป็นประเทศโดยสมบูรณ์ในสมัยรัชการลที่ 5 และเปิดรับวิทยาการความก้าวหน้าต่างๆ ของชาติตะวันตก ก่อนหน้านั้นไทยสะสมแต่อารยะธรรมที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร ภาษา ศิลปะ แต่เรื่องวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ กลับมีน้อยมาก หากเทียบกับกรีกโบราณที่เกิดก่อนกรุงสุโขทัยราว 2,000 ปี ก็มีสาวกพิธากอรัส ศึกษาเรื่องสามเหลี่ยมมุมฉากและคณิตศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อนคริสตกาล อินเดียที่คิดค้นเลขฐานสิบ พรหมคุปต์คิดค้นเลข 0 มาพันกว่าปี
อย่างเช่นอินเดียที่นับเป็นอู่อารยธรรมของโลก ที่มีความรู้ว่าโลกกลมและคำนวณระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โดยใช้ตรีโกณมิติมาได้เกือบ 2,000 ปีแล้ว ส่วนคนไทยเมื่อ 100 ปีที่แล้วมีกี่คนที่รู้จักตรีโกณมิติ หรือเมื่อ 50 ปีที่แล้วมีกี่คนรู้จักแคลคูลัส?
เมื่อมาพูดถึงยุคปัจจุบันมีคนไทยกี่มากน้อยที่ตั้งใจศึกษาคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ส่วนใหญ่ก็แค่เรียนแล้วไปประยุกต์ใช้ และถ้าเป็นไปได้ก็ไม่มีใครอยากเรียน เลือกได้ก็ชอบเลือกเรียนสายศิลป์มากกว่า และมองว่าวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มันยากและน่าเบื่อ ไม่ได้เอาไปใช้อะไรได้ นอกจากแค่เอาไปสอบ
บางครั้งยังเห็นเด็กสมัยนี้ลงโปรไฟล์บนโซเชียลแล้วชอบเขียนว่า พ่อแม่จ้างมาเรียนด้วยซ้ำ
พอให้ศึกษาประวัติศาสตร์ก็บอกว่าล้าหลังไม่ทันสมัย ทั้งๆ ที่นั่นสิ่งเหล่านี้คือขุมทรัพย์ความรู้ ที่สั่งสมมาให้แล้ว
หลายยุคหลายสมัยที่เราเห็นข่าวเด็กไทยได้รางวัลโอลิมปิกวิชาการกันทุกปี แต่ก็ยังไม่มีคนไทยคนไหนได้เข้าใกล้รางวัลโนเบลสาขาวิทยาศาสตร์เลยสักคน
และมาบ่นว่ามีคนเก่งแต่ไม่ได้รับการสนับสนุน เอาจริงๆ นะ นักคิด นักวิทยาศาสตร์สมัยก่อนแทบต้องเอาชีวิตเข้าเสี่ยงกับการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ หลายคนถูกแขวนคอ หลายคนมีความเห็นไม่ตรงกับหลักศาสนาหรือความเชื่อก็ถูกขับไล่ ไม่ก็ถูกฆ่าทิ้ง กว่าที่จะได้รับการยอมรับก็ใกล้จะสิ้นอายุไข หรือบางคนตายไปแล้วถึงจะได้รับการยอมรับในทฤษฎีต่างๆ ที่คิดค้นขึ้นมา
แต่ทุกวันนี้เรามีความรู้มากมายมหาศาลบนโลกอินเตอร์เน็ต เพียงแค่เปิดโทรศัพท์มือถือแล้วจิ้มหน้าจอไม่กี่ทีก็หาความรู้ได้มากมายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ก็มีสักกี่คนที่ขวนขวายจริงจัง บางครั้งต้องรอป้อนเท่านั้นถึงจะเคี้ยว บางทีต้องเคี้ยวให้อีกถึงจะยอมกลืน
หากย้อนกลับไปเมื่อสัก 20 ปีก่อนสมัยที่ผู้เขียนเรียนอยู่ชั้นมัธยม การจะหาความรู้ทั้งทีต้องหาอ่านจากงานวิจัยในวารสารจากห้องสมุด อ่านสารานุกรมหนาเป็นร้อยๆ หน้า
ส่วนหนังสือความรู้ภาษาอังกฤษก็ต้องอ่านไปเปิดดิกชันนารีแปลไปด้วยกว่าจะได้ความรู้ หรือดีหน่อยก็เป็นพวก CD-Rom ที่ต้องยืมมานั่งฟังแล้วจด กว่าจะหาความรู้แต่ละอย่างไม่ได้สบายแบบสมัยนี้
ส่วนอินเตอร์เน็ตยุคนั้นไม่ต้องพูดถึงเลยความเร็วแค่ 56k ยิ่งกว่าเต่าคลานต่อโมเดมก็หลุดแล้วหลุดอีก ใครห้ามโทรเข้าโทรศัพท์บ้านช่วงใช้อินเตอร์เน็ตเด็ดขาด แต่เพราะความพยายามขวนขวายหาความรู้ให้ได้มันทำให้เรามีขุมคลังปัญญามากกว่าคนที่ไม่ขวนขวาย
จริงๆ ยุคนี้จะด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ต + ความขยัน เด็กรุ่นปัจจุบันแทบไม่จำเป็นต้องไปโรงเรียนก็ยังได้ ถ้าหากใฝ่เรียนรู้เองมากเพียงพอ แต่ก็อย่างที่บอก แค่เขียนบทความยาวหน่อยก็อ่านกันไม่เกิน 10 บรรทัดแล้ว เลือกอ่านอะไรสั้นๆ ไม่เกิน 200 ตัวอักษรแล้วบอกว่ารู้แล้วเรื่องทั้งหมด เชื่อข้อความสั้นมากกว่าบทความที่มีดีเทลละเอียด ผลก็เลยเกิดกับการพัฒนาองค์ความรู้ของคนที่ไม่สามารถวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ข้อมูลได้ นำมาซึ่งปัญหาของการรู้ แต่รู้ไม่จริง หรือรู้แบบผิดๆ เพราะจำมาแค่นั้นนี่แหละ
เมื่อขาดแคลนบุคลากรในสายนี้ส่งผลให้ไทยยังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านการศึกษาและบุคลากร การขาดแคลนทุนมนุษย์เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของไทย ทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร รวมถึงแรงงานด้าน IT
จำนวนนักวิจัยของไทยมีเพียง 1,141 คนต่อประชากรล้านคน ขณะที่สิงคโปร์และเกาหลีใต้มีจำนวนนักวิจัยสูงถึง 6,915 และ 7,394 ต่อประชากรล้านคน ตามลำดับ สูงกว่าไทยถึงกว่า 6 เท่าตัว
นอกจากนี้ ระบบการศึกษาไทยยังผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีได้น้อย โดยตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา จำนวนผู้จบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศลดลงเฉลี่ย 1.4% ต่อปี ทำให้ในช่วงปี 2015-2019 ไทยมีสัดส่วนของผู้ที่จบการศึกษาในสาขาดังกล่าวต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
การขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมของไทยอยู่ในระดับต่ำ จากข้อมูล World Digital Competitiveness ปี 2020 ของ IMD พบว่าระดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทยยังรั้งอยู่ในอันดับที่ 39 จาก 63 ประเทศทั่วโลก และแทบไม่เปลี่ยนแปลงตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
สุดท้ายนี้มันก็คงจะพอได้คำตอบแล้วว่า ทำไมยุโรปหรือประเทศในแถบตอนเหนือของโลกถึงมีการพัฒนาที่ล้ำหน้ากว่าประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร แต่ในเมื่อเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เราเปลี่ยนแปลงอนาคตและสามารถกำหนดมันได้ว่า เราจะพัฒนาไปอย่างไร
การเตรียมการสำหรับสร้างพื้นฐานชุดความคิดของประชากรในประเทศพร้อมหรือยังกับคำว่า "พัฒนาแล้ว" หรืออยากจะพัฒนาแบบสบายๆ แต่คาดหวังผลลัพธ์ที่จะพัฒนากว่าเดิม ซึ่งบอกเลยว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้ามองให้ชัดคือลองดูว่าคนเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์ มีชุดความคิดอย่างไร Mind-set เป็นแบบไหน และต้องทำงานหนักมากขนาดไหน มีความรับผิดชอบต่อทั้งชีวิตตัวเองและสังคมมากขนาดไหน กว่าที่จะเร่งพัฒนาประเทศจนเทียบกับมหาอำนาจโลกเก่าได้
1
สุดท้ายคำถามคือ...คนไทยพร้อมหรือยังกับการลงมือทำความหนักหน่วงนั้น หรือแค่อยากสบายไปวันๆ แต่ปากก็ร้องหาการพัฒนา...ผู้เขียนก็รอดูว่ารุ่นต่อไปจะมีรางวัลโนเบลสักสาขาให้เห็นไหมก่อนที่จะจากโลกนี้ไป...
โฆษณา