15 ธ.ค. 2020 เวลา 11:38 • การศึกษา
เรียน “ ราชภัฏ “ แล้วโดนเหยียด !?
1
ผมเป็นอีกหนึ่งคนที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้อยากนำเรื่องราว บทความมาเผยแพร่ให้กับเพื่อนๆ ชาว Blockdit ได้อ่านกัน บทความนี่ผมได้นำมาจากพี่ชายในเฟสบุ๊คท่านหนึ่ง เขาได้โพสต์ลงในกลุ่ม TCAS64 เพื่อเป็นแนวทางให้น้องๆ ได้ศึกษาและเลือกมหาวิทยาลัยต่อในระดับอุดมศึกษา จะเป็นอย่างไรเรามาติดตามกันเลย
อยากให้น้องๆที่กำลังจะเลือกเรียนต่อในมหาลัยได้อ่าน ขอเกิ่นก่อนเลยว่าส่วนตัวไม่ได้จงเกลียดจงชังราชภัฏแต่อย่างใด แต่สิ่งที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เราควรให้เด็กได้รับรู้ข้อมูลในหลายๆด้าน โลกในอีกมุมนึงที่มันไม่ได้สวยหรูเหมือนที่พวกเขาคิด การเปรียบเทียบบางครั้งมันคือการทำให้เห็นมุมมองในโลกของความเป็นจริง
3
เครดิตภาพ Facebook : Kong Ktppvv
#ทำไมราชภัฏถึงถูกมองว่าด้อยคุณภาพ ?
• ระบบการรับนักศึกษาเข้าเรียนที่มีความหลวมตัวเป็นอย่างมาก ในมุมนึงมันเป็นสิ่งที่ดี ที่เปิดโอกาสให้เด็กที่เรียนไม่เก่งได้เข้าศึกษา แต่มันเป็นช่องโหว่สำคัญที่ทำให้มองเห็นคุณภาพการคัดนักศึกษาเข้ามาในมหาลัย (เกณฑ์การรับ นศ. เข้าเรียนง่าย)
• บุคลากรและหลักสูตรการสอนที่คุณภาพไม่มากพอเมื่อมาเทียบกับมาตรฐานที่ควรจะเป็น การที่เด็กก้าวเข้ามาในมหาลัยเขามีสิทธิที่จะเลือกสาขาที่เขาต้องการ ผลลัพธ์ของการเรียนมันควรที่จะเห็นผลได้มากกว่านี้ เนื้อหาในหลายหลักสูตรเหมือนการเรียนมัธยมปลายซ้ำ ตัวอย่างเช่น : บางคนได้เกียรตินิยม A แทบทุกตัว แต่ระดับความรู้ความสามารถไม่เป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็น มหาลัยปล่อยเกรด
• สวัสดิการนักศึกษาที่ไม่ได้คุณภาพในหลายๆเรื่อง ในส่วนนี้เป็นเรื่องของทางมหาลัยที่ไม่ปรับปรุงแก้ไข
2
• สภาพแวดล้อมและสังคมที่บุคลากรหรือนักศึกษาทำให้เกิดมุมมองในด้านลบ จนกลายมาเป็นภาพรวมของมหาลัย แน่นอนทุกมหาลัยมีทั้งคนที่ดีและไม่ดี แต่สำหรับราชภัฏหลายสิ่งที่แสดงออกมาสู่สังคมภายนอกนั้นมันทำให้มหาลัยถูกตีตรา
1
• การที่ทางมหาลัยย่ำอยู่กับที่ไม่พัฒนาตัวเองให้ก้าวเข้ามาอยู่ในมาตรฐานที่ควรจะเป็น ราชภัฏจึงถูกมองในมุมที่แย่มานาน ทำไมทางมหาลัยถึงไม่ปรับปรุงแก้ไขอะไรให้มันดีขึ้นสักที
1
รูปภาพจาก : pixabay
#ราชภัฏยืน1เรื่องการผลิตครู ?
• ต้องเท้าความก่อนว่าจริงอยู่ที่ราชภัฏเป็นวิทยาลัยครูมาก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัย
• แต่อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าหลักสูตรในการสอนของราชภัฏเมื่อเทียบกับ ศึกษาศาสตร์จากมหาลัยอื่นๆ หลักสูตรเนื้อหาการสอนมันต่างกันมากๆ (ยืนยันมาแล้วจากคนรู้จักที่เรียนอยู่จริง)
• มีหลายคนบอกว่าจบจากที่ไหนก็ต้องสอบบรรจุครูอยู่ดี ใช่ครับ จบจากที่ไหนก็ต้องสอบบรรจุเหมือนกันหมด แต่คุณภาพความรู้และปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อทัศนคติในการเป็นครู แต่ละที่นั้นต่างกัน ผลลัพธ์การผลิตครูแต่ละที่ย่อมแตกต่างกันไปแน่นอน
• จุฬา / มศว. / มศก. และอีกหลายๆมอยังมีให้เลือกครับ อย่ามองโลกแคบๆ คนเราควรเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดให้ตัวเอง อย่าฝันเล็กๆฝันใหญ่ๆไว้ก่อนต่อให้มันผิดหวัง ปีหน้าก็ยังไม่สายเกินไป ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรอกครับ การเรียนรู้ไม่มีคำว่าสาย
1
รูปภาพจาก : pixabay
#ทางบ้านไม่มีกำลังทรัพย์ในการส่งเสีย
• อยากให้ทุกคนลองศึกษาหาข้อมูลเยอะๆครับ มีหลายมหาลัยที่มีทุนให้เรียนฟรีบางทีมีงานให้ทำเสริมด้วย บอกตรงๆครับหลายที่หลายคณะ ค่าเทอมไม่ได้แพงไปกว่าราชภัฏมากมายเลยครับ
• การกู้ กยศ. ถือเป็นอีกตัวเลือกครับ ชีวิตมันคือการลงทุนแหละใครจะพูดว่าสร้างหนี้แต่เด็กอย่าไปใส่ใจเลยครับ ถ้าปลายทางเราไปเจอสิ่งที่ดี มันถือคุ้มค่าต่อการลงทุนแล้ว
รูปภาพจาก :pixabay
#จบไปก็มีงานทำเหมือนกันเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ?
• ใช่ครับ อยากให้คิดดีๆอีกนิด ในยุคที่การแข่งขันสูงขนาดนี้ เรียนจบที่ไหนก็มีงานทำได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จในสายงานนั้นๆนะครับ
• ความโชคดีที่จะเจอโอกาสดีๆจนได้การงานที่มั่นคงแต่ละคนไม่เท่ากันหรอก เพราะฉะนั้นทำตัวเองให้มีความรู้ความสามารถให้มากที่สุดมันไม่ดีกว่าหรือ ต่อให้เราไม่ได้โชคดีเหมือนคนอื่น แต่เราก็มีความสามารถที่จะไปต่อยอดได้ไกลกว่าคนที่วางพื้นฐานมาน้อยแน่ๆ
• อย่าพยายามกล่อมตัวเองด้วยคำขายฝันเลยครับ ชีวิตมันไม่ได้เรียบง่ายขนาดนั้น เด็กมัธยมหลายคนอาจไม่เข้าใจ ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ ก็อยากให้ปรับเปลี่ยนมุมมองนะครับ ทำไม่ได้ก็ค่อยๆทำ ชีวิตมีอะไรที่ดีกว่ารอเราอยู่เสมอ
เป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจริงเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ทุกที่ทุกสถาบันล้วนดีหมด ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะตั้งใจหรือพยายามขนาดไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็อยากให้ทุกคนคิดและตัดสินใจให้ดี ตั้งใจทำหน้าที่ของตนให้สำเร็จ ความพยายามไม่เคยทรยศใคร
2
บทความทั้งหมดจาก Facebook : Kong Ktppvv
บทความดีดีจาก #เด็กชายบอย อย่าลืมติดตามบทความต่อไปนะครับ
1
โฆษณา